หลักสูตรท้องถิ่น


หลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่น  เรื่องสานไผ่ใส่ทูนึ่ง

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

                    กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นจุดอ่อนของการใช้หลักสูตรเดียวทั้งประเทศซึ่งไม่สามารถตอบสนอง หรือสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นได้ทั้งหมดเพราะแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม จึงมีนโยบายเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นซึ่งหมายถึงโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สร้างขึ้นอย่างมีความหมายของผู้เรียนเพราะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ผู้เรียนได้รับประโยชน์ รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและผูกพันกับท้องถิ่นของตน  (เมตตา นบประดิษฐ์, 2542, หน้า 46 – 47)   

                    การจัดการศึกษาในปัจจุบันได้จัดตามแนวนโยบายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผสานความร่วมมือกับผู้ปกครองของนักเรียน ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด และฝึกปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ผสมผสานสาระความรู้ต่าง ๆ อย่างสมดุล สอดคล้องความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน (มาตรา 24)

                    กอปรกับจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการนำของท่านวิชม  ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2547 เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินโครงการชุมชนอินทรีย์ ตลอดจนแนวเชื่อมต่อการพัฒนาให้เกิดกระบวนการชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ตำบลแห่งความพอเพียง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ที่สอดคล้องบูรณาการกันทุกฝ่าย  เกิดเศรษฐกิจพอเพียงทุกที่  สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป

                    จากแนวนโยบายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แนวคิดตามหลักพัฒนาหลักสูตร และโครงการชุมชนอินทรีย์ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษามีบทบาทสำคัญที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่สามารถปรับหรือพัฒนาเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากชีวิตจริงของตนและเรื่องราวต่าง ๆ ในท้องท้องถิ่นและดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียง   จึงเห็นได้ว่าการจัดทำหลักสูตรที่คล้องกับท้องถิ่นโดยจัดนำเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นของตนสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในท้องถิ่นของตน และสนองต่อพระพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ด้วย

                     หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องสานไผ่ใส่ทูนึ่ง  โดยใช้แหล่งเรียนและภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นของชุมชนบ้านท่าเรือ การจักสานจากไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่ประดิษฐ์หรือจกสานจากต้นไผ่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการใช้เวลาว่างหลังจากการเกษตรให้เป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับโครงการชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย

 แนวทางการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นไผ่ 

ข้อมูลพื้นฐาน

    ผู้จัดทำหลักสูตรได้สำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่ที่ 11 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสำรวจ และการสัมภาษณ์ ได้ข้อสรุปดังนี้

 

1.       สภาพทั่วไปของตำบลท่าเรือ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพการทำนา เลี้ยงสัตว์

2.       อาณาเขตตำบลท่าเรือ 

ทิศเหนือ ติดกับ เทศบาลนครศรีธรรมราช และ ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ทิศใต้ ติดกับ ต. ดอนตรอ และ ต.ทางพูน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ท่าไร่, ต.บางจาก อ.เมือง และ ต.ชะเมา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

3.       ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ / ภูมิประเทศ

สภาพอากาศอยู่ในเขตร้อนชื้น  ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  ชนิดของดิน  เป็นดินเหนียวเหมาะแก่การทำนา และดินร่วนปนทราย  เหมาะแก่การปลูกผัก  มีลำคลองไหลผ่าน  คือ คลองท่าเรือ มีทรัพยากรท้องถิ่นคือต้นไผ่อยู่จำนวนมาก  และงอกเองตามธรรมชาติ

4.       ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก  มีฐานะค่อนข้างยากจน   รายได้ต่ำ รายจ่างสูง   ในพื้นที่มีการเพาะปลูกพืชทางการเกษตร      และนำมาจักสานเป็นของใช้ในครัวเรือนหลังยามว่างจากการทำเกษตร   และบ้างปลูกไว้เพื่อแสดงเขตแดน  อาชีพรองลงมาคือรับจ้างทั่วไป

5.       ข้อมูลทางด้านปัญหา  /  ความต้องการ

                       จากการสอบถามปัญหาและความต้องการของประชาชน  จำนวน  30 ครัวเรือน   สรุปข้อมูลทางด้านปัญหาตรงกันว่า ประชาชนมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายและมีความต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยวิธีการเพิ่มรายได้ การหาอาชีพ    ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และเกษตรกรรม ผลผลิตราคาต่ำ   นอกจากนี้ประชาชนยังมีความต้องการขายผลผลิตทางการเกษตรให้ได้ราคาสูงและต้องการมีอาชีพเสริม

                     

 

 

 

 

  จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว  สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของประชาชนหมู่ที่ 11  ตำบลท่าเรือ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้ดังนี้

 

ปัญหา

สาเหตุ

ผลกระทบ

วิธีการแก้ปัญหา

1. มีรายได้ต่ำ

การศึกษาต่ำจึงมี

อาชีพรับจ้าง

รายรับไม่พอกับรายจ่าย

ประกอบอาชีพเสริม

2. ลงทุนสูงในการทำการเกษตร

 

ค่าจ้างเครื่องจักร  ค่าปุ๋ย  ค่ายาปราบศรัตรูพืชมีราคาสูง

รายรับไม่พอกับรายจ่าย

 

ลดต้นทุน

 

 

3. เครื่องอุปโภค

มีราคาแพง

การนิยมซื้อของตามห้างสรรพสินค้า

 

ค่าใช้จ่ายสูง

 

 

ผลิต ผลิตภัณฑ์ไว้ใช้เองในหมู่บ้าน 

 

 

           จากปัญหาและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการมีอาชีพเสริมหลังการทำการเกษตร พร้อมกับสภาพปัจจุบันนี้มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก  ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น   และต้องการลดรายจ่ายเครื่องอุปโภคที่มีราคาแพง   และสามารถนำมาเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย

 

หลักการ

                เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน   ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น   สมาชิกในครอบครัว   และประชาชนในท้องถิ่นสามารถผลิตขึ้นใช้เองและสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

 

คำอธิบายรายวิชา

                              ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ทำเข่งใส่ปลาทูนึ่ง คุณสมบัติและประโยชน์ของวัตถุดิบ  อุปกรณ์ในการเข่งปลาทูนึ่ง   ขั้นตอนการทำเข่งปลาทูนึ่ง   วางแผนการจัดการจำหน่ายเข่งปลาทูนึ่งและสามารถทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของครัวเรือนได้ถูกต้อง

 

 

 

 

 

จุดมุ่งหมายหลักสูตรนี้ให้ความรู้และประสบการณ์เพื่อให้ผู้จบหลักสูตรมีคุณลักษณะดังนี้

1.       เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนช่วยในการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

2.       เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำเข่งใส่ปลาทูนึ่งจากวัสดุในท้องถิ่น

3.       มีประสบการณ์ในการทำเข่งใส่ปลาทูนึ่ง  และออกแบบเข่งใส่ปลาทูนึ่งเพื่อช่วยเหลือ ตนเองและครอบครัวได้

4.       มีประสบการณ์ในการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการไปหาข้อมูลจากภูมิปัญญา

 

โครงสร้างหลักสูตร

 

เรื่องที่

หัวเรื่อง

เวลารวม

เวลา  (ชั่วโมง)

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

1.

2.

3.

4.

5.

6.

 

ชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ทำเข่งใส่ปลาทูนึ่ง คุณสมบัติและประโยชน์ของวัตถุดิบ

อุปกรณ์ในการทำเข่งปลาทูนึ่ง

ขั้นตอนการทำเข่งปลาทูนึ่ง

การวางแผนการจัดจำหน่าย

การทำบัญชีรายรับรายจ่าย

2

3

2

4

3

2

1

2

1

1

1

1

1

1

1

3

2

1

 

รวม

16

7

9

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตารางวิเคราะห์หลักสูตร

เพื่อการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่นำมาบูรณาการในการสอน

ชื่อหน่วย

หมายเลขบันทึก: 267996เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท