LiBraRianCSR!!!
นาย รัชชานนท์ เจริญเกียรติสถานนท์

Knowledge 2008


Knowledge 2008

อยู่ดี ๆ หาข้อมูลในเครื่อง ดันมีไฟล์ที่สรุปในการไปสัมมนางาน Knowledge 2008

เลยคิดว่าน่าจะนำมาเผยแพร่ต่อ จะได้เป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกันต่อไป

หลักสูตร Knowledge 2008 “In Pursuit of a Knowledge Society โรงแรม Grand Millennium สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ

ส่วนที่ 1 เป็นการบรรยายในเรื่อง Knowledge Management for Competitive Advantage

คือ การนำ KM มาสร้างความได้เปรียบ สร้างความแตกต่างกับคู่แข่ง โดย KM เป็นกระบวนการในการรวบรวมข้อมูล ความรู้แล้วนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกที่ ถูกเวลา และสามารถสร้างคุณค่าให้องค์กรได้  ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในโลกสามารถทำได้ง่าย มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานโดยติดต่อสื่อสารกันผ่านทาง Website มีมากขึ้น และการเพิ่มจำนวนประชากรของโลกมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ  ทำให้องค์กรต้องศึกษาข้อมูล และทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพื่อจัดเตรียมผลิตภัณฑ์ บริการต่าง ๆ ให้ตรงตามต้องการของลูกค้า 

ส่วนที่ 2 เป็นการบรรยายในเรื่อง Promoting KM in Your Organization โดยนำเสนอถึงปัจจัยในการทำ KM ให้ประสบความสำเร็จโดยมีทั้งหมด 5C ด้วยกัน คือ

Culture – วัฒนธรรมองค์กรควรให้มีรูปแบบของวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำกับสิ่งที่ไม่ควรทำในองค์กร โดยแยกได้ดังนี้

                    สิ่งที่ควรทำ                                                                สิ่งที่ไม่ควรทำ

ให้ในสิ่งที่จำเป็น                                                      ให้ในสิ่งที่ต้องการ

ให้ในสิ่งที่เป็นคุณค่าขององค์กร                           สร้างในสิ่งที่เป็น Catalog

ให้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้                                       ให้ความรู้  ฝึกอบรม

ประยุกต์ใช้ในงาน                                                   บังคับ        

Champion – หาผู้นำที่สามารถสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม KM  ซึ่งอาจจะยกกรณีศึกษาขององค์กร เรื่องราวที่ประสบความสำเร็จ ประโยชน์ต่าง ๆ จากการทำ KM ให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องดำเนินการกิจกรรม KM

Communication – การสื่อสารควรให้เป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วทั้งองค์กร หาวิธีการแนวทางใหม่ๆ ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางเอกสาร เว็บไซต์เพื่อให้พนักงานเห็นคุณค่าและประโยชน์จากการดำเนินการ KM  สิ่งที่จำเป็นคือต้องสื่อสารจากผู้บริหารสู่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน

Change – การเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปแบบการนำเสนอควรนำเสนอให้เป็น และหาวิธีการนำเสนอรูปแบบใหม่ ๆ หาจุดสนใจในความต้องการของพนักงานว่าพนักงานสนใจอะไร และอย่าขายความน่าเชื่อถือว่า KM คือคำตอบของทุกอย่าง

Content – เนื้อหา ความรู้ให้จัดรูปแบบเนื้อหาออกเป็น ความรู้ขององค์กร ความรู้ส่วนบุคคล Tacit Knowledge Explicit Knowledge ซึ่งควรแบ่งหมวดหมู่ให้ชัดเจน

การดำเนินงาน KM นั้นต้องอาศัยแผนกลยุทธ์ซึ่งจะใช้กลยุทธ์ 3P Strategy โดยแบ่งได้ ดังนี้

PUSH การสร้าง KC (Knowledge Center) เพื่อจัดเก็บความรู้ขององค์กรทั้งที่เป็น Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ให้พนักงานเข้าไป Learn Unlearn และ Relearn

PROMOTE นำเสนอให้พนักงานได้รับรู้ว่าองค์กรมี KC และให้พนักงานเข้าไปเรียนรู้ใน KC หาวิธีทาง แนวทาง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งองค์กร

PULL เมื่อพนักงานผ่านการเรียนรู้ใน KC แล้ว และนำไปประยุกต์ใช้ในงานเกิดทักษะ ประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดึงข้อมูล ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ต่าง ๆ มาไว้ใน KC โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องว่า ความรู้เหล่านั้น เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้

ส่วนที่ 3 เป็นการบรรยายเรื่อง WiMAX (Worldwide Interoperability for Microware Access) เป็นเทคโนโลยีบนบรอดแบนด์แบบไร้สาย ซึ่งประเทศไทยได้มีการทดลองติดตั้งบางส่วนในหลายจังหวัด
โดยแต่เดิมมีการใช้บรอดแบนด์แบบมีสายเชื่อมต่อเข้าหากันผ่านทางสาย
Lan หรือแบบไร้สายในระยะใกล้ ๆ เท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่บนไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อมต่อไปยังอีกหลายจุดได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานในระยะรัศมีที่ไกล ๆ ออกไปเป็นระยะทางหลายกิโลกิโลเมตร เสมือนเป็น Hot Spot ขนาดใหญ่

ไวแม็กซ์ (WiMAX) บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงนี้ถูกพัฒนาขึ้นบนมาตรฐานการสื่อสาร IEEE802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาอยู่บนมาตรฐาน IEEE802.16a ซึ่งมีระยะรัศมีทำการที่ 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นั่นก็หมายความว่า ไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถทำงานได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนระบบ 3G มากถึง 10 เท่า พร้อมยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล

ไม่ว่าจะเป็นมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียง ซึ่งก็เร็วกว่าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G มากถึง 30 เท่า
โดยมาตรฐาน
IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆกัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ

Non-Line-of-Sight ได้สามารถทำงานได้แม้ว่าจะมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผล

ให้WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps

ส่วนที่ 4 เป็นการบรรยายในเรื่อง E – Learning Technical Aspect โดยได้ให้ความรู้ทางด้าน
E - Learning คือ การศึกษาที่ครอบคลุมถึงการใช้สื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลาย การเรียน การสอนในลักษณะ

หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น การปฏิสัมพันธ์คนละเวลาโดยผ่าน ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต

E-Mails, Blogs, Wikis, Discussion board และการปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นในขณะเวลาเดียวกันโดยผ่าน online chat session, virtual classroom or meeting ฯลฯ ซึ่งระบบ E – Learning มีเทคโนโลยีที่นำมาใช้ คือ M – Learning (Mobile Learning) และ Blended – Learning เป็นการผสมผสานวิธีหลาย ๆ วิธีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทั้งการพบปะกัน และผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่ง ระบบ E – Learning ถูกสร้างขึ้นโดยอ้างอิงระบบมาตรฐานที่เรียกว่า SCORM (Sharable Content Object Reference Model)
เป็นการรวมกันของมาตรฐาน และข้อกำหนด ที่มาจากแหล่งข้อมูลหลายประเภท เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โดยสื่อทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกัน สืบค้นง่ายและสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ในทันที และเทคโนโลยีในปัจจุบันพัฒนาไปสู่รูปแบบ
Web 2.0 ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นมาเองได้  ทำให้
เนื้อหาเพิ่มขึ้นได้อย่างมากมายซึ่งความสามารถของ SCORM มีดังนี้

§      สามารถหลีกเลี่ยงซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง เนื่องจาก Content ตามข้อกำหนด SCORM เป็น Web based Content จึงสามารถใช้ HTML tool ไปสร้าง Content ได้เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะเจาะจงใดๆ สร้าง Content

§      นำเนื้อหามาใช้ได้ใหม่ ทำให้การพัฒนาเนื้อหารวดเร็วขึ้นโดยเมื่อพัฒนาขึ้นเรื่องหนึ่งสามารถนำไปใช้กับผู้เรียน ที่ต่างกัน หรือวิชาอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาในการพัฒนา

§      นื้อหาสามารถใช้ร่วมกันระหว่างระบบได้ การใช้ข้อกำหนด SCORM ทำให้การ Integrate ระบบง่ายขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตช่วยป้องกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของถูกลง  บทเรียนตามข้อกำหนด SCORM สามารถใช้ร่วมกับระบบที่เข้ากันได้กับ SCORM ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

§      สามารถสร้าง / พัฒนา  Content ได้เร็วกว่า เนื่องจาก การนำ SCORM ไปใช้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ ในอนาคตเราสามารถหาผู้ผลิต ผู้พัฒนา Contentได้โดยง่าย พร้อมกับความรู้ และทักษะของ SCORM ก็จะเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางง่ายต่อการหาคู่มือ ตำรา และเอกสารการฝึกอบรม

§      การออกแบบโครงสร้างสื่อการเรียนการสอนอย่างถูกต้อง

 

 สิ่งที่จะเอาไปทำต่อ

1.    การดำเนินการบริหารจัดการความรู้ในองค์กรควรเริ่มด้วยการจัดทำกลยุทธ์ KM และการจัดทำ KM Roadmap เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน แล้วนำ KM มาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ

2.    เทคโนโลยีที่จะนำมาสนับสนุนการดำเนินงาน KM ได้แก่ เทคโนโลยีบนบรอดแบนด์แบบไร้สายที่เรียกว่า WiMAX มาตรฐาน SCORM และการนำเทคโนโลยี SCORM มาสร้าง E – Learning เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้ของพนักงานในองค์กร

3.    การดำเนินการ KM ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ควรเริ่มต้นที่ผู้บริหาร วัฒนธรรมขององค์กร การสื่อสารภายในองค์กร และการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง

 

คำสำคัญ (Tags): #knowledge 2008
หมายเลขบันทึก: 267705เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2009 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท