PMS อาการที่ผู้หญิงควรตระหนักแต่อย่าตระหนก


PMS คืออะไร???

PMS อาการที่ผู้หญิงควรตระหนักแต่อย่าตระหนก

ประเด็นนี้เป็นเรื่อที่ผู้หญิงจับกลุ่มคุยกันเป็นประจำ โดยอาการไม่สบายกาย หงุดหงิด อารมณ์ไม่แจ่มใส มักเกิดก่อนมีประจำเดือนไม่กี่วัน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า 70-80% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ คือช่วงอายุ 25-45 ปี มีอาการดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า "อาการก่อนมีประจำเดือน" (premenstrual syndrome) หรือ PMS

รู้อาการ PMS

แม้ว่าจะยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการก่อนมีประจำเดือน แต่ก็คาดว่าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรนในช่วงตกไข่ของแต่ละเดือน ประมาณ 7-10 วันก่อนมีประจำเดือน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายและจิตใจ ทั้งผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพันธุกรรม วิธีการดำเนินชีวิต และสภาพร่างกายในช่วงนั้นๆ

อาการก่อนมีประจำเดือนโดยทั่วไปมักจะมีอาการเหมือนกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือช่วงก่อนเข้าสู่วัยทอง โดยแยกผลกระทบได้ 2 ทาง คือ ทางร่างกายและจิตใจดังนี้

ทางร่างกาย

-คลื่นไส้

-วิงเวียน ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน

-รู้สึกร้อนวูบวาบ

-มีสิวขึ้นตามใบหน้า

- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก และปวดหลัง

-หน้าบวม ตัวบวมน้ำ หน้าท้องบวมและเท้าบวม

-มีอาการท้องอืด ท้องผูกและท้องเสีย

ทางด้านจิตใจ

-นอนไม่หลับ

-อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย

-ขี้รำคาญ

-เครียด และวิตกกังวล

-ซึมเศร้า อ่อนไหวละร้องไห้ง่าย

-เจริญอาหาร หรือเบื่ออาหาร

PMS ตระหนักได้แต่ไม่ต้องตระหนก

เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ ผู้หญิงที่เข้าข่ายมีอาการก่อนมีประจำเดือนอาจกำลังวิตกกังวลและอยากจะรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตาม อาการนี้ไม่ถือเป็นโรค หรือความผิดปกติ เพราะเมื่อประจำเดือนมาตามปกติ อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ ระหว่างนี้ถ้ารู้สึกไม่สบายก็สามารถทานยารักษาได้ตามอาการ เช่น ทานยาแก้ปวดศีรษะ

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้รับมือกับอาการก่อนมีประจำเดือนได้ดีขึ้น เรามีคำแนะนำเพื่อให้รู้สึกดีขึ้นได้ เริ่มจาก

-เลือกรับประทานอย่างเหมาะสม นั่นคือรับประทานให้ครบ 5 หมู่ แต่ละครั้งควรรับประทานทีละน้อยๆ แต่ทานบ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด มันจัด ไม่ดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารความสุขหรือเอนดอร์ฟินออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดก่อนมีประจำเดือนได้อย่างดี

-รับประทานยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมเพื่อบรรเทาอาการ ผู้หญิงบางคนที่ได้รับผลจากอาการก่อนมีประจำเดือนมาก เช่น มีอารมณ์แปรปรวนมากจนคนรอบข้างอึดอัดใจ ในกรณีนี้สูตินรีแพทย์อาจจะให้ทานยาปรับฮอร์โมนให้เป็นปกติ นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการไม่มากอาจเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันจากดอกอิฟนิ่งพริมโรส วิตามินบี หรือวิตามินซี ที่เชื่อว่าช่วยลดอาการบวมน้ำ หรืออารมณ์หงุดหงิดได้

สุดท้ายขอย้ำอีกครั้งว่า อาการก่อนมีประจำเดือนไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติ ดังนั้นหากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพียงแต่ฟิตร่างกายให้แข็งแรง เตรียมอารมณ์ให้แจ่มใส แต่คนที่ได้รับผลการะทบรุนแรง ขอแนะนำให้จดบันทึกความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของตนเองในช่วงนั้น และทำติดต่อกัน 2-3 เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงในทางลบและรุนแรงมากขึ้น การหิ้วสมุดบันทึกไปปรึกษาหมอก็เป็นอีกเครืองมือหนึ่งที่ช่วยคุณหมอในการรักษา

ข้อมูล นิตยสาร Health Today ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน Bobby
หมายเลขบันทึก: 263857เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ คุณ bob แวะมาอ่านข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพ แต่ No  comment นะค่ะ เพราะน้าตุ๊ก 4 กว่าแล้ว คริคริ

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว

ขอบคุณค่ะ ข้อมูลที่ผู้หญิงทุกคนควรตระหนัก แต่ไม่ตระหนก...

คิดถึงพี่มากเช่นกันค่ะ

เมื่อวานซืน ปั่นจักรยาน 10 กม.  ... ยังเมื่อยขาอยู่เลยค่ะ

พี่สบายดีนะคะ

(^___^)

สสวัสดีครับน้าตุ๊ก น้าตุ๊กครับ ขอบคุณครับที่แวะเข้ามาอ่าน ถึงจะ No comment ก็ไม่เป็นไรครับ น้าหลานกัน No problems อยู่แล้ว

เรื่องนี้อั๋นก็ No comment เหมือนกัน เพราะยังไงๆ ก็ไม่มีอาการดั่งว่ามานี้อยู่แล้วครับ อิอิ

ขอบคุณครับคุณคนไม่มีรากที่เข้ามาอ่าน ว่าแต่ คุณคนไม่มีรากทักผิดคนรึเปล่าอ่ะครับ???

อ้าว ชื่อพี่เขี้ยวไปแล้วหรือค่ะ  คิดถึงพี่เขี้ยวนะค่ะ คริคริ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท