โครงการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (บ้านไสรักษ์ หมู่ที่ 8 ต.กะหรอ อ.นบพิตำ)


ได้รับข่าวจากพี่พัช แกนนำหลักในพื้นที่ตำบลกะหรอ ว่าวันพฤหัสบดีที่ 21 พ.ค.2552 ทีมพัฒนาชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช จะลงมาทำการประเมินบ้านไสรักษ์ หมู่ที่ 8 ต.กะหรอ เพราะเป็นหนึ่งที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นในโครงการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แหม่มร่วมเวทีด้วยจึงนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังว่าบ้านไสรักษ์ ม. 8 ต.กะหรอ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช มีอะไรบ้าง

1)      การลดรายจ่าย

-          ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษกินเอง ประมาณ 70%

-          ส่วนเรื่องของอบายมุขมีบ้างเล็กน้อยในช่วงเทศกาลงานบุญ งานมงคล

2)      การเพิ่มรายได้

บ้านไสรักษ์ มีกิจกรรมการเพิ่มรายได้นอกจากอาชีพหลักในการทำสวน ทำไร่ แล้ว คือ

-     มีกลุ่มเครื่องแกง ตั้งเมื่อ ก.ย.50 สมาชิก 32 คน เงินหุ้น 1,540 บาท เงินทุนหมุนเวียน 10,180 บาท ดำเนินกิจกรรมมาแล้วรวม 20 เดือน ได้กำไร 2,200 บาท

-          มีกลุ่มโรงน้ำดื่มชุมชน ตั้งเมื่อ ก.ย.50 สมาชิก 39 คน เงินหุ้น 1,860 บาท เงินทุนหมุนเวียน 10,255 บาท

3)      การประหยัด

บ้านไสรักษ์ มีกิจกรรมการออมทรัพย์ และมีการเชื่อมโยงเครือข่าย ดังนี้

-          กลุ่มสัจจะ สมาชิก 325 คน+12 กลุ่ม เงินทุน 1,946,862 บาท

-     กองทุนหมู่บ้าน(จดทะเบียนนิติบุคคล) สมาชิกกู้ 97 ราย เป็นเงิน 1,132,600 บาท เงินทุนเดิมที่รับจากรัฐบาล 1,000,000 บาท รับเงิน AAA 100,000 บาท สมทบทุนสะสม 56,435 บาท รายได้สะสะสมปีนี้ 20,480 บาท มีเงินฝากธนาคาร 44,315 บาท โดยวิธีการจัดการเรื่องของเงินกู้นั้นมีการให้สมาชิกผ่อนส่งรายเดือนขั้นต่ำเดือนละ 200 บาท+ดอก6%

-     กลุ่มสัจจะวันละบาทสวัสดิการชุมชนตำบลกะหรอ(ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน) สมาชิก บ้านไสรักษ์ จำนวน 5 รุ่น 310 คน เงินสัจจะสะสม 175,800 บาท(ส่วนของหมู่บ้าน) ส่วนระดับตำบลกะหรอ(มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายสัจจะตำบล) สมาชิก 1877 จำนวน 4 รุ่น เงินสัจจะสะสม 1,119,000 บาท

4)      การเรียนรู้

-     มีผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านสมุนไพรรักษาโรค ด้านช่าง ทำบ้าน ซ่อมรถ เย็บผ้า ตัดผม การจับผึ้ง ติดตา เพาะชำ ด้านอาหารคาว หวาน ด้านคอมพิวเตอร์ บัญชี

-     มีการประชุมสัจจะวันละบาทตำบลทุกวันที่ 4 ของเดือน/ประชุม อสม.ทุกวันที่ 8 /ประชุม กทบ.ทุกวันที่ 12 ของเดือน/ประชุมเกษตรตำบล ทุกวันที่ 23 ของเดือน/มีการประชุมการเงินชุมชนตำบลทุกวันที่ 27 ของเดือน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้หมายถึงการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครัวเรือน ชุมชนได้อย่างดียิ่ง

5)      การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

บ้านไสรักษ์ มี

-          กลุ่มอนุรักษ์จากสาคู

-          มีการร่วมอบรมการปลูกต้นไม้และการรักษาป่ากลางเมือง

-          สนับสนุนการอนุรักษ์คลองบรรจง

-          มีการขยายพันธ์ต้นพ้อ

-          ปลูกต้นไม้ริมทาง

-          ชมรมบ้านน่าอยู่ บ้านเรือนสะอาด

-          เข้าร่วมโครงการเดินตามรอยพ่อกับเครือข่ายไม้ผลจังหวัดนครศรีฯ

6)      ด้านการเอื้ออารีต่อกัน

ชุมชนบ้านไสรักษ์มีการช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส คนประสบปัญหาโดยสังเกตจากกิจกรรมการจัดสวัสดิการชุมชน เกิด แก่ เจ็บ ตาย

 

คณะจากพัฒนาชุมชนลงพื้นที่เพื่อดูของจริงจากกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาด้วยค่ะ สามารถเข้าดูประมวลภาพกิจกรรมได้ที่เว็บไซด์ หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน http://km4fc.wu.ac.th

หมายเลขบันทึก: 262620เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเรียนรู้ และชื่นชม กิจกรรมดีๆ ในชุมชนค่ะ

กลุ่มสวัสดิการการเงิน หากชุมชนไม่เข้มแข็งพอ ก็ยากจะยั่งยืน

ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้ กลุ่มสัจจะ ไสรักษ์ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท