เทศนาภาษาใจ (๔) ...เรียนที่จิต เรียนอย่างไร


การเรียนที่จิตใจ คือการระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่าอายตนะ แปลว่า ที่ต่อ คือต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อย่าให้เกิดความชอบ ความชังกับจิตใจ ถ้าระวังไม่ได้ เผลอสติเมื่อใดก็ยุ่งเมื่อนั้น

เรียนจิตใจของเรา วิชชามันมาทางจิต อย่าเรียนภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันยุ่งนั่นแหละคนบ้า

เรียนโสดาฯ ท่านเรียนที่ใจ โสดา แปลว่า กระแสของธรรมะ ที่ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดดับของสังขาร (ความคิด) 

จนละ - ความยึดถืออัตตาความเป็นตัวเป็นตนออกจากใจได้ เรียก สักกายทิฏฐิ

         -ไม่สงสัยในวิสัยของปุถุชน เรียก วิจิกิจฉา

         -ไม่เห็นอะไรที่จะดีกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีการประพฤติปฏิบัติ และความเห็นไม่ฝืนกระแสธรรมของพระอริยะ เรียก สีลพตปรามาส



วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

 

หมายเลขบันทึก: 267333เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2009 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับน้องวัณย์

สบายดีนะครับ วันก่อนไปเยี่ยมแบบเงียบๆในบันทึก L/C มาแล้วครับ

แวะมารับกระแสธรรมจากหลวงปู่ด้วยคนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท