ชมพูทวีป


สังคมชมพูทวีป

สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพระพุทธเจ้า

ลักษณะสังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะทางการเมืองการปกครอง และลักษณะสังคมชมพูทวีป
ดังนี้คือ

          1. ลักษณะการเมืองการปกครองของชมพูทวีป
             ลักษณะการเมืองการปกครองของชมพูทวีป เป็นลักษณะการปกครองคล้ายรูปแบบการปกครองของประเทศไทย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการปกครองของชมพูทวีปแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ระบบ คือ
          1.1 รูปแบบการปกครองส่วนกลาง เรียกว่า มัชฌิมชนบท เปรียบเสมือนการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย
             1.2 รูปแบบการปกครองส่วนหัวเมืองชั้นนอก เรียกว่า ปัจจันตชนบท เปรียบเสมือนการปกครองส่วนภูมิภาคของประเทศไทย

           ชมพูทวีป ในปัจจุบันได้แก่ อาณาบริเวณที่เป็นประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน ประเทศเนปาล และประเทศบังคลาเทศ การปกครอง
จะแบ่งเป็น นครรัฐ หรือแคว้นต่าง ๆ ดังนี้

แคว้น

เมืองหลวง

ชื่อปัจจุบัน

ที่ตั้งปัจจุบัน

1. อังคะ
2.
มคธ
3.
กาสี
4.
โกศล
5.
วัชชี
6.
มัลละ
7.
เจตี้
8.
วังสะ
9.
กุรุ
10.
ปัญจาละ
11.
มัจฉะ
12.
สุรเสนะ
13.
อัสสกะ
14.
อวันตี
15.
คันธาระ
16.
กัมโพชะ
17.
สักกะ
18.
โกลิยะ
19.
ภัคคะ
20.
วิเทหะ
21.
อังตตราปะ

 

จัมปา
ราชคฤห์
พาราณส
สาวัตถี
เวสาลี
กุสินารา (ปาวา)
โสตถิวดี
โกสัมพี
อินทปัตถะ
กัมปิลละ
สาคละ
มถุรา
โปตลิ
อุชเชน
ีตักกสิลา
ทวารกะ
กบิลพัสดุ์
เทวทหะ
สุสุงมารคีระ
มิถิลา
อาปณะ

ภคัลปุร
ราชคีระ
เบนาเรส
สะเหต-มะเหต
เบสาร์
กาเซีย
-
อัลลาฮาบัด
-
-
-
มัตตรา
-
อุชเชน
-
-
-
-
-
-
-

มลฑลเบงกอล
มณฑลพิหาร
บริเวณแม่น้ำคงคากับแม่น้ำยมุนาบรรจบกัน
มณฑลโอธ
บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคันธกะ
บริเวณแม่น้ำคันธกะบรรจบกัน
ถัดจากแคว้นอวันตีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณใต
้แม่น้ำยมุนา
มณฑลปัญจาป
มณฑลอัครา
ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนบน
ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง
บริเวณลุ่มแม่น้ำโคธาวารี
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัสสกะ
ลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบน
ใต้แคว้นคันธาระ
เขตประเทศเนปาล
เขตประเทศเนปาล
-
-
-

หมายเหตุ   ชื่อแคว้นต่าง ๆ พร้อมทั้งชื่อเมืองหลวงในสมัยโบราณ บางแห่งก็สูญหายไป บางแห่งก็คงอยู่แต่มีชื่อใหม่

                                                          ใบความรู้

                                เรื่อง  สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล

                          ชมพูทวีปเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ศัพท์คำว่า ชมพูทวีป นี้ แปลว่า  เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า  ในอดีตอาจมีต้นหว้ามากมายในดินแดนแห่งนี้ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามานั้น เดิมเป็นถิ่นของพวกดราวิเดียน เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยันซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่              อุดมสมบูรณ์ของชมพูทวีป ไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคา ส่วนพวกอารยันก็ได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่  ภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน  ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า มัชฌิมชนบท หรือ  มัธยมประเทศ

                         พวกอารยันเมื่อเข้ามายึดครองดินแดนชมพูทวีปแล้ว ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ  ทาส  หรือ  มิลักขะ  ซึ่งแปลว่า ผู้เศร้าหมอง ผู้มีผิวสีดำ  หรือเรียกว่า  อนาริยกะ  แปลว่า ผู้ไม่เจริญ  ได้เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ  อริยกะ  ซึ่งแปลว่า  ผู้เจริญ  ทั้งพวกอารยันและพวกมิลักขะ

           ด้านการเมืองการปกครอง

              สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีปมักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม  คือ        พระราชวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และประชาชนมีสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ อาจทูลเชิญให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กษัตริย์ในสมัยนั้นจึงยังไม่มีอำนาจมาก  ครั้นต่อมาถึงสมัยพุทธกาล จึงมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธราชหรือราชาธิปไตย คือ พระราชาทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง

              สมัยก่อนพุทธกาล  ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครองนั้นเรียกกันว่า  มหาราชบ้าง ราชาบ้าง  ราชัญญะบ้าง และการปกครองก็ยังมิได้มีการกำหนดเขตการปกครองอย่างเป็นระเบียบและเป็นแคว้นต่างๆ หลายสิบแคว้นตามที่ระบุในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก  พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด21 แคว้น โดยแบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็กๆ 5 แคว้น

              แคว้นแต่ละแคว้น เรียกว่า  ชนบท  เฉพาะแคว้นที่มีอาณาเขตกว้างขวาง  เรียกว่า  มหาชนบท  ชนบทเหล่านี้แบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  ส่วนกลาง  เรียกว่า  มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ  ส่วนที่  เป็นหัวเมืองชั้นนอก  เรียกว่า  ปัจจันตชนบท

 

หมายเลขบันทึก: 265883เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

ขอบคุณค่ะ

ก็ดีนะ

ได้ความรู้ดี

ขอบคุณครับ

อยากดั้ยมากฝ่าเนี้ยอ่ะ

แต่งัยก็ขอบคุงณ๊ค่ะ

ชมพูทวีปในอดีต น่าจะเป็นดินแดน ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบัญ

จากการศึกษาจากตำนานเก่าแก่ สถานที่ปรินิพาน ที่พระแท่นดงรัง กาญจนบุรี พบมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย ช่วงนั้นอาณาจักรโบราณได้ล่มสลายไปแล้วพื้นที่ ที่เคยรุ่งเรืองกลายเป็นป่า การสืบทอดพระศาสนาในสวรรณภูมิมีมาตลอดไม่ขาดตอนแม้จะมีศึกสงคราม และที่สำคัญดินแดนแห่งนี้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นมาตลอดไม่ว่างเว้น นี่จึงเป็นแดนแห่งชมพุทวีปโดยแท้ ถ้าเราใช้พระแท่นดงรังเป็นจุดเริ่มต้นในการสำรวจก็คงต้องเจอหลักฐานอ้างอิงแน่แท้  

ขอบคูณอาจารย์มากค่ะ จากศิษย์ ม.ว

ปี52 6/5

ขอบคุนนะจร้า

ขอบคุณมากครับ  เอกพงษ์ 3/6

 

 

ของคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท