เทคนิคการนิเทศครูโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 – 4


ส่งเสริมทักษะการคิดระดับสูงนักเรียน

ชื่อนวัตกรรม   เทคนิคการนิเทศครูโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียน  ช่วงชั้นที่ 3 – 4 

ปัญหา

                นักเรียนขาดทักษะการคิดระดับสูง

สาเหตุของปัญหา

                ด้านครู   ครูขาดความรู้  ความเข้าใจ    ขาดทักษะการออกแบบการจัดการความรู้   ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา  ขาดความตระหนัก  และไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนานักเรียน

                ด้านศึกษานิเทศก์  ขาดนวัตกรรมการนิเทศ   นิเทศไม่เป็นระบบ  และนิเทศไม่ต่อเนื่อง

แนวทางการแก้ปัญหา(นวัตกรรม)

                เทคนิคการนิเทศครูโดยใช้การจัดการความรู้  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 – 4 

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อพัฒนาความรู้  ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดระดับสูง

                2. เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดระดับสูงนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4

                3. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดระดับสูงให้กับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 – 4 

กระบวนการพัฒนา

1.       ศึกษานิเทศก์และครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ประสบผลสำเร็จของตนเอง  ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูง  โดยใช้วิธี  Story  Telling  

2.       ร่วมกันกลั่นประสบการณ์การจัดการเรียนรู้พัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูงที่ประสบความสำเร็จ  สกัดเป็นขุมความรู้

3.       ร่วมกันจัดทำเป็นบันไดแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดระดับสูง

4.       ครูประเมินตนเองตามบันไดแห่งความสำเร็จ  ว่าตนเองอยู่ในระดับใด

5.       ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง  เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูง  นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้  มีการพัฒนาและปรับปรุงอ่างต่อเนื่อง

6.       ศึกษานิเทศก์ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ ICT  เช่น E – Learning,   Blog  แสดงความคิดเห็นระหว่างศึกษานิเทศก์และครู

7.       ศึกษานิเทศก์จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

8.       ครูและศึกษานิเทศก์ร่วมกันสรุปผลการพัฒนาตนเอง  ได้เป็น  Best  Practice  การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูง  ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้   เผยแพร่เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ

 แนวคิดทฤษฎี

                ใช้หลักการจัดการความรู้แบบ Story  Telling     การนิเทศแบบมีส่วนร่วม

ส่วนประกอบของนวัตกรรม

                การประชุมแบบ  Story  Telling 

                การสกัดขุมความรู้

                การจัดทำบันไดสู่ความสำเร็จ

                การประเมินตนเอง

                E – Learning

Blog  แสดงความคิดเห็นระหว่างศึกษานิเทศก์และครู

                การสรุปเป็น Best  Practice   

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

                1. ครูร้อยละ 80 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูง

 

                2. ครูร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจต่อการจัดการความรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูง

                3. ครูร้อยละ  80  มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดระดับสูง

                4. นักเรียนร้อยละ 75  มีทักษะการคิดระดับสูง

 

หมายเลขบันทึก: 267265เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท