PMQA กับ RBM


กรมยึดเป้าหมาย พื้นที่ยึดกระบวนการ

      ได้รับทราบจากผู้บริหารเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม 2549 ว่ากรมอนามัยตัดสินใจเลือกตัวชี้วัด กพร. เรื่อง การพัฒนาคุรภาพบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยเครื่องมือ PMQA : Public Sector Management Quality Award มาเป็นสัญญาการทำงานในปี 2549 แทนตัวชี้วัดอื่นที่ดูยุ่งยาก และหลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม อบรม อีกประมาณ 2 ครั้ง โดยเฉพาะวันที่เดินทางไปอบรมที่ TK Palace ได้ยินวิทยากรพูดในขณะที่กำลังเดินเข้าไปในห้องพอดี ทำนองว่า กรมอนามัยใช้โครงการลงไปให้ทุกหน่วยทำ เป็นการบริหารยุคเก่า ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้คิด พูดจบก็มีเสียงผู้เข้ารับการอบรมหัวเราะ ทำนองเห็นด้วยกับคำพูดนั้น ผู้เขียนฟังแล้วไม่สบายใจ และกลัวว่าจะลุกลามไปใหญ่ ก็เลยอยากจะอธิบายความเชื่อมโยงระหว่าง PMQA กับ แนวการบริหารภาครัฐที่รัฐบาลนำระบบ RBM มาใช้สักนิด

       ในปัจจุบันมีกฎหมายตัวหนึ่งคือ พระราชกฤษฎีกา GG กำหนดให้รัฐบาลก่อนจะเข้ามาบริหารประเทศ ต้องมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หลังจากการแถลงนโยบายแล้วหน่วยงานหลักของประเทศ ทั้งสภาพัฒน์ กพร. สำนักงบประมาณ มีหน้าที่นำไปจัดทำเป็นแผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี (จะปรับเปลี่ยนตามอายุของรัฐบาล) และกำหนดให้กระทรวง กรม ไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่รัฐบาลประกาศไว้ต่อรัฐสภานั้นจะเกิดผลขึ้นจริง

        ในแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง กรม ก็จะมีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ ไว้ ซึ่งในส่วนของกรมอนามัยก็มีสาระเช่นนั้นเหมือนกับกรมอื่น ๆ  แล้วโครงการสำคัญมันอยู่ตรงไหน ? ล่ะ   ในทางปฏิบัติกรมอนามัยจึงได้รวบรวมตัวชี้วัดจากแผนปฏิบัติราชการที่เป็นเรื่องใกล้กัน ทำนองเดียวกัน มาจัดทำเป็นโครงการ เช่น ตัวชี้วัดเรื่อง CFGT และเรื่องตลาดสดน่าซื้อ มันเป็นเรื่องอาหารเหมือนกัน จึงกำหนดเป็นโครงการอาหารปลอดภัย เป็นต้น ก็แสดงว่า หากบรรลุตัวชี้วัดโครงการก็เป็นการทำงานบรรลุตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ ของกรมอนามัยนั่นเอง กรมทำอย่างนี้สรุปได้ 10 เรื่อง ก็กำหนดเป็น 10 โครงการ

        คำถามอาจจะถามว่า ไม่กำหนดตัวชี้วัดได้ไหม คำตอบว่าไม่ได้ เพราะตัวชี้วัดนี้เชื่อมโยงมาจากแผนของกระทรวงและของชาติ นี่แหละครับระบบ RBM ซึ่ง R ตัวนี้คือ Results ที่รัฐบาลอยากให้เกิดขึ้น หากรวม R จากทุกกรม ทุกกระทรวงแล้ว ก็จะส่งผลต่อ R ของรัฐบาลนั่งเอง ที่นี้มาถึงการนำ PMQA มาใช้ จะมาสอดรับกับ R ที่กรมกำหนดไว้อย่างไร ผมอาจจะรู้น้อยแต่ผมคิดว่า ในหมวด 7 ผลลัพธ์ กำหนดไว้ชัดเจน ว่าประกอลไปด้วยผลลัพธ์ 4 มิติ 1 ใน 4 นั้นก็คือมิติประสิทธิผล ซึ่งก็คือตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติราชการของกรมอนามัยนั่งเอง ตรงนี้แหละที่เป็นจุดสำคัญที่ PMQA จะเข้ามาช่วยในการทำงาน กล่าวคือ หากตั้งคำถามว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมิติประสิทธิผล ซึ่งก็คือเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ นั่งเอง ก็ต้องมาวิเคราะห์ตามหลักการ PMQA เริ่มต้นด้วย หมวด 1 การนำองค์กรเป็นอย่างไร มีการวางแผนกลยุทธ์ (หมวด 2) ไว้อย่างไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หมวด 3) มีโอกาสมากน้อยอย่างไรในการพัฒนา มีระบบการวัด การวิเคราะห์ (หมวด 4) อย่างไร คนในองค์กรเป็นอย่างไร มีการพัฒนาให้มีความพร้อมในการทำงาน (หมวด 5) หรือไม่อย่างไร และมีการจัดกระบวนงานหลัก รอง (หมวด 6) เหมาะสมเพียงใด เมื่อประเมินต้นเองแล้วก็มาจัดทำแผนงาน/โครงการ ปิดจุดอ่อนเสีย ก็จบ

          ฉะนั้น กรมอนามัยกำหนดเป็นโครงการก็เป็นเพียงการกำหนดเป้าหมายว่าจะไปทิศทางไหน วางเป้าไว้เท่าไหร่ แต่กรมอนามัย ไม่เคยบอกเลยว่า หน่วยงานต่าง ๆ ของกรมอนามัยจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะไปจัดทำ และหากนำ PMQA มาใช้ในการวิเคราะห์ก็จะทำให้มีการจัดวางกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสภาพ ข้อเท็จจริงของแต่ละหน่วยงาน นี้แหละที่อยากจะทำความเข้าใจร่วมกัน กรมยึดเป้าหมาย พื้นที่ยึดกระบวนการ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26555เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่อง PMQA กำลังหาข้อมูลด้านนี้อยู่ อย่างน้อยก็ได้คำตอบให้พอเข้าใจ ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท