มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

การจดบันทึกและการจัดเก็บสารเคมีตามระบบคุณภาพ GAP


วิธีการส่งเสริม/สนับสนุนให้เกษตรกรมีการจดบันทึกและมีการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP

          สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืช ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน มาตั้งแต่ ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรที่ผ่านการประเมินความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพ GAP แล้ว 7,991 ราย แต่มีเกษตรกรที่ได้ใบรับรอง GAP พืชแล้วเพียง 3,231 แปลง

          ในกระบวนการผลิตพืชให้ปลอดภัยและได้มาตรฐานตามระบบ GAP พืช นั้น มีหลักปฏิบัติสำคัญ 8 ข้อ ที่เกษตรกรต้องปฏิบัติและผ่านการประเมิน จึงจะได้ใบรับรอง Q GAP พืชจากกรมวิชาการเกษตร ดังนี้

1.      แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องไม่มีการปนเปื้อนสิ่งที่

เป็นอันตราย

2.  พื้นที่ปลูกที่ไม่มีความเสี่ยงจากสารพิษที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อน

ในผลิตผล

3.      การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม

4.  การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลในฟาร์มต้องสะอาด ปราศจากสาร

ปนเปื้อน

5.      การบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายและกระบวนการผลิต

6.  ผลิตผลปลอดภัยจากศัตรูพืช

7.      การจัดการกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ

8.  การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานดยมองถึงสิ่งที่เป็นปัญหาก่อน แล้วนำสิ่งที่ได้พบมาเปรียบเทียบในสิ่งที่เคยทำกับสิ่งที่ควรทำ และพบว่าที่ผ่านมาปัญหาสำคัญที่เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติได้ตามระบบ GAP พืช คือ ารจดบันทึกและการเก็บสารเคมีึ่เป็นส่วนหนึ่งในข้อกำหนดเรื่องการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร โดยได้องค์ความรู้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามในเรื่องการจดบันทึกและการเก็บสารเคมี ดังนี้

เจ้าหน้าระดมสมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

          การจดบันทึก มี 5 ประเด็นใหญ่ที่สามารถนำไปส่งเสริมเกษตรกรได้ ดังนี้

1.  การสร้างความรู้ความเข้าใจ  โดย

1)      อธิบายถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการจดบันทึก

2)      ให้ความรู้การจดบันทึกแก่เกษตรกร 

3)      ให้คำแนะนำโดยชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างการจดและไม่จดบันทึก

2.  การฝึกปฏิบัติ/ทดลองทำ โดย

4)      ฝึกปฏิบัติการจดบันทึก

5)      มีการทดสอบการใช้แบบจดบันทึก

3.      ปรับวิธีการจดบันทึกให้เหมาะสม โดย

1)    ใช้แบบบันทึกแบบง่าย สั้น กระชับ

2)      บันทึกตามความเข้าใจของเกษตรกร ไม่ต้องยึดตามหลักวิชาการมากเกินไป

3)      ให้ลูกหลานเป็นผู้จดบันทึกโดยเกษตรกรเป็นผู้บอกรายละเอียดให้จด

4.  การติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลและนำปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรับปรุง

วิธีการให้เหมาะสม

5.      การสร้างแรงจูงใจ โดยการให้รางวัลแก่เกษตรกรที่มีการจดบันทึกได้ดี

 

ส่วนการเก็บสารเคมี มี 3 ประเด็นใหญ่ที่สามารถนำไปส่งเสริมเกษตรกรได้ ดังนี้

1.      การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกร โดยบอกให้เห็นถึงประโยชน์และ

โทษของการเก็บสารเคมี

2.  แนะนำจากประสบการณ์ โดย

1) ให้เกษตรกรรู้ถึงวิธีการที่ถูกต้อง ได้แก่ การแบ่งประเภทสารเคมีตาม

การใช้ให้ชัดเจน  ดัดแปลงอุปกรณ์และสถานที่ที่มีอยู่แล้วมาเป็นสถานที่เก็บ เพื่อไม่ให้เกษตรกรเห็นว่าต้องมีภาระเพิ่มจากการทำสถานที่เก็บสารเคมี

2) การป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ควรมีป้ายบอกประเภท

สารเคมีติดไว้ให้ชัดเจน จัดเก็บให้พ้นมือเด็ก/สัตว์เลี้ยง เก็บให้ห่างจากแหล่งน้ำและบ้านพักอาศัย และมีกองทรายไว้กลบกรณีสารเคมีตกแตก เป็นต้น

3.  ศึกษาดูงานในแหล่งที่มีการปฏิบัติที่ดี  เพื่อเป็นแนวทางแก่เกษตรกรที่

สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติในฟาร์มของตนเองได้

เจ้าหน้าที่นำผลสรุปจากเวทีกลุ่มย่อย นำเสนอในกลุ่มใหญ่ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       และนี่ก็คือความรู้ที่เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียบนรู้จากประสบการณ์ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเกษตรกร ถึงแม้อาจจะมีเกษตรกรเพียงบางส่วนที่เห็นความสำคัญและมีความพร้อมในการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน จริงๆ ซึ่งปัจจัยหลักที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกษตรกรมีการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน คือราคาและตลาดรับซื้อผลผลิต จะเห็นได้ว่าเกษตรกรที่มีการผลิตผลผลิตเกษตรเพื่อการส่งออกจะให้ความสำคัญและมีความพยายามเข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพ GAP มากกว่าเกษตรกรทั่วไป   

หมายเลขบันทึก: 265193เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2009 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเรียนรู้ด้วยคน
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ กำลังทำ GAP เหมือนกันครับ เป็นประโยชน์มากครับ

  • สวัสดีครับ
  • เมื่ออยู่อำเภอต้องไปสอนชาวบ้านเองทิ้งไป 5 ปี ลืมๆ
  • ขอบคูณมากที่เอามาให้ได้ทบทวน
  • เขาบอกว่า ตลาดมี ขอแต่ให้ได้คุณภาพ เขาคือ.....
  • เขาบอกว่า ถ้ามี ตลาด คุณภาพเขาทำให้ได้ เขาคือ....
  • แล้วเขาคนนั้นละ..อยู่ที่ไหน..

มาเยี่ยมชม กับเกษตรชัด นะ

ขอบคุณมากนะ ที่นำความรู้มาแบ่งปันกัน ครับ

P  สวัสดีค่ะ พี่สิงห์ป่าสัก

P  คุณเจษฎา

P  พี่เกษตรยะลา

P  หนุ่มร้อยเกาะ

P  คุณสุริขาติ

ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

  • ได้ทบทวนเช่นกันครับ เพราะงานนี้ห่างมือไปหน่อย ดีครับ
  • ขอบคุณน้องมุ่ยฮวงมากครับ

P

ขอบคุณค่ะ  งานส่งเสริมการเกษตรเนี่ยไม่มีวันหยุดนิ่ง ต้องคิด/เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องทบทวนและไม่ลืมของเก่าด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท