วิเคราะห์หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการ


การอยู่เวรรักษาการ

เรียนผู้อ่านทุกท่าน

เนื่องจากมีข้อสงสัยในการตีความหลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการของสถานศึกษา ผมสอบถามไปหลายคน เอาเข้าจริงๆ ไม่มีใครยืนยันได้ชัดเจน จึงขอคำแนะนำหรือข้อคิดเห็นถึงการวิเคราะห์ต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่

วิเคราะห์หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (กรกฎาคม 2542)

อ้างถึง หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการ ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หน้า 301-302 (ที่เกี่ยวข้องกับผู้ตรวจเวรยาม) มีรายละเอียดดังนี้

ข้อ 4. กล่าวว่า ในแต่ละผลัดของการจัดเวรรักษาการณ์ ให้มีผู้ตรวจเวร 1 คน โดยให้ผู้ตรวจเวรต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ระดับที่สูงกว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร

ข้อ 5 กล่าวว่า การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ หรือผู้ตรวจเวร ให้อยู่ใน ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นจะกำหนดตามความเหมาะสม

ข้อ 10. กล่าวว่า กรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีความจำเป็นไม่อาจปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ข้างต้นได้ ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจในการที่จะสั่งการ การอยู่เวรรักษาการณ์ตามความเหมาะสมได้ โดยไม่ให้เกิดผลเสียหายกับงาน และทรัพย์สินของทางราชการหรือหน่วยงาน


     จากรายละเอียดดังกล่าว จะเห็นว่าข้อ 4 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ตรวจเวรต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ระดับที่สูงกว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร

     ส่วนข้อ 5 ระเบียบดังกล่าวได้ให้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานสามารถกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใดเป็นผู้ปฏิบัติน้าที่เวรรักษาการณ์ หรือผู้ตรวจเวรก็จริง แต่เงื่อนไขข้อนี้ได้ถูกกำกับด้วยข้อ 4 ซึ่งสายงานตำแหน่งทางบริหารในโรงเรียนที่สูงกว่าครูก็คือผู้อำนวยการฯ และรองผู้อำนวยการฯ ส่วนตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเป็นแต่เพียงตำแหน่งที่แต่งตั้งขึ้นมาในโรงเรียนเท่านั้น ข้าพเจ้ายังไม่พบข้อกฏหมายหรือระเบียบจากหน่วยงานระดับสูงรองรับ แต่หากจะเหมารวมก็เป็นที่เข้าใจและยอมรับได้ ในการที่ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานจะแต่งตั้งให้ตรวจเวรยาม


     ส่วนข้อ 10 กรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีความจำเป็นไม่อาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจในการที่จะสั่งการ การอยู่เวรรักษาการณ์ตามความเหมาะสมได้ จากรายละเอียดดังกล่าว อำนาจในการใช้ดุลพินิจในการสั่งการของผู้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานทำได้เพียงการแต่งแตั้งผู้อยู่เวรรักษาการณ์ เท่านั้น

     หากจะอ้างอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารในระเบียบปฏิบัติอื่นๆ ในการที่จะกระทำการขัดแย้งกับหลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการ ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็น่าจะเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 266749เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กฏระเบียบ ข้อกำหนดของไทยต่างๆ มักจงใจเขียนข้อปลีกย่อยที่ดูเหมือนจะรัดกุม แต่มันเป็นดาบ ที่หันด้านคมเข้าหาผู้ไม่รู้กฏหมาย ส่วนสันดาบจะหันเข้าหาผู้รู้กฏหมาย

ตามหลักแล้ว หากการกระทำใด ที่มีข้อบ่งชี้ว่าการกระทำนั้นฝ่าฝืนในกฏหมายหรือข้อบังคับ ย่อมมีความผิด แต่หากพบว่ามีข้อกฏหมายใดๆ ที่กล่าวไว้ว่าการกระทำนั้นสามารถทำได้ ให้ถือกฏหมายหรือข้อบังคับที่เป็นคุณเป็นหลัก

ดังนั้นเมืองไทยจีงมักมีการตีความข้อกฏหมายกันบ่อยๆ และในแตละครั้งก็อาจตีความไม่เหมือนกัน ในข้อกฏหมายเดียวกัน โดยอ้างถึงสภาพแวดล้อมหรือบริบทที่ต่างออกไป หรือนำข้อกฏหมายอื่นที่นำมาหักล้างกัน

แวะมาอ่านครับ ...คิดถึงแม่เมาะ ตอนนี้ผมอยู่ อุบลฯ สบายดีครับ

ถ้ามีโอกาสไปทางเหนือจะแวะไปเยี่ยมครับ

ฟังเพลง มนต์เมืองแม่เมาะแล้ว เพราะดีครับ แต่ถ้าให้โดนใจน่าจะทำแบบลุกทุ่งอีสานบ้าง

สวัสดีครับ ....

ถ้าให้โดนใจน่าจะทำแบบลุกทุ่งอีสานบ้าง

เกรงใจคนแม่เมาะครับ

ก็มีบ้างเหมือนกันที่ผมทำเพลงลูกทุ่งอีสาน (ใส่แคนใส่พิณเต็มๆ)ให้นักร้องเหนือร้อง แต่ก็มีขายเฉพาะแถวลำปางครับ

ผมทำงานเป็นลูกจ้างหรือนักการภารโรงตั้งแต่ปี 2537 มีคำสั่งอยู่เวรรักษาการณ์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง  ท่านอาจารย์สรวงคิดว่าการกระทำของผู้บังคับบัญชาของกระผมทำกับลูกน้องตัวเองเหมาะสมตามระเบียบกฎหมายหรือไม่ ผมเคยทักท้วงมาหลายครั้งแล้วเขาบอกว่าทำตามกฎหมาย  แต่ผมคิดว่าตามความเป็นจริงแล้วคงไม่มีมนุษย์(หน้าโง่)คนใหนทำได้ใช่ใหมครับครูและผมว่าเขาทำผิดกฎหมายแรงงานด้วยซ้ำไป ผมพูดผิดถูกยังไงขอคำชี้แนะหน่อยครับครู  ถ้าต้องการร้องเรียนขอความเป็นธรรมจะติดต่อหน่วยงานไหนดีครับ  ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท