การเขียนรายงานการวิจัย


การเขียนรายงานการวิจัย

มีนักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวนมากยังมีความกังวลว่า การเขียนรายงานการวิจัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร จบอย่างไร และมีขั้นตอนและหัวข้ออะไรบ้าง  นอกจากนี้รูปแบบการเขียนรายงานแต่ละสถาบัน/มหาวิทยาลัยแตกต่างกันด้วย ดังนั้นทำให้ผู้วิจัย/นักวิจัยขาดความมั่นใจในการเขียนรายงานการวิจัย  ซึ่งแท้จริงแล้วโดยส่วนมากแล้วไม่ว่าจะเป็นการวิจัยสาขาใด องค์ประกอบของรายงานการวิจัยนั้นประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ

  1. ส่วนหน้า
  2. ส่วนเนื้อหา
  3. บรรณานุกรม
  4. ภาคผนวก

ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบด้งนี้

  1. ส่วนหน้า  ประกอบด้วย    ปกนอก  ปกใน   บทคัดย่อ   สารบัญ  สารบัญตาราง  สารบัญภาพประกอบ
  2. ส่วนเนื้อหา  ประกอบด้วย  บทที่ 1  มีหัวข้อ ดังนี้  ภูมิหลัง   วัตถุประสงค์ของการวิจัย  สมมมติฐานของการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย  ขอบเขตของการวิจัย  และนิยามเฉพาะ   บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย  มีหัวข้อดังนี้  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ มีหัวข้อดังนี้  วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก้บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผล  อภิปรายผล  ข้อเสนอแนะ
  3. บรรณานุกรม 
  4. ภาคผนวก  หมายถึงส่วนที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัย  เช่น  แบบสอบถาม  คุณภาพเครื่องมือ  หนังสือขอความอนุเคราะห์  เป็นต้น

จะเห็นว่า  การเขียนรายงานวิจัยมีรูปแบบที่ไม่ยุ่งยากเลย ถ้าต้องการให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ให้ผู้วิจัย/นักวิจัย ลองเขียนหัวข้อในกระดาษเปล่า A4 เรียงทีละแผ่นตามหัวข้อแล้วค่อยใส่รายละเอียด ซึ่งถ้าเราเขียนเฉพาะส่วนประกอบจะได้ประมาณ  14-20 หน้า โดยเริ่มจากกระดาษแผ่นที่หนึ่ง คือ

  1. ปก
  2. ปกใน
  3. บทคัดย่อ
  4. สารบัญ
  5. สารบัญตาราง
  6. สารบัญภาพประกอบ
  7. บทที่ 1 ซึ่งในกระดาษแผ่นนี้จะประกอบด้วยหัวข้อ  ภูมิหลัง  วัตถุประสงค์ของการ   วิจัย สมมติฐาน ความสำคัญของการวิจัย  ขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ
  8. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  9. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ประกอบด้วยหัวข้อ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  (หรือถ้าเป็นทางการทดลอง จะเป็นเพิ่ม วิธีดำเนินการทดลอง) การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย
  10. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  11. บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
  12. บรรณานุกรม
  13. ภาคผนวก จะประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบวัด แบบทดสอบ   หนังสือขอความอนุเคราะห์ เป็นต้น  
  14. ประวัติของผู้วิจัย 

             มีข้อสังเกตอย่างประการหนึ่ง คือ ถ้าเราสังเกตจะพบว่า จะมีหัวข้อที่ซ้ำกันในบทที่ 1, 3, 5 ซึ่งหัวข้อที่ซ้ำกันคือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล 

         จะเห็นว่าการเขียนรายงานวิจัยเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน เพียงแต่เราต้องศึกษารูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยให้เข้าใจและศึกษารายละเอียดแต่ละหัวข้อให้ขัดเจนและเข้าใจอย่างท้องแท้  การวิจัยง่ายนิดเดียว   แน่นอน

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 26615เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากทำวิจัยแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

 

จะทำวิจัยสักเรื่องหนึ่งอยากทราบว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างเช่น ข้อมูล เป็นต้น และมีขั้นตอนการทำวิจัยที่ดูแล้วไม่น่ายุ่งยากแนะนำบ้างหรือเปล่า

ผมวิจัยการแก้ปัญหาถึงบทที่3วิธีดำเนินวิจัยแต่ไม่รู้จะทำอย่างไงต่อ

จะทำวิจัยพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน ม.ต้น แต่เครื่องที่ใช้ยังไม่สมบูรณ์

ไม่ทราบว่าพอจะหาเครื่องมือได้จากที่ไหนบ้างค่ะ

เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะพี่อ้วน

มีประโยชน์มากเลย ธงชัย เพื่อน เสนีย์



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท