“การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ”


งานประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิ

การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ

วันที่  21-22 พฤษภาคม 2552

ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

 

ระยะเวลาเตรียมงานนานกว่า 6 เดือน ในการที่ทีมรพ พุทธชินราชเป็นส่วนหนึ่งของทีมหลากหลายทีม ในการเตรียมงาน เป็นบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่น ที่ผู้จัดหลัก สพช โดยการนำของ อ.พญ สุพัตรา ทำงานมุ่งมั่นด้วยใจ เพื่อให้งานนี้เกิดและบรรลุเป้าหมาย  ทีมร.พ พุทธชินราชเป็นหนึ่งในทีมการทำ tool kit  

        คู่มือ การดูแลเบาหวานสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ   ในส่วนของอ้อ มี พญ. หรือหมอน้ำ คอยติดตามแบบเป็นกันเองจนทำให้เราที่เป็นทีมรู้สึกไม่เหนื่อยหรือเคร่งเครียดอะไร  ต้องบอกว่าหมอน้ำน่ารักจริงๆ     

 

(เอกสารที่ผู้จัดเตรียมกันด้วยใจ สุดๆ อยากให้จริงๆ น่านับถือในหัวใจของการทำงาน)

อีกส่วนที่เราต้องรับผิดชอบ คือในวันงาน ห้องย่อย “ลานกิจกรรม” การจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ หรือชื่อเล่นคือ  “เบาหวานบูราราการสานใจชุมชน” ที่ใช้ชื่อนี้เพราะเบาหวานของเราไม่ได้เกิดจากเราคนเดียว .. ต้องกลับไปอ่านสามประสานที่สมดุลของอ.นิพัธ   เพื่อนร่วมทางของในงานเบาหวานเรามาจากหลากหลาย  การที่เรามีใจเดียวกัน มุ่งมั่นสู่ฝันเดียวนำเรามาพบกัน

 อ.นิพัธ อภิปรายกลุ่ม เรื่อง “update สถานการณ์ องค์ความรู้ การพัฒนาระบบดูแลและป้องกันเบาหวาน แบบบูรณาการระดับปฐมภูมิ ผู้ร่วมอภิปราย แนวโน้มและ ยุทธศาสตร์การจัดการเบาหวาน  : บทเรียนต่างประเทศสู่ประเทศไทย โดย : พญ. ฉายศรี  สุพรศิลป์ชัย แนวคิด ทิศทางที่เหมาะสมของระบบบริการในการจัดการโรคเรื้อรัง(เบาหวาน)    โดย : พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากรการจัดการระบบดูแลเบาหวานแบบบูรณาการ       โดย : นพ.นิพัธ กิตติมานนท์มิติทางสังคม  จิตวิญญาณ กับเบาหวาน  โดย : ดร.เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์

ผู้ดำเนินการอภิปราย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการสพช.ภาคใต้/ โรงพยาบาลจะนะ สงขลา

 

การเตรียมงานในห้องย่อย “ เบาหวานบูรณาการสานใจชุมชน”มีตั้งแต่ เวลา 9.00-12.00  เรามีการประชุมเตรียมความพร้อม 2 ครั้ง  แบบสบายๆ การเตรียมเนื่องจาก เรามีเวลาจำกัดในการถ่ายทอดประสบการณ์ เพียงคนละ 15 นาที โอ้..My god  พระเจ้าช่วยกล้วยทอด  มันยากจริงๆ   การเตรียมเราจึงแบ่งการถ่านทอดคนละบทบาท และถ่ายทอดให้เห็นภาพการทำงานที่ประสานกัน  จึงออกมาเป็นรูปแบบคร่าวๆดังนี้

  •  ในวงเสวนากำหนดผู้พูด  5 คน  โดยมี modulater คือ อ. นิพัธ / คุณลัดดาวัลย์ 

ขอบเขตเนื้อหา

*  เหตุผลในการทำงานเบาหวานในชุมชน รวมถึงปัจจัย และบริบทที่มีผล และภาพรวมของการทำงานในชุมชน

*  เน้นการสร้างชมรม โดยใช้ข้อมูลเป็น empowerment ,การขับเคลื่อนการทำงานเบาหวานในชุมชน

*  คนต้นแบบ และการทำงานของคนต้นแบบกับชุมชน: วิธีการหาคนต้นแบบ, ลักษณะของคนต้นแบบที่ต้องการและวิธีการในการให้คนต้นแบบขับเคลื่อนงาน การดูแลคนต้นแบบ, การติดตาม รวมถึงการถอดบทเรียนคนต้นแบบที่มีการดำเนินการ

*  การชักชวนและส่งเสริมบทบาทของ อปท มามีส่วนร่วมในการทำงานเบาหวานในชุมชน

(บรรยากาศวงเสวนา)

·       แบ่งการพูดตามประเด็นที่กำหนด โดยพูดในบทบาทของตนเองที่กำหนดไว้ ใช้เวลาคนละ 15 นาที  ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย พยาบาล  พระ นายกอบต คนต้นแบบรุ่น 1 รุ่น 2  ดังนี้

1        นางรินดา เจวประเสริฐพันธ์  นำเสนอในบทบาทพยาบาลชุมชน  การเริ่มต้นจากรพสู่ชุมชนมีแนวคิดอย่างไร การหาแนวร่วมในชุมชนมีวิธีไหนบ้าง การกระตุ้นให้เกิดความสนใจให้เกิดการมีส่วนร่วม เหตุผลในการทำงานเบาหวานในชุมชน รวมถึงปัจจัย และบริบทที่มีผล และภาพรวมของการทำงานในชุมชน เน้นการสร้างชมรม โดยใช้ข้อมูลเป็น empowerment ,การขับเคลื่อนการทำงานเบาหวานในชุมชน คนต้นแบบ และการทำงานของคนต้นแบบกับชุมชน: วิธีการหาคนต้นแบบ, ลักษณะของคนต้นแบบที่ต้องการและวิธีการในการให้คนต้นแบบขับเคลื่อนงาน การดูแลคนต้นแบบ, การติดตาม รวมถึงการถอดบทเรียนคนต้นแบบที่มีการดำเนินการ  การชักชวนและส่งเสริมบทบาทของ อปท มามีส่วนร่วมในการทำงานเบาหวานในชุมชน

 

2        พระครูเกษมวาปีพิสัย  นำเสนอในบทบาทแกนนำของชุมชนสำคัญ ที่เป็นหลักที่พึ่งทางจิตใจของชุมชน  ในประเด็นว่าจุดประกาย แนวคิดและแนวปฏิบัติในการโน้มน้าวประชาชนในตำบลให้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงเรื่องต่างๆ เช่น  เหล้า บุหรี่  ความพอเหมาะพอควรของอาหารที่บริโภค การสนับสนุนกิจกรรม การจัดกลุ่มค่าย การออกกำลังกาย  งานบุญต่างๆ ได้อย่างไร ดังเช่น การใช้วัดเข้าค่ายเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ การทำวัดปลอดเหล้า การเทศนาประเด็นสำคัญทางสุขภาพ เป็นต้น

 

3    นายกสมชาย ทองเถื่อน นำเสนอในบทบาทนายกอบต  ผู้บริหาร ที่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วย การมีส่วนร่วมของชุมชน การกระตุ้นให้เกิดความสนใจให้เกิดการมีส่วนร่วม เหตุผลในการทำงานเบาหวานในชุมชน รวมถึงปัจจัย และบริบทที่มีผล และภาพรวมของการทำงานในชุมชน เน้นการสร้างชมรม  เริ่มต้นของพี่สมชายก็  ฮาค่ะ.... "เจริญพร พระคุณเจ้า"  

 

4 คุณปรีชา  ศรีชัย นำเสนอในบทบาทผู้ป่วยเบาหวานและคนต้นแบบ การทำงานของคนต้นแบบกับชุมชน : การปรับพฤติกรรม, การสร้างเครือข่าย, การทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน   การเกิดคนต้นแบบ การดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน และความก้าวหน้าของ โครงการหัวหน้าหมู่เบาหวาน

 

5 ผู้ใหญ่สมบัติ  บุญประเสริฐ นำเสนอในบทบาทแกนนำกลุ่มเสี่ยงสูง  ที่เป็นต้นแบบลดพุง อะไรเป็นจุดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  วิธีการที่ทำได้สำเร็จ

เรื่องคนต้นแบบก็เป็นเรื่อง ที่ได้รับความสนใจจากพื้นที่หลายๆแห่ง เดี๋ยวครั้งหน้าจะนำรายละเอียดมาเล่าให้ฟังนะค่ะ

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 263275เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
อรอนงค์ ดิเรกบุษราคม

แม้ไม่ได้ไป ก็ได้เห็นบรรยากาศค่ะ

ต้องการรูปภาพภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดัน..จังคับ

(ตา...ไต....เท้า)...ให้น่ากลัว ๆ จะให้คนยังไม่เป็นขยาดครับ...ขอบคุณมากครับ

เห็นผลงาน

เห็นการเตรียมงาน

เจ๋ง มากครับ

พี่อ้อ

เหนื่อยเหมือนกันนะ แต่ก็สนุก ขากลับนั่งรถคุยกับคนต้นแบบของเรามาตลอดทาง หัวเราะจนขากรรไกรค้าง แค่นี้ก็หายเหนื่อยละนิ ขอบใจอ้อ ที่ทำงานอย่างตั้งใจเต็มที่ ผลลัพธ์ก็ออกมาดีนะ ได้เพื่อนอีกทั้งอำเภอ

รัศมี ลือฉาย ร.พ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์

เป็นงานที่ดีมากค่ะ เป็นการบูรณาการจริงๆ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการเบาหวาน

อยากได้เอกสารประกอบการประชุมที่เป็นแผ่น poster คะ

พอมีไหมคะ หรือเป็น file ก็ได้

คุณนงลักษณ์

poster ชุดนี้สามารถยืมได้ ที่ สพช ค่ะ ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสพช เรื่องขอยืม ชุดนิทรรศการ rollup เบาหวาน 21 ชุด เพื่อใช้ใน ........ค่ะ ที่รพ ก็ขอยืมมาบ่อยๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท