เล่าเรื่องเมืองหงสา: เล่าเรื่องกิจกรรมขี้เหยื้อจากคำกล่าวไขกองประชุม


"โลกต้องการท่านเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ”

ที่โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์หงสา ๕มิถุนายน น้องๆทีมงานที่หงสาได้จัดกิจกรรม การจัดการขี้เหยื้อ หรือการจัดการขยะ ซึ่งผมมีโอกาสได้กล่าวคำรายงานพร้อมทั้งนำเข้าสู่กิจกรรมไว้ดังนี้

เรียนท่านรองหัวหน้าห้องการศึกษาเมืองหงสา ท่านอำนวยการโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์หงสา เคารพนับถือบรรดาครูอาจารย์ทุกท่าน ฮักแพงน้องๆลูกหลานนักเรียนทุกคน

ข้าพเจ้าขอถือเป็นเกียรติ กล่าวรายงานและนำเข้าสู่การจัดกิจกรรมการจัดการขี้เหยื้อในมื้อนี้ การจัดกิจกรรมของพวกเราเกิดขึ้นย้อนความหว่งใยต่อสภาพแวดล้อมของเมืองหงสาที่อาจจะเสื่อมโทรมลงได้ถ้าหากว่าบ่ได้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากขี้เหยื้อที่นับมื้อนับมีจำนวนหลวงหลายขึ้น

อันว่าปัญหาที่จะเกิดจากขี้เหยื้อนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิตของพวกเฮา น้องๆลูกหลานคงจะสังเกตุเห็นแล้วว่าในสมัยก่อนพ่อแม่เฮาไปซื้อเครื่องซื้อของจากตลาดแม่นมักจะห่อด้วยใบตองกล้วย ตองกุง     ขี้เหยื้อที่เกิดขึ้นก็จะเป็นประเภทที่เปื่อยสลายได้ง่าย ผู้คนชาวเมืองก็บ่หลาย บ้านบ่ถี่ที่บ่เต็มคือทุกมื้อนี้ การจัดการขี้เหยื้อก็แม่นเอากองไว้ให้ย่อยสลายไปเอง หรือเหิงๆมาฮอดปีใหม่ลาวมื้อวันสังขารล่องก่กวาดเมี้ยนมาจูดเผาสักเทื่อหนึ่ง  แต่มาฮอดมื้อนี้ลูกหลานก่คงจะเห็นว่าประเภทของขี้เหยื้อได้เปลี่ยนไป ทุกมื้อนี้เฮาไปตลาดซื้อหยังแม่ค้าก่ใส่ถุงยางแถมยังเอาถุงยางใส่ถุงกอ๊บแก๊บมาให้อีกเทื่อหนึ่ง เด็กหน้อยกินนมก่บรรจุมาในกล่อง น้องๆซื้อขนมขบเคี้ยวที่มาจากต่างประเทศก่บรรจุมาในซองพลาสติค กินน้ำอัดลมกาแฟก่บรรจุมาในกระป๋อง อ้ายบ่าวไปซื้อเบียร์มาดื่มก่ใส่มาในแก้ว (ขวด) ไปซื้อตำหมี่ข้าวคั่วข้าวผัดเขากับซ้ำพัดใส่กล่องโฟมมาให้ ซึ่งน้องๆคงจะเห็นแล้วว่าขี้เหยื้อประเภทดังกล่าวมานี้บ่ได้เน่าเปื่อยย่อยสลายได้ง่ายๆ หากถิ้มแบบซะซายก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ จึงต้องมีวิธีการขี้เหยื้อที่เหมาะสม ซึ่งหมู่เฮาจะได้เรียนรู้ในมื้อนี้

มื้อนี้วันที่ ๕ มิถุนา เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก สำหรับปีนี้มีคำขวัญว่า โลกต้องการท่านเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ซึ่งการจัดการขี้เหยื้อของพวกเฮาก่สามารถช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศได้คือกัน เป็นต้นแม่น หากเฮานำเจี้ย (กระดาษ) มาใช้ใหม่หรือประหยัดการใช้เจี้ยเฮาก่บ่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าเพื่อมาผลิตเจี้ย ต้นไม้ก่จะช่วยให้เกิดดุมเดี่ยง (สมดุลย์) ของธรรมชาติได้ การจูดเผาขี้เหยื้อโดยเฉพาะแม่นประเภทกล่องโฟมหรือพลาสติคเฮดให้เกิดก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนแก้ว (เรือนกระจก) เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศนั้นบ่แม่นสิ่งที่อยู่ไกลตัวพวกเฮา น้องนุ่งลูกหลานคงจะสังเกตุเห็นได้ว่า เมื่อปี๒๐๐๘ที่ผ่านมา เกิดฝนฟ้าตกมาแต่ก่อนเดือนสี่เฮดให้ประชาชนบนเขตภูดอยบ่สามารถจูดไฮ่ปลูกข้าวได้ ปีที่ผ่านมาพี่น้องต้องไปหาหน่อไม้ หาสัตว์ป่า หาดอกแขมลงมาแลกเอาข้าวจากพื้นล่างขึ้นเมือกิน อันนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด

กิจกรรมของพวกเฮาในมื้อนี้ หลังจากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวจบแล้ว ต่อไปจะเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขี้เหยื้อ หลังจากนั้นเฮาจะแบ่งน้องๆออกเป็นห้ากลุ่มย่อย ให้แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันเข้าเฮดกิจกรรมในห้าฐานความรู้ ได้แก่

·       ฐานขี้เหยื้อกู้โลก ที่จะสอนให้น้องๆสามารถคัดแยกขี้เหยื้อ

·       ฐานกล่องปริศนา จะสอนในเรื่องการนำขี้เหยื้อมาใช้ประโยชน์ (re-use)

·       ฐานใยแมงมุม จะสอนเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

·       ฐานเส้นทางแห่งสายน้ำ จะเน้นในเรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า

·       ฐานคืนชีวิตให้ขี้เหยื้อ จะให้ความรู้เรื่องการนำขี้เหยื้อไปผ่านกระบวนการนำใช้ประโยชน์ใหม่ (recycle)

ขอให้น้องๆ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างม่วนงัน แต่ภายใต้ความสนุกสนานนั้น พวกเฮาได้สอดแทรกความรู้ไว้นำ ก่ขอให้น้องๆได้สังเกตุและเก็บเกี่ยวเอาความรู้ไปนำ

นอกจากกิจกรรมในมื้อนี้แล้ว พวกเฮายังจะมาสืบต่อเวียกงานเรื่องขี้เหยื้ออีกต่อไป ได้แก่การจัดธนาคารขี้เหยื้อ การเฮดน้ำหมักชีวภาพและฝุ่นบ่ม(ปุ๋ยหมัก)จากขี้เหยื้อ เป็นต้น และหวังว่าคงจะได้รับความร่วมมือจากน้องๆและทางโรงเรียนเป็นอย่างดีคือกันกับเทื่อนี้ พวกเฮาหวังว่าน้องๆซึ่งเป็นสถาบันศึกษาชั้นสูงที่สุดของเมืองหงสาจะนำเอาความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างสำหรับผู้อื่นต่อไป

ขอขอบใจ

หมายเหตุ บันทึกนี้ขอทับศัพท์ด้วยสำนวนท้องถิ่นครับ

หมายเลขบันทึก: 267443เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2009 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขี้เหยื่อ...555
  • อุจาระเหยื่อ...ใช่ไหมครับ..ฮิฮิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท