สินค้าเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์


พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ช่วยส่งเสริมการรวมตัวของผู้ผลิตในชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนพัฒนาคุณภาพและชื่อเสียงของสินค้า ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างบริษัทเอกชนและชุมชนในการผลิตและพัฒนาสินค้าในระดับระหว่างประเทศเพื่อช่วยสร้างความชอบธรรมของการปกป้องชื่อเสียงสินค้าไทย ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคุ้มครองเพียงชื่อเสียงของสินค้าเท่านั้น แต่ไม่ปกป้องตัวภูมิปัญญาความรู้โดยตรง

ผู้อ่านทุกท่านรู้จักไข่เค็มไชยา ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มะขามเพชรบูรณ์ ฯลฯ  ทราบไหมคะว่าสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานเหล่านี้จำเป็นจะต้องได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546

 

           

          ตราสัญญลักษณ์

ที่มาของภาพ pcoc.moc.go.th/pcoc/phatthalung/fram2.htm

พระราชบัญญัตินี้มีความสำคัญอย่างไร  ขอสรุปความโดยย่อก่อนค่ะว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ช่วยส่งเสริมการรวมตัวของผู้ผลิตในชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนพัฒนาคุณภาพและชื่อเสียงของสินค้า ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างบริษัทเอกชนและชุมชนในการผลิตและพัฒนาสินค้าในระดับระหว่างประเทศเพื่อช่วยสร้างความชอบธรรมของการปกป้องชื่อเสียงสินค้าไทย  ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคุ้มครองเพียงชื่อเสียงของสินค้าเท่านั้น แต่ไม่ปกป้องตัวภูมิปัญญาความรู้โดยตรง

 

ขอนำเสนองานเขียนที่ผู้เขียนได้ศึกษาไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ดังนี้ค่ะ

 

กฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย

เนื่องจากไทยมีนโยบายที่จะให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์   เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น     อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านการค้าของประเทศ    โดยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีความต้องการที่จะเสริมสร้างและรักษาภาพลักษณ์ในสินค้าที่ผลิตจากท้องถิ่นของตน    และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า    โดยกำหนดให้มีการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์    และห้ามการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันจะทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้าที่ระบุในทะเบียน  ในขณะเดียวกันนโยบายนี้ก็เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ไทยมีตาม Articles 22 - 24   ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าในภาคผนวกท้ายความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้ง WTO   แต่กฎหมายของไทยที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับนโยบายการให้ความคุ้มครองและรองรับพันธกรณีดังกล่าวข้างต้นได้     จึงจำเป็นต้องยกร่างกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ขึ้นมา   ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  พ.ศ. 2546  ได้ถูกประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว   โดยมีผลใช้บังคับในวันที่  28  เมษายน 2546  เป็นต้นไป

 

                                          

http://cmi-rsc.ricethailand.go.th/images/gi_rice.jpg          

1 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครอง

 

การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไป  อาจแบ่งได้เป็น  2 ระดับ  คือ

(1)ระดับปกติ ใช้กับสินค้าทั่วไป  โดยมุ่งป้องกันมิให้มีการ

นำสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ในลักษณะ    ที่จะทำให้คนสับสนหลงผิดในแหล่งที่มาของสินค้านั้น  เช่น  ผู้ผลิตไข่เค็มที่เชียงใหม่  ไม่สามารถใช้คำว่า  ไข่เค็มไชยา   กับสินค้าของตนได้   หากทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด   คิดว่าไข่เค็มของตนมาจากอำเภอไชยา

(2)ระดับพิเศษใช้กับสินค้าเฉพาะอย่าง (ที่กำหนดไว้ใน

กฎกระทรวง)  เป็นการห้ามการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นทุกกรณี    แม้จะไม่ได้ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดก็ตาม    เพื่อคุ้มครองไม่ให้มีการแสดงให้ทราบถึงแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้าโดยใช้คำว่า   ชนิด   หรือ  แบบ   หรือคำทำนองเดียวกัน    อย่างไรก็ตาม    ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ  TRIPS   ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่ทุกประเทศสมาชิก  WTO   จะต้องให้ความคุ้มครองสินค้าประเภทไวน์และสุรา  ในระดับพิเศษ   ตัวอย่างการคุมครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในระดับพิเศษนี้   เช่น  ผู้ผลิตไวน์ในประเทศไทยไม่สามารถใช้คำว่า  “Bordeaux”  ได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นการอ้างโดยอ้อม  เช่น  ผลิตแบบ Bordeaux  หรือชนิดเหมือน Bordeaux “หรือแม้จะได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเป็นไวน์ที่ผลิตในไทยก็ตาม   เป็นต้น

2  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ไม่อาจขอรับความคุ้มครอง

 

ตามมาตรา 5  “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียนสำหรับสินค้าใดต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1)     เป็นชื่อสามัญของสินค้าที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

(2)     เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนโยบายแห่งรัฐ”  

       

        กรณีชื่อสามัญ ตามมาตรา 3 ได้จำกัดความไว้ดังนี้

        “ชื่อสามัญ หมายความว่า ชื่อที่รู้จักกันโดยทั้วไปว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกขานสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง”

 

คำเรียกขานสินค้าใดก็ตามเมื่อเป็นที่รู้จักจนติดปากกันทั่วไปก็จะมาขึ้นจดทะเบียนไม่ได้ เช่น คำว่า “ชาจีน” มิได้หมายความถึงชาที่ผลิตจากจีนเสมอไป แต่เป็นลักษณะของชาชนิดหนึ่งที่ดื่มเป็นถ้วยเล็ก ๆ ไม่นิยมเติมนมหรือน้ำตาล ซึ่งแตกต่างจาก “ชาฝรั่ง” ที่นิยมเติมนมหรือน้ำตาลเพื่อปรุงรสเพิ่มรสชาติ  นอกจากนี้แล้ว สายพันธุ์พืชหรือสายพันธุ์สัตว์ทั้งสายพันธุ์ที่มีชื่อซ้ำกับชื่อท้องถิ่นและเป็นชื่อเฉพาะโดยไม่เป็นชื่อท้องถิ่นก็ไม่สามารถนำมาขึ้นทะเบียนได้อยู่แล้ว  เช่น มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย  สุนัขพันธุ์บางแก้ว แมวสีสวาด เป็นต้น

 

นอกจากกรณีดังกล่าว ตามมาตรา 6 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของต่างประเทศที่ไม่ได้รับความคุ้มครองในประเทศนั้น  หรือที่ไม่มีการใช้ในประเทศนั้นอีกต่อไปก็จะขอขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้เช่นกัน

 

 

3 เงื่อนไขการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มักจะเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม   เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะที่เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  เช่น  สภาพแวดล้อม ดิน  ฟ้า  อากาศ  ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ   ตลอดจนทักษะความชำนาญและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ   ประกอบด้วย   สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น  กล่าวคือ  ผู้เป็นเจ้าของไม่ใช่บุคคลหนึ่งบุคคลใดแต่เป็นกลุ่มชนที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้นๆ  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตที่อาศัยอยู่ในสถานที่หรือแหล่งภูมิศาสตร์  และผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นเท่านั้น ที่มีสิทธิผลิตสินค้าดังกล่าวโดยใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์นั้นได้  ผู้ผลิตคนอื่นที่อยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์จะไม่สามารถผลิตสินค้าโดยใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์เดียวกันมาแข่งขันกันได้  สิทธิในลักษณะดังกล่าวนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า  สิทธิชุมชน   ซึ่งไม่สามารถนำสิทธิที่ได้รับไปอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ต่อได้ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์เท่านั้นที่มีสิทธิใช้

 

www.pattayaadvertising.com/news/news_silk.html

ผ้าตีนจกแม่แจ่ม จ. เชียงใหม่

www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnewsN.php?ID=0...

 

เงื่อนไขสำคัญในการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้แก่  คุณภาพ  ชื่อเสียง  หรือคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆ  ของสินค้าที่จะใช้กับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น   จะต้องมีความสัมพันธ์กับท้องถิ่นหรือสถานที่ภูมิศาสตร์นั้น  ตัวอย่างเช่น  กรณีของไข่เค็มไชยาที่มีลักษณะเฉพาะที่นักชิมทั้งหลายติดใจ  คือไข่แดงที่ใหญ่และแดงสดนั้น   เป็นผลมาจากอาหารตามธรรมชาติที่เป็ดกินและมีอยู่เฉพาะในท้องถิ่นนั้นเท่านั้น  ดังนั้น   แม้จะนำเป็ดพันธุ์เดียวกันไปเลี้ยงที่จังหวัดอื่น  ก็จะไม่ได้ไข่ที่มีลักษณะเดียวกันกับที่ได้จากการเลี้ยงในอำเภอไชยา    เช่นนี้ถือได้ว่าคุณภาพของไข่เค็มไชยานั้นมีความสัมพันธ์กับท้องถิ่นนั้นแล้ว

                         

                           

 

                 www.thaingo.org/.../content2/show.pl?0124

 

หากท่านใดสนใจเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสินค้าเกษตรกรรมที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายนี้  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบันทึกของกัลยาณมิตรใน gotoknow และ learners ของเรานี่เองค่ะ  ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมไว้ดังนี้

ปารินุช
กรมทรัพย์สินทางปัญญา

http://gotoknow.org/blog/ouioui/45814

 

LiLa

การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาตร์ : ทิศทางและแนวโน้ม

http://gotoknow.org/blog/geo/45203

 

ดร.แป้น

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ตอน 1)

http://learners.in.th/blog/praphasri5/65164

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ตอน 2)

http://learners.in.th/blog/praphasri5/65176

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 266355เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

กฎหมาย คือ กติกา ของคนกลุ่มใหญ่ แต่หลายท่าน ใช้กฏ ของตนเอง หรือ ใช้ ความรู้สึก ครับ

  • เรียนท่านอาจารย์ JJ P เรื่องกฎ กับความรู้สึกส่วนตัวเป็นความจริงที่เจ็บปวดจริง ๆ ค่ะ...อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวมา เพราะหลายท่านยึดถึอเช่นนี้ จึงแบ่งสี แบ่งกลุ่มกัน มองกฎหมายคือลายลักษณ์อักษรที่จะตีความเข้าข้างความคิดตนเองได้
  • จริง ๆ หากว่าเรามีจารีตประเพณีและหลักนิติธรรมที่เข็มแข็ง จะมีพลังเหนือกว่ากฎหมายที่บัญญัติไว้เสียอีก
  • กรณีจริยธรรมของนักการเมืองที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันในอังกฤษค่ะ  ...กฎหมายที่เคยเปิดช่องให้สิทธินักการเมืองมากเกินไป ทำให้เกิดการทบทวนว่าขัดกับจรรยาบรรณและคุณธรรมหรือเปล่า
  • เรื่องจริยธรรม ethics สำหรับตะวันตก เป็นสิ่งต้องฝืน แต่สำหรับหลักศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่หากเข้าใจ ก็ปล่อยวางได้  แนวคิดนี้ พอดีได้อ่านจากหนังสือของท่านปยุตโต ศิลากำลังจะนำเสนออยู่พอดีค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะสำหรับคำเดียวสั้น ๆ แต่มีความหมายยิ่งใหญ่ ชวนให้คิดตาม
  • ตามมาอ่านกฎหมาย
  • ดีจังเลยครับ
  • เอาผักพื้นบ้านมาฝาก
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • ข้างบนผักกูดครับ
  • ลวกก็ได้ ผัดก็ได้
  • เอามาฝาก
  • copy  code ข้างล่าง
  • ไปที่บล็อก
  • เลือกกด ตกแต่งบล็อก
  • เลือกแก้ไข CSS
  • เอาไปลงช่องแรก
  • CSS ที่ตกแต่งมาเอง
  • วาง
  • กดบันทึก
  • เราสามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้ครับ
  • ผมเอามาจากคุณศิลา
  • เพียงแต่เปลี่ยนตรงสีแดง
  • div#title{font-size:small;  color:##99FFFF;background:#0066CC

    url(http://gotoknow.org/file/pirachaya/Miracleoflove1.jpg)

     no-repeat   center; ;}

  • แล้วจะมาดูนะครับ

     

  • เรียนท่านอาจารย์ขจิต P ขอส่งการบ้านวันอื่นที่ไม่ใช่วันนี้นะคะ กำลังจะออกไปข้างนอกพอดี
  • เข้มงวดจัง ปกติถ้านักเรียนดื้อ มีระดับการลงโทษเป็นขั้น ๆ ไหมคะ  ขอขั้นเบาหน่อยนะคะ มีอายุมากแล้ว กลัวเสียฟอร์มค่ะ อิอิ

สวัสดี ครับ คุณ sila

ผมเข้ามาชื่นชม ผลงาน ครับ

ชอบ ความคิดที่หลากหลาย ในความเป้นคุณ sila

แต่ผมว่า ผมมีบางสิ่ง ที่คิดคล้าย ๆ คุณ sila อยู่หลากเรื่อง นะครับ

ระลึกถึง..ครับ

ต้องกลับแล้วครับ...วันนี้ฟ้าไม่ใส...แต่ใจคนซิสวย

ไปแล้ว ครับ

 

ขอโทษที่ไม่ได้มาทักทายนานเลยนะคะ

ยุ่ง ๆ ค่ะ 

หลังประเมินสมศ.  ก็ญาติไม่สบายอีก

ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะคะ

 

—•ï¡÷¡ï• น้ำพริกอ่อง •ï¡÷¡ï•—

มาอ่านความรู้ค่ะ น้องไม่ค่อยรู้เรื่องกม. อะไรเท่าไหร่

รู้เพียงกม.หัวใจ ค่ะ J    เดี๋ยวพี่จะหาว่าฟุ้งไปเรื่อย

 

ผลิตภัณฑ์ชาวบ้านที่ผ่านมาถูกขโมยลิขสิทธิ์ไปเยอะเลยค่ะ

แม้แต่ลิขสิทธิ์ ต่างๆ ค่าใช้จ่ายในการจดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ต่างๆ แพงมากค่ะ

 

เอาผักพื้นบ้านมาฝากค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท