จุดยืนโครงการความร่วมมือจ.นครศรีธรรมราช?


จุดยืนของโครงการฯและการจัดการความรู้ของผู้ว่าราชการจังหวัด

ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการโครงการความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคมและสุขภาวะ จ.นครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2552 คุณณรงค์ คงมากได้เขียนรายงานในประเด็นการจับความรู้เวียนกันอ่านผ่านเมล์ (ผมขออนุญาตนำลงในblogเพื่อผู้สนใจได้ติดตามข่าวด้วย)

ประเด็นที่ผมได้เรียนรู้คือ จุดยืนของโครงการฯและการจัดการความรู้ของผู้ว่าราชการจังหวัด
โครงการความร่วมมือฯนำเสนอรายงานความเป็นมา และภารกิจที่จะดำเนินการในช่วง18 เดือนนี้(มี.ค.52เป็นต้นไป) สรุปคือ กระบวนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีพื้นที่เป้าหมายจำนวน 60 อบต.
-ผู้ว่าฯเสนอให้ขับเคลื่อนทั้ง165ตำบล โดยจัดเป็นกลุ่มประมาณ 3 กลุ่ม 60ตำบลอาจเป็นกลุ่มที่1 ให้คกก.จัดทีมลงไปติดตามสนับสนุนการทำงานของกลุ่มต่างๆ
-ปลัดจังหวัดเสริมว่า ได้สั่งการให้กรรมการหมู่บ้านจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนเชื่อมโยงกับอบต.ทุกหมู่บ้านแล้ว โดยสานต่องานชุมชนอินทรีย์ของผู้ว่าฯวิชม ทองสงค์ทั้งทีมคุณกิจและคุณอำนวยตำบล สามารถเคลื่อนไปทั้งแผงได้เลย
แกนนำโครงการฯคือคุณคณพัฒน์ยืนยัน เกณฑ์การคัดเลือกตำบลเป้าหมาย
-ผู้ว่าฯขอให้ทำCDพื้นที่60ตำบลๆละ10-12นาทีเพื่อเป็นสื่อเรียนรู้เข้าที่ประชุมกรมการจังหวัดหรือหากมีแขกบ้านแขกเมืองมาจะได้ฉายให้ดู ขอให้แล้วเสร็จภายในวันที่20มิ.ย. เพื่อนำเสนอในงานเปิดตัววันที่ 24 มิ.ย.52 ซึ่งจะมีหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอมาร่วม

ผมเห็นว่า ทีมงานควรใช้โอกาสนี้สร้างการเรียนรู้ผ่านCDพื้นที่ต้นแบบ ไม่จำเป็นต้องครบทั้ง60ตำบล     แต่ควรหารือวางเนื้อหาว่าจะสร้างการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายกับส่วนราชการที่รับผิดชอบอย่างไร? จึงไม่ควรโชว์ว่า เราทำสำเร็จอะไรบ้างเท่านั้น ซึ่งผู้ว่าภาณุก็ให้แนวทางไว้แล้วว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างก็ให้บอกด้วย? บทเรียนที่ผ่านมาก็บอกเราว่าผู้ว่าเองก็ใช่ว่าจะมีอำนาจสั่งอะไรได้หมด สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ แรงเหวี่ยงของสังคมหรือฉันทานุมัติร่วม 
ผมเห็นว่า สื่อวีดีทัศน์ควรมี
1)เนื้อหาที่เป็นผลจากการดำเนินโครงการในตำบล(ระบบฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาต่างๆ)
2)กระบวนการที่ใช้ดำเนินการทั้งการมีส่วนร่วมและความร่วมมือต่างๆและผลที่ได้(การเรียนรู้พัฒนาตนเอง)
3)ประเด็นที่ยังขาดอยู่ ซึ่งหากมีแล้วจะช่วยให้งานก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น (คอขวดของงาน)
พวกเราสรุปแล้วว่าควรมี60ตำบลเท่านั้นจากเกณฑ์คัดเลือกพื้นที่ ในการทำสื่อเผยแพร่ก็เช่นกัน ควรคัดเลือกว่าใน60ตำบล ควรเลือกมานำเสนอสักจำนวนเท่าใดก่อน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องรีบทำทั้งหมด

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 266613เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท