มะเร็งปากมดลูก:ภัยเงียบที่เงียบไม่ได้


มะเร็งปากมดลูก การหาแนวทาง

ดิฉันค่อนข้างกังวลเมื่อต้องคิดและเขียนโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็งปากมดลูก  ซึ่งปัญหาคงไม่ได้อยู่ที่ว่าโรคนี้เป็นแล้วจะเป็นอย่างไร หากแต่อยู่ที่ดิฉันจะทำอย่างไรจะใช้วิธีการใดที่จะทำให้ผู้หญิงในกลุ่มอายุเป้าหมายหรือไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายก็ได้ที่เป็นผู้หญิงมีทัศนะคติที่จะดีหรือไม่ดีก็ได้แต่พร้อมใจและเห็นความสำคัญต่อการตรวจมะเร็งปากมดลูก 

 สิ่งที่ทำให้ดิฉันเหนื่อยใจมากมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเริ่มต้นที่ดิฉันคุยเรื่องดังกล่าวกับพี่ดิฉันว่าทำอย่างไรดีที่ผู้หญิงในชุมชนของดิฉันจะมาตรวจมะเร็งปากมดลูก พี่ดิฉันทิ้งคำพูดที่น่าสนใจว่าเป็นตัวเขาเองเขาก็ไม่ตรวจเหตุผลเพราะเขาอายและเขาก็คิดเช่นดียวกันว่าเพราะความอายนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การรณรงค์ ตรวจมะเร็งปากมดลูกหรือการทำแป็บสเมียร์ไม่ค่อยได้ผลทั้งๆที่มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่น่ากลัวหากแต่พบได้ในระยะแรกๆก็สามารถรักษาให้หายได้ตามที่วิทยาการของความรู้เอ่ยอ้างไว้ ซึ่งวิธีการที่ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่มากที่สามารถจะตรวจในเบื้องต้นได้ก็คือการทำแป็บสเมียร์

จากที่ผ่านมาจากประสบการณ์การทำงานในศูนย์สุขภาพชุมชนประมาณ ปีกว่าๆ ในปีที่ผ่านมาทำเช่นกันค่ะโครงการตรวจมะเร็งปากมดลูกเอารายชื่อกลุ่มเป้าหมายมาจากโปรแกรมข้อมูลพื้นฐานประสานงานอสม.แจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบ เหมือนจะไปได้ดีค่ะสุดท้ายเราก็ตกเกณฑ์ซึ่งตัวดิฉันเองไม่ได้เครียดมากมายนักนะค่ะเรื่องเกณฑ์แต่ไม่เข้าใจแค่นั้นเองว่าทำไมหนอทำไม ถึงได้มาตรวจกันน้อยมาก ไม่ใช่ไม่เคยอ่านนะค่ะจำพวกงานวิจัยที่หลายท่านอาจทำเพราะสงสัยในปรากฏการณ์ดังกลาวเช่นกันว่าเหตุอะไร ปัจจัยใดที่ทำให้มาตรวจแป็บสเมียร์กันน้อย  ก็ทราบค่ะแล้วทราบปัจจัยแล้วอย่างไรละค่ะ  ดิฉันจะเอาวิธีการใดและแบบไหนไปทำให้ได้ผล ความอึดอัดใจสะสมมาเรื่อยๆจนถึงวันที่ต้องเขียนโครงการคงไม่ใช่เขียนค่ะแก้โครงการเพื่อหาวิธีการมากกว่าจากปีที่ผ่านมาดิฉันได้ข้อสังเกตจากการทำโครงการดังกล่าวในหลายประเด็นค่ะ

1) มีประชาชนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลที่ดิฉันรับผิดชอบนี้แหละค่ะมากตรวจแป็บสเมียร์กันมากเลยค่ะทั้งที่อายุไม่ถึงเกณฑ์และเกินเกณฑ์ไปมากๆแล้ว  เหตุผลเพราะอะไรทราบไหมค่ะเนื่องเพราะมีคุณน้าท่านหนึ่งในหมู่บ้านดังกล่าวเสียชีวิตลงเพราะป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกค่ะ

2)จากการพูดคุยกับพี่ป้าน้าอาในกลุ่มที่มาตรวจก็ถามนะค่ะว่าทำไมถึงกล้ามาตรวจได้หลายๆเหตุผลค่ะหลักๆเลยคือกลัวค่ะกลัวเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือพูดง่ายๆมากกว่านั้น"คือกลัวตาย เลยไม่อายถึงหมอจะเห็นก็คงเอาไปไม่ได้" (ขออธิบายนิดนะค่ะหมอในที่นี้คือพวกดิฉันพยาบาลนี้แหละค่ะคนในภาคอีสานของดิฉันมีวัฒนธรรมของการให้เกียติสูงมากๆ เพราะเท่าที่สังเกต ไม่ว่าใครๆที่ทำงานในโรงพยาบาลก็จะมีคำนำหน้าว่าหมอทั้งนั้น เช่นถ้าเป็นพี่เจ้าหน้าที่แม่ครัวก็จะถูกเรียกว่าหมอทำกับข้าว   พี่เจ้าหน้าที่เวรเปลก็จะถูกเรียกว่าหมอเข็นเปล  พยาบาลอย่างพวกดิฉันจะถูกเรียกว่าหมอน้อย ส่วนนายแพทย์ก็จะถูกเรียกว่าหมอใหญ่ค่ะ )

3) อายจึงไม่มาตรวจนี้คือเหตุผลของกลุ่มที่ไม่มาตรวจ

ดิฉันสามารถเก็บประเด็นเล็กน้อยๆดังกล่าวจากการไม่ประสบความสำเร็จจากปีที่แล้วได้ดังนั้น  กระนั้นดิฉันก็ยังไม่กระจ่างแก่ใจค่ะจึงถามอีกนอกจากถามพี่ที่สร้างความท้อใจให้แล้วจึงย้ายไปถามแม่ อันนี้สร้างกำลังใจให้ค่ะว่าแม่ตรวจมะเร็งปากมดลูกไหม แม่ตอบเลยตรวจ แม่ตรวจทุกปี ดิฉันถามต่อทันทีค่ะแล้วไม่อายเหรอ แม่บอกว่าไม่อาย ไม่อายเพราะแม่บอกว่าแม่มีลูกมีเต้าแล้วตอนคลอดแม่ก็ต้องแสดงท่าทางคล้ายกับตอนตรวจแป็บสเมียร์  ยอมรับเลยค่ะว่าไม่รู้จะทำอย่างไรดีแต่ก็จะทำนะค่ะจะทำอย่างที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ค่ะ

ดิฉันตัดสินใจแล้วและเขียนไปแล้วว่าจะทำโครงการ"แป็บสเมียร์ ดิลิเวอรรี่ ". (pap smear  delivery) โครงการนี้ดิฉันขอออกตัวไว้ก่อนค่ะไม่ได้เริ่มคิดจากการเอาปรัชญาใดๆตั้งต้นค่ะรู้แต่ว่าเมื่อชาวบ้านไม่มาตรวจเราก็จะไปรอตรวจให้ถึงที่บ้าน  ไปบอกเล่าถึงพิษภัยและความรุนแรงให้ถึงที่บ้านหวังเอาไว้ค่ะว่าคนในครอบครัวของพี่ป้าน้าอาผู้หญิงกลุ่มเหมายจะมาร่วมฟังและจะได้ร่วมผลักและดันให้มาตรวจเพิ่มมากขึ้นไปอีก  ไม่ได้คิดแบบรอบด้านด้วยค่ะว่ามันเพราะสังคมวัฒนธรรมหรือการหลอ่หลอมจะมีผลหรือไม่มีผล อุปสรรคและปัญหาจะแก้กันที่ในหมู่บ้านเลยค่ะ   ส่วนผลจะเป็นอย่างไรดิฉันไม่พลาดแน่ๆค่ะที่จะกลับมาบันทึกเก็บเอาไว้อ่านในโอกาสต่อไป  งานนี้  dare to fail ค่ะ

ปล.หากท่านใดที่พอจะแนะหรือบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของโครงการคุมกำเนิดที่รณรงค์ให้มีลูก 2 คนได้บ้างแนะนำให้ด้วยจะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะค่ะซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นโครงการเดียวกับโครงการมีชัยหรือไม่เพราะออกหมู่บ้านแล้วยังเห็นแผ่นป้ายรณรงค์ให้มี ลูก 2 คน เข้าใจว่าคงนานมากแล้วเพราะแผ่นป้ายทำด้วยแผ่นป้ายรณรงค์ทำด้วยเหล็กเลยนะค่ะไม่เห็นในสมัยปัจจุบันนี้แล้ว เห็นว่าประสบความสำเร็จเลยอยากรู้ค่ะว่าโครงการดังกล่าวทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จค่ะ

ส่งมาได้นะค่ะที่  [email protected] ค่ะ  หรือร่วมแสดงความคิดเห็นก็ได้ค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26545เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2013 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
เห็นถามบ่อยๆคิดว่าจะทำอะไร น่าสนใจนะลองทำดูพี่เอาใจช่วย
 โครงการที่จะทำน่าสนใจนะ เขาไม่มาหาเรา เราก็ไปหาเขา ลองดู แต่คงต้องถามชาวบ้านว่าเขาคิดอย่างไรด้วยค่ะ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ  ที่ช่วยต่อยอดความคิดค่ะทำแล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไรจะเรียนให้ได้ทราบอีกค่ะ

ขอให้โชคดีคะ ตอนนี้ก็กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกอยู่เหมือนกันคะ แต่เรียนคณะศิลปกรรมสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนะคะ 555งงอาดิว่าเรียนศิลแล้วมาทามวิจัยมะเร็งทามมัย ความรู้ไม่มีขีดจำกัดคณะหรือสาขาคะ ยังไงก็เมลมาหรือแอดเมลมาคุยกันได้นะคะ

 ขอบพระคุณทุกความคิดเห็นค่ะ คุณ aom'z ด้วยค่ะแปลกใจอย่างที่คุณว่าหากแต่ก็น่าสนใจนะค่ะมีอะไรช่วยแนะนำได้ค่ะ นี้คือเสน่ห์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยากทราบเช่นกันค่ะว่าในมุมมองของศาสตร์ด้านดังกล่าวเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับมะเร็งปากมดลูกอย่างไรค่ะ หากกรุณาดิฉันก็อยากทราบค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

[email protected]

ดีใจมากค่ะที่พบคนที่เข้ามาทำงานด้านนี้เหมือนกัน

  • เพราะว่าดิฉันทำงานควบคุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกในหน่วยบริการปฐมภูมิ(ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกมา)ตั้งแต่ปี 2547
  • ดิฉันรับผิดชอบการทำงานของ ศสช. 25 แห่งค่ะ และแต่ละแห่งมีกลวิธีในการชักชวนสตรีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามบริบทพื้นที่ เช่น การตรวจpap smear แบบเคลื่อนที่,การให้ของรางวัล,การรวมพื้นที่ และการนำพลังชุมชนเข้ามาช่วยซึ่งได้ผลดีที่สุด
  • ยินดีมากถ้าจะได้แลกเปลี่ยนกันค่ะ
บังอร ไค่นุ่นสิงห์

สนใจทำงานวิจัยเรื่องนี้เช่นกันค่ะ แนะนำหน่อยนะคะ

สู้ๆๆนะค่ะ เพราะว่ามีปัญหาเช่นเดียวกัน รายที่เคยมีญาติหรือได้ข่าวคนป่วยจะชวนง่าย รายที่ไม่ก็คือไม่ บางที่ก็ท้อคิดเลยไปโน่นว่าทำไม กระทรวงสาธารณสุข ไม่ออกระเบียบเช่นเดียวกัยการคลอดบุตรคือมีลูกไม่ให้เกิน 2 คน อะไรทำนองเนี้ย มาใช้กับโรคมะเร็งปากมดลุกบาง คือถ้าไม่มาตรวจเวลาป่วยจะต้องเสียเงินค่ารักษาเต็มราคา บัตรทองไม่ครอบคลุม (ว่าไป555) เป้าปีนี้ 30 ปีขึ้นไป ตายแน่ๆๆๆๆ ยังไงเป็นกำลังใจซึ่งกับและกันแนอะ(ขอโทษค่ะวันนี้ไม่ได้ login)

ตอนนี้กำลังเร่งทำเป้าอยู่ค่ะ เค้าเอามาเป็นตัวชี้วัดผลงานแล้วก็จะประเมินในเดือนมกรา 53 แล้วทำไงให้ได้ดีคะ ใครมีเคล็ดดีๆ ช่วยบอกหน่อย ประชากรในกลุ่ม 1700 คนแน่ะ เบื่อมากอยากลาออกหรือไม่ก็ย้ายไปอยู่โรงพยาบาลดีกว่ามั้งคะ เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเคยร่วมกับม.มหิดลทำวิจัยโดยเป็นกลุ่มทดลองสร้างแกนนำมะเร็งปากมดลูก ช่วงนั้นที่รณรงค์ก็มีคนมาตรวจมากกว่าปกติเท่านั้นแหละค่ะ หลังจากนั้นก็เหมือนเดิมทุกวันนี้ตามอย่างไรก็ไม่มาค่ะ หมดปัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท