โครงการ เข้าใจเอดส์ เข้าใจกัน สัญจร (AIDS Education Mobile Service (AEMS))


สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน จึงได้พัฒนาโครงการ เข้าใจเอดส์ เข้าใจกัน สัญจร (AIDS Education Mobile Service (AEMS)) ขึ้น เพื่อสนับสนุนการทำงานที่ทำอยู่เดิมในพื้นที่ เน้นการทำงานนอกเวลาราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการนำถุงยางอนามัยเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ในการพูดคุย และนำไปสู่การชักชวนการสร้างกลุ่มสนทนากลุ่มย่อยในพื้นที่ และพัฒนาไปสู่การสร้างแกนนำในพื้นที่เพื่อเป็นอาสาสมัครในการให้ความรู้และเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพเพศของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

โครงการ   เข้าใจเอดส์ เข้าใจกัน สัญจร (AIDS Education Mobile Service (AEMS))

    หลักการและเหตุผล

                โรคเอดส์เป็นปัญหาการสาธารณสุขที่สำคัญส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิตของประชากรทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมซึ่งจะพบปัญหาและผลกระทบเรื่องโรคเอดส์มากขึ้น  กล่าวคือ  จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่สะสมมาแต่อดีตได้แสดงอาการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มจำนวนมากขึ้น  จึงส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อสมาชิกครอบครัว  ชุมชนและสังคม  รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังมีความน่าเป็นห่วงคือ  การแพร่ระบาดเข้าสู่ระบบครอบครัว  โดยกลุ่มพ่อบ้านสู่แม่บ้านถึงเด็กทารกอย่างครบวงจรซึ่งเกิดจากโอกาสหรือทางเลือกของแม่บ้านเป็นผู้รับเชื้อเอดส์จากสามีอย่างไม่มีสิทธิหรือโอกาสปฏิเสธต่อรองจากการมีเพศสัมพันธ์กับสามี  และแนวโน้มการแพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทางด้านร่างกาย  จิตใจและอารมณ์  ประกอบกับสิ่งเร้าหรือแฟชั่นจากค่านิยมนำสมัยตามวัฒนธรรมต่างชาติจากสื่อลามก  ยั่วยุอารมณ์  จึงเกิดพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมกับวัยคือ  การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  การแสดงความรักต่อกันในที่สาธารณะมีเพศสัมพันธ์ตามความพอใจและไม่ป้องกันซึ่งมักจะพบการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้งเพิ่มขึ้นมีให้เห็นทั้งทางตรงและจากสื่อต่างๆ ในสถานการณ์ปัจจุบัน จากความรุนแรงของปัญหาและพฤติกรรมของประชาชนดังกล่าว  แม้ว่าจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องโรคเอดส์  ซึ่งสามารถบรรเทาปัญหาได้ในระดับที่พึ่งพอใจคือ  อัตราการติดเชื้อรายใหม่ลดลง มีมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เกิดองค์กรและเครือข่ายต่างๆ ทำงานด้านโรคเอดส์และยาเสพติดหลายหน่วยงาน แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมกับสถานการณ์ปัจจุบันความรุนแรงและผลกระทบที่เกิด

จากการทำงานในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑลของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน และองค์กรอื่น ๆ ในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ เครือข่ายพนักงานบริการด้านเอดส์ , ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 กรุงเทพมหานคร พบว่า มีเด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิงเป็นจำนวนมากเริ่มเข้ามาสู่กระบวนการค้าบริการทางเพศเพิ่มมากขึ้น จากการเก็บข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการพบว่ามีแนวโน้มการเพิ่มจำนวนของเด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิงที่จะเข้าสู่อาชีพค้าบริการทางเพศมากขึ้น และยังพบอีกว่าผู้ประกอบอาชีพค้าบริการทั้งชายและหญิงในพื้นที่ ยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ การป้องกันตัวเองจาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ และการดูแลรักษาสุขภาพเพศของตนเองไม่ถูกต้องเหมาะสม และมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อโรคร้าย และ แพร่ระบาดไปสู่คนอื่นได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญคือ การขาดการดูแลสุขภาพเพศของตนเองทำให้มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างง่ายดาย ที่นอกเหนือจากโรคเอดส์ เช่น หูดหงอนไก่ เริม แผลริมอ่อน และอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ แม้ว่าจะมีการออกหน่วยตรวจสุขภาพและตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจหาเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อื่น ๆ แล้วก็ตาม แต่การลงให้ความรู้ดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมเนื่องมาจากข้อจำกัดในการทำงานที่ส่วนใหญ่เป็นกาทำงานนอกเวลาราชการ สืบเนื่องมาจากเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายที่ เริ่มทำงาน ในช่วงหลังเวลาราชการคือตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 24.00 น.   ทำให้กลุ่มเป้าหมายขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากการเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

                สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน จึงได้พัฒนาโครงการ เข้าใจเอดส์ เข้าใจกัน สัญจร (AIDS Education Mobile Service (AEMS)) ขึ้น เพื่อสนับสนุนการทำงานที่ทำอยู่เดิมในพื้นที่ เน้นการทำงานนอกเวลาราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการนำถุงยางอนามัยเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ในการพูดคุย และนำไปสู่การชักชวนการสร้างกลุ่มสนทนากลุ่มย่อยในพื้นที่ และพัฒนาไปสู่การสร้างแกนนำในพื้นที่เพื่อเป็นอาสาสมัครในการให้ความรู้และเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพเพศของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่  โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

           วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.             เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มผู้ค้าบริการในบริเวณสนามหลวงและปริมณฑล

2.             เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในการแสดงความรับผิดชอบแก่สังคมในการไม่แพร่เชื้อ HIV ไปสู่บุคคลอื่นในกรณีที่พบว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ

3.             เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง และการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อHIVได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

4.             เพื่อสร้างแกนนำในการให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาตัวเองและ แนะนำสถานพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้ค้าบริการในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล

            กลุ่มเป้าหมาย

1.             ผู้ให้บริการทั้งชายและหญิงในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑลจำนวนประมาณ 1,000 คน

2.             อาสาสมัครผู้สนใจทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร จำนวนประมาณ 100 คน

3.             แกนนำโครงการส่งเสริมการเข้าถึงรับสวัสดิการ   100   คน

4.             หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  100   คน

รวมทั้งสิ้น   1,300   คน

            กิจกรรมของโครงการ

1.              ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้างทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อ ขอความร่วมมือและ กำหนดบทบาทในการประสานงานสนับสนุนโครงการ ได้แก่  เครือข่ายพนักงานบริการด้านเอดส์,ศูนย์สาธารณสุข 9 กรุงเทพมหานคร ,สถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่  

2.             สำรวจพื้นที่และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินโครงการเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินโครงการภาคสนาม

3.             จัดกิจกรรมรถโมบายในระดับพื้นที่ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และแจกถุงยางอนามัย สารหล่อลื่น พร้อมกับค้นหาแกนนำในระดับพื้นที่

4.             จัดการอบรมแกนนำในระดับพื้นที่ด้วยหลักสูตรระยะสั้น 2- 3 ครั้งต่อเดือน เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และการให้คำปรึกษา การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

5.             สนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้โดยแกนนำ นำความรู้และทักษะที่ได้รับการอบรมนำไปใช้จริงในพื้นที่ และติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ

6.             ประชุมสรุปบทเรียน การดำเนินโครงการ ทุก ๆ 3 เดือนเพื่อปรับปรุงรูปแบบการรณรงค์ในสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพปัญหา

7.             ประชุมสรุปบทเรียนหลังเสร็จสิ้นโครงการ

           วิธีการดำเนินงานตามโครงการ

1.             ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

        2.สำรวจพื้นที่และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินโครงการ

        3.จัดอบรมอาสาสมัคร

        4. จัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อยในระดับพื้นที่

        5. จัดอบรมแกนนำในระดับพื้นที่ด้วยหลักสูตรระยะสั้น

        6. สนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้โดยแกนนำ

       7. ประชุมสรุปบทเรียน การดำเนินโครงการ ทุก ๆ 3 เดือน

  สถานที่ตั้งโครงการ

        สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน   50/357   หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า 2    ถนนนิมิตใหม่   แขวงมีนบุรี   เขตมีนบุรี  กรุงเทพมหานคร   10510   โทรศัพท์ / โทรสาร   02-914-5146

  พื้นที่ดำเนินงานตามโครงการ

                บริเวณ สนามหลวง และปริมณฑล อันได้แก่ สวนสราญรมย์ ,คลองหลอด ,ศาลหลักเมือง  ,ถนนราชดำเนิน ,ตรอกสาเก ,วงเวียนใหญ่

 

        ระยะเวลาดำเนินงาน

มิถุนายน 2552  พฤษภาคม   2553

        ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายนที   สรวารี    สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน   50/357   หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า 2    ถนนนิมิตใหม่   แขวงมีนบุรี   เขตมีนบุรี  กรุงเทพมหานคร   10510   โทรศัพท์ / โทรสาร   02-914-5146  มือถือ   086-687-0902

  อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ใช้ปฏิบัติงานตามโครงการ

1.นายนที     สรวารี    ผู้ประสานงานโครงการ                  การศึกษา            ศิลปศาสตร์บัณฑิต (การพัฒนาชุมชน)

2.นายพชร   โชติบุญ                 เจ้าหน้าที่โครงการ            การศึกษา               นิติศาสตร์บัณฑิต

3.นายธีรยุทร   เผ่าแสงนิล       เจ้าหน้าที่โครงการ              การศึกษา               นิติศาสตร์บัณฑิต

4.นายสำเริง สิงห์ผงาด             เจ้าหน้าที่โครงการ              การศึกษา               ศิลปศาสตร์บัณฑิต  

5.นางสาวอัจฉรา อุดมศิลป์      เจ้าหน้าที่โครงการ              การศึกษา               สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต

    การประเมินผล

                1.   แกนนำและคนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   สามารถอยู่ร่วมสังคมกับผู้ติดเชื้อ   HIV   ได้อย่างปกติสุข

                2.   ผู้ติดเชื้อสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง รู้และเข้าถึงสถานพยาบาลเบื้องต้นได้

                3.   ผู้ติดเชื้อ HIV เกิดการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม   ไม่แพร่เชื้อไปสู่บุคลอื่นในกรณีที่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.             กลุ่มเป้าหมายมีความรู้    ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มผู้ให้บริการในบริเวณสนามหลวงและปริมณฑล

2.             กลุ่มเป้าหมายตระหนักในการแสดงความรับผิดชอบแก่สังคมในการไม่แพร่เชื้อ HIV ไปสู่บุคคลอื่นในกรณีที่พบว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ

3.             กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง และการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อHIVได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

4.             เกิดแกนนำในการให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาตัวเองและ แนะนำสถานพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้ค้าบริการในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล

 

 

            ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

 

กิจกรรมโมบาย สัญจรให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และแจกถุงยางอนามัย

-                   ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่ 3 คน ๆ ละ 500 บาท x 120 ครั้ง/ปี    180,000 บาท

-                   ค่าพาหนะสำหรับลงพื้นที่(น้ำมันรถโมบาย) ครั้งละ 300 บาท x 120 ครั้ง/ปี  36,000 บาท

-                   ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับลงพื้นที่ ครั้งละ 300 บาท x 120 ครั้ง/ปี                      36,000  บาท

-                   ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งละ 300 บาท x 120 ครั้ง/ปี          36,000  บาท

-                   ค่าประสานงานตลอดปี 900 บาท x  12 เดือน                                                10,800  บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น                                                                                   298,800  บาท    

                           (สองแสนเก้าหมื่นแปดพันแปดร้อยบาทถ้วน)

เฉลี่ย ครั้งละ 2,490 บาท

 สามารถช่วยเหลือสนับสนุนได้
ผู้มีความประสงค์จะสนับสนุนกิจกรรมในครงการนี้ ของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน สามารถทำได้ โดยการ
โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์

ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาปิ่นเกล้า

ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขที่บัญชี 031 - 0 - 03432 -9

หรือบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขา ปิ่นเกล้า

ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขที่บัญชี 706 - 2- 33411 -2

บัญชีเงินฝาก สะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขา มีนบุรี

ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขที่บัญชี 145 - 5 -24762 -5

ทุนที่คุณสนับสนุนเราเพียงคนละไม่มาก แต่ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อคนด้อยโอกาสได้จำนวนไม่น้อย อยู่ที่คุณกล้าที่จะให้เพื่อคนด้อยโอกาสหรือไม่เท่านั้น

สำนักเลขาธิการ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณ ประโยชน์)
50/357 หมู่บ้านพนาสนธิ์ 2 ถนนนิมิตใหม่
แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2914 5146
ประสานงาน 086 608 9151, 086 628 2817

www.issarachon.com/
http://nainoname.hi5.com

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 265343เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 01:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท