ประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้อบรมGISครูภูมิศาสตร์


อบรมGISครูภูมิศาสตร์

ในระหว่างการฝึกอบรม GIS ให้สำหรับครูภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ที่มาจากทั่วประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดของห้องเรียนจึงรับได้เพียง 50 ท่าน ที่จะต้องนำไปสอนให้กับนักเรียน คุณครูหลายท่านเพิ่งใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ทำให้คุณครูก็เกร็งๆ ไปบ้าง


ผู้เป็นวิทยากรต้องคอยผ่อนคลาย ให้คุณครูรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุ่งยาก สำหรับการใช้โปรแกรมและฐานข้อมูล ซึ่งบางท่านต้องเรียนรู้พื้นฐานเบื้องต้น การใช้คอมพิวเตอร์

ทำให้เรานึกคิดเลยเตลิดไปว่า หน่วยงานหรือภาควิชาฯ บางแห่ง อาจจำเป็นต้องช่วยกัน แก้ไขความเหลื่อมล้ำทางความรู้ด้าน IT ให้กับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้ความรู้ของสังคมไทย ก้าวไปข้างหน้า และให้คิดไปว่า ตอนนี้เราก็ทำดีที่สุดแล้ว

วิทยากรก็ต้องให้คุณครูเรียนลัด คำสั่งพื้นฐาน ตั้งแต่เปิดเครื่อง การเปิดโปรแกรมด้วยการคลิก icon แล้วกดปุ่ม Enter เพราะอาจารย์บางท่านไม่เข้าใจ double click พยายามให้กำลังใจว่าไม่สิ่งที่ยากเลย

(แนะนำวิธีการฝึกฝนใช้เมาส์ด้วย เกมส์ Minesweeper จะทำให้คลิก และดับเบิ้ลคลิก เป็น)
และวิธีการ Drag & Drop เพื่อใช้ควบคุมชั้นข้อมูลแผนที่บนโปรแกรม QGIS

ในวันแรก คุณครูก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ทำให้คุณครูเรียนรู้การสร้างแผนที่  GIS ด้วยโปรแกรม QGIS
* เรียนรู้ทฤษฎีของระบบภูมิสารสนเทศ Geo-Informatics, รีโมทเซนซิง, จีพีเอส และจีไอเอส
* ติดตั้งโปรแกรม QGIS ได้
* เปิดฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรีโมทเซนซิง เช่น LANDSAT, IKONOS เป็น
* สามารถทดลองแต่งภาพแผนที่ ที่เรียกว่า ทำภาพสีผสม Color Composite ได้ตามทฤษฎี Spectral Signature
* เรีียนรู้การทำภาพสีผสม Red Green Blue ตามช่วงคลื่นต่างๆ ของ Landsat
* ส่งออกภาพแผนที่เป็นไฟล์ภาพ JPG เพื่อนำไปจัดพิมพ์ได้ 


เมื่อคุณครูผ่านวันแรกไปได้ ก็สามารถฟันฝ่าเข้าสู่วันที่สองของการเรียนรู้
* เรียนรู้ทฤษฎีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS
* เปิดฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และภาพแรสเตอร์
* เปิดฐานข้อมูลเวกเตอร์ขึ้นมา ทั้งข้อมูลระดับโลก ทวีปต่างๆ มาแสดงผลในโปรแกรม
* ตกแต่งแผนที่สัญลักษณ์สีหรือขาวดำ และตัวอักษรต่างๆ เพื่อจัดพิมพ์เป็นภาพ หรือนำไปประกอบในแบบฝึกหัดข้อสอบได้



โดยในขั้นตอนนี้ใช้เวลามากสำหรับคุณครูบางท่านที่ต้องพยายามจดจำ เรียนรู้ และทำตามขั้นตอนที่วิทยากรที่ต้องสอนไปอย่างช้าๆ เพื่อให้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน หากไปเร็วบางท่่านก็ไม่ทัน หากไปช้าท่านที่ทำได้ก็จะเบื่อ แต่วิทยากรต้องหาฐานข้อมูลอื่นๆ ให้ท่านที่ไปได้เร็วฝึกฝนเพิ่มเติมในระหว่างรอท่านอื่่นๆ ที่กำลังลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ GIS software

เมื่อผ่านด่่านหิน ของการใช้โปรแกรมเพื่อจัดทำแผนที่ทวีปต่างๆ เพื่อใช้สอนนักเรียนได้
ก็มาพบกับด่านต่อไปคือ

* การเรียกใช้ฐานข้อมูลระดับโลกออน์ไลน์ของ NASA เพื่อนำมาประกอบในแผนที่ และจัดพิมพ์ส่งออกเป็นภาพไว้สอนนักเรียนต่อไป เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม landsat ทั้งโลก ภาพระดับความสูงเชิงเลข SRTM และภาพถ่ายดาวเทียม MODIS ทั้งโลก

แล้ววันที่สองก็จบลง คุณครูทุกท่านก็มีความสุขกับ "ความพยายาม" ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน (แต่ยังไม่รู้ความในใจของครูว่าคิดอย่างไร? อันนี้ต้องรอวันสุดท้ายของการประเมิน)
และได้รูปภาพแผนที่ติดไม้ติดมือไปใช้งานสำหรับสอนนักเรียน ได้โปรแกรม QGIS (ซึ่งมี download จากเว็บไซต์)  และสุดท้ายก็มีฐานข้อมูลโลก ทวีป ประเทศต่างๆ ในโลกไปใช้งานต่อไป


สำหรับวันที่สาม ก็ได้เรียนรู้ในการใช้ QGIS ต่อจากเมื่อวาน
* เปิดฐานข้อมูลประเทศไทย มาตราส่วน 1:250,000 เพื่อเรียนรู้ฐานข้อมูลของไทย
* ครูต้องศึกษาการแต่งสัญลักษณ์ และสีอักษร
* เรียนรู้ข้อมูลจุด เส้น และพื้นที่ ของฐานข้อมูล GIS
* จากนั้นก็แลกเปลี่ยนกับคุณครูในเรื่องของเส้นโครงแผนที่ (Projection)  หมุดหลักฐานอ้างอิง (Datum)  และโซน (Zone)
* ทดลองปฏิบัติการ กำหนดโปรเจกชั่น ให้กับฐานข้อมูล GIS ของไทย และฐานข้อมูล GIS โลก
* ทำการทดลองตามทฤษฎีโปรเจกชั่นในแต่ละรูปแบบเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งพิกัดแผนที่ประเทศไทย ในรูปแบบ Projected Coordinate System ให้ไปอยู่ในรูปแบบ Geographic Coordinate System
* จากนั้นก็ทำการตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่

สำหรับวันนี้ครูก็ได้ปฏิบัติบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าใจในเรื่องของ Projection / Datum / Zone มากขึ้นไปอีก จากที่เคยศึกษาในอดีต เพราะปัจจุบัน ระบบโปรแกรมจีไอเอส ช่วยทำให้แนวคิดภาคทฤษฎี ได้นำไปสู่กระบวนการภาคปฏิบัติ ทำให้เห็นภาพ

การเห็นภาพ จากการได้ลงมือทำ มันทำให้เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นไปอีก

ในช่วงบ่ายของวันที่สาม คุณครูก็จะได้เรียนรู้ในเรื่องของแผนที่ 1:50,000 ของประเทศไทย
* กรณีศึกษาจังหวัดเลย โดยเปิดฐานข้อมูลจุดที่ตั้งหมู่บ้าน / เส้นชั้นความสูง / ขอบเขตการปกครองอำเภอ
* เปิดฐานข้อมูลแรสเตอร์ ได้แก่ ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat / hillshade แสงเงา
* ทบทวนและเรียนรู้การแสดงผลสัญลักษณ์ และสีอักษร อีกครั้ง
* ทบทวนการควบคุมแผนที่จังหวัดเลย


ในวันที่สี่ เป็นการตรึงพิกัดภาพถ่ายจากดาวเทียมที่บันทึกมาจากโปรแกรม google earth เพื่อจัดเตรียมเป็นแผนที่ฐาน ไว้สำหรับปฏิบัติการให้ครูได้ ศึกษาการนำเข้าเป็นแผนที่จุด เส้น และพื้นที่ ที่เรานิยมเรียกว่า point line polygon นั่นเอง เมื่อครูนำเข้าแผนที่จุด เส้น และพื้นที่ได้ ก็ได้ให้แนวทางการนำไปประยุกต์ทำแผนที่โรงเรียน และรอบโรงเรียนของครูเอง เพื่อที่จะเรียนรู้ รีโมทเซนซิง (Remote Sensing) และจีไอเอส (GIS) ได้  ดังนั้นวันนี้ครูก็ได้เทคนิคการใช้ QGIS สำหรับ
* การตรึงพิกัดภาพถ่ายจากดาวเทียมที่บันทึกมาจากโปรแกรม Google Earth
* การสร้างแผนที่จีไอเอส จุด โดยประยุกต์นำค่าพิกัดที่อ่านได้จาก GPS เข้าสู่ระบบ GIS
* การสร้างแผนที่จีไอเอส โดย ดิจิไทซ์ สร้างจุดในระบบ GIS โดยใช้ ภาพถ่ายจากดาวเทียมมาเป็นแผนที่ฐาน


ในวันที่ห้า เป็นการเป็นการทำทวนให้ครูได้เรียนรู้ต่อยอดจากเมื่อวาน

* การสร้างแผนที่จีไอเอส แบบลายเส้น Line โดยสร้างเส้นถนน บนโปรแกรม QGIS และหาค่าความยาวของเส้น
* การสร้างแผนที่จีไอเอส แบบพื้นที่ polygon โดยสร้างแผนที่ landuse
* การสร้างแผนที่จีไอเอส แบบพื้นที่ polygon โดยสร้างแผนที่ อาคาร building จากภาพ
แล้วดูขนาดของพื้นที่ที่นำเข้าสู่ระบบจีไอเอส

ช่วงบ่ายวันสุดท้าย ครูได้เรียนรู้พื้นฐาน การใช้งานโปรแกรม Google Map / Google Earth เบื้องต้น
* การใช้งาน Google Map ระบุตำแหน่งต่างๆ ของสถานที่สำคัญในไทย และโรงเรียนของบ้าน
* การวิเคราะห์ตำแหน่งเส้นทางจากจุด A โรงเรียน ไปยัง จุด B มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* การวิเคราะห์ตำแหน่งการเคลื่อนที่จากจุด A ไปยัง จุด B และจุด C

* การใช้งาน Google Earth โดยการค้นหาตำแหน่งสถานที่สำคัญในโลก และในไทย
* วิเคราะห์ตำแหน่งเส้นทางจากจุด A ไปยัง จุด B
* การแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ
* การแสดงการเคลื่อนที่ animation บน Google Earth

* และปิดงาน มอบวุฒิบัตร ให้กับครูที่มาเข้าร่วมอบรมครบ 80% ในครั้งนี้


ความคาดหวังว่า ไม่นานนี้คุณครูภูมิศาสตร์ที่ต้องสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จะทำให้นักเรียนสนุกไปกับการเรียนรู้บนเทคโนโลยีที่น่าใช้ สำหรับการค้นหาข้อมูลต่อไป

หมายเลขบันทึก: 265371เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มาให้กำลังใจคุณครูและอาจารย์ครับ
  • มีหลายท่านมากๆๆที่ใช้ไม่ได้
  • แต่โชคดีมาก
  • ที่ได้ฝึกกับอาจารย์
  • ดีจังเลยครับ
ขวัญชัย เพ็งโตวงษ์

อบรมเรื่อง GIS อีกเมื่อไรผมขออนุญาตส่งข่าวขอให้ผมได้เข้าอบรมด้วยนะครับ

นายขวัญชัย เพ็งโตวงษ์

ที่อยู่ 9 หมู่ 9 กองการศึกษา เทศบาลตำบลซับสมอทอด

อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ 67160 โทร 056-731-742 ต่อ 21

มือถือ 08 - 5522 - 2236 , 08- 7313 - 3381

ในการประยุกต์ใช้สำหรับงานสำรวจพื้นที่ชุมชน โดยให้เด็กเยาวชน ออกสำรวจพื้นที่ ก็อาจจะพอทำได้ในระดับหนึ่ง

ถ้ามี GPS ด้วยยิ่งมีความถูกต้องสูงในเชิงพิกัด x,y ภูมิศาสตร์ เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ปลอดยาเสพติด หรือติดตามแหล่งสถานบันเทิง รอบๆ ชุมชน

แต่ถ้าไม่มี GPS อาจจะต้องค้นหาจากเว็บไซต์ที่มีภาพดาวเทียมสนับสนุน และบันทึกค่าพิกัดมา ก็อาจจะพอใช้ได้ครับ

แต่ถ้าจะเข้าใจมากขึ้น ต้องเข้าฝึกอบรม เพราะอย่างนี้บางที อ่านตำรา จะไม่ลัดเท่ากับ การเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรมจะเร็วกว่า แล้วค่อยศึกษาเพิ่มเติม

ไว้มีโอกาสจะส่งข่าวสารไปนะครับ

อบรมเรื่อง GIS อีกเมื่อไร ผมขออนุญาตอาจารย์ช่วยส่งข่าวเรื่องการอบรมด้วยนะครับ

จะได้นำความรู้มาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหา

สถานที่

จ.ส.ต.บุญชวน ชูช่วย

ฝ่ายการข่าว กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร

ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

มือถือ 08 - 4059 - 8032

ประสบการณ์เกิดจากการเรียนรู้และการปฏิบัติจริง

แต่ยังเรียนรู้และปฏิบัติได้ในโลกแคบ ๆ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับที่นำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ผู้สนใจอย่างผมได้เรียนรู้

ขอชื่นชมอาจารย์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆให้กับวงการนี้ครับ ผมก็เป็นคนนึงที่ได้แรงบันดาลใจจากGIS2MEของอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท