17. Palliative grand round ภาค 2 เดือน พฤษภาคม 2552


up date คนไข้มะเร็งระยะสุดท้ายในโปรเเกรม

21 พ.ค. 52 เป็นวันพฤหัสบดีที่ 3 ของเดือน ได้เวลา up date คนไข้มะเร็งระยะสุดท้ายในโปรเเกรมการดูแลของทีมเราเเล้วค่ะ วันนี้ดีใจที่มีคุณหมอจากโรงพยาบาลมโหสถเเละหลายโรงพยาบาลประมาณ 6 ท่านจากประเทศเพื่อนบ้านประเทศลาว มาร่วมเรียนรู้ด้วย ทราบจากพี่เกศว่าเป็นวิสัญญีเเพทย์ทั้งหมด

           วันนี้ท่านอาจารย์สุรพล ติดภารกิจ พี่เกศจึงทำหน้าที่เเทน เริ่มจากเเนะนำตัวก่อน วันนี้ก็ทีมของเราก็เข้าเยอะเหมือนกัน ward nurse ก็คือฉัน มีนักสังคมสงเคราะห์ น้องอาร์ม  case manager พี่ตุ๊  Resident ก็มีคุณหมออำนวยพร คุณหมอศิวาภรณ์ เเละ  Extern 2 ท่าน ประเด็นที่พูดคุยวันนี้เราก็คุยต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วเริ่มจาก case ที่อยู่ใน ward ก่อนซึ่งมี 3 case

            case 1 น้องที่เราพูดถึงในการประชุมครั้งก่อนผู้ป่วยรายนี้เป็น case มะเร็งเซลล์เนื้อเยื่อ (PNET Stage 3 )เข้าโปรเเกรมการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายของทีมนำทางคลินิกกุมารฯเมื่อปี 2008 ล่าสุดเข้ารับการรักษาด้วยภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2552  case นี้ท่านอาจารย์สุรพล Inform คนไข้เเละครอบครัวในระดับหนึ่งแล้วถึงการดำเนินไปของโรคซึ่งล่าสุดมีการลุกลามไปที่ปอดและมีก้อนกลับมาในกระเพาะปัสสาวะ คุณหมออำนวยพรเล่าถึงอาการล่าสุดเเละแผนการรักษาที่ให้ตอนนี้คือน้องฉายเเสงครบเเล้ว ให้เคมีบำบัด dose supportive สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตอนนี้เจอปัญหาใหม่คือติดเชื้อดื้อยา เนื่องจากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ตลอด plan จะให้ antibiotic ตัวใหม่คือ colistin

           " ในส่วนของ spiritual care และ bereavement care  กุ้งมีอะไรมั๊ย "พี่เกศหันมาทางฉัน จึงบอกที่ประชุมว่าฉันนัดคนไข้และแม่จะไปทำบุญที่ตึกสงฆ์พรุ่งนี้เช้า  และ plan ประเมินความเสี่ยงต่อการปรับตัวหลังสูญเสียโดยใช้ เเบบประเมิน  Bereavement risk assessment form ทีฉันได้พัฒนาขึ้นร่วมกับทีมคิดว่าเราน่าจะเข้าได้เเล้วเพราะครอบครัว เขายอมรับกับตัวโรคในระยะสุดท้ายแล้ว ส่วนในเรื่อง psychosocial พี่เกศบอกว่าดีมาก จิตใจสบาย หน้าตาสดใส วันนี้คุณพ่อมาเยี่ยม ฉันเดินผ่านเข้ามาประชุมก็ยังได้ทักว่าครอบครัวสุขสันต์นะวันนี้พร้อมหน้าพ่อเเม่ลูก case เเรกผ่านนะคะ

        case ที่ 2 เป็นผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว อายุ 11 ปีบ้านอยู่อุดรธานี นัดมาให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยเเละเเม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตัวโรคที่มีการกลับซ้ำถึง 3 ครั้งแล้ว นั่นเเสดงถึงการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี อาจารยสุรพล Inform ครอบครัวแล้วขณะบอกมีท่าทียอมรับ แต่ผู้ป่วยเเละแม่ต้องการให้เคมีบำบัดสู้อีกสักครั้ง ตอนนี้ยัง treat แบบ curative  อยู่ระหว่างให้ยาเเละรอผลการตอบสนองต่อยา

         caseที่  3 ผู้ป่วยเป็นเด็กอายุ 8 ปี วินิจฉัยเป็น Adenal gland carcinoma มีการลุกลามไปที่ปอดเเละตับและมีก้อนกลับมาอีกครั้ง advice ญาติแล้ว o. k. มารักษาครั้งนี้มาด้วย  pain หลัง control pain ได้แล้วญาติขอกลับไปดูแลต่อที่บ้าน

         หลังจากจบ case ที่อยู่ที่ ward คราวนี้เป็น  case ที่ต้องจำหน่ายออกเนื่องจากเสียชีวิต คือน้องเต้ พี่เกศถามถึงการติดตามดูแลครอบครัว ฉันจึงได้เล่าให้ฟังว่า เขียนจดหมายไปเเละคุณเเม่ตอบจดหมายกลับมาแล้วจึงได้อ่านจดหมายให้ทีมฟัง

           จากนั้นก็เป็นการ update case อื่นๆ ที่อยู่ใน profile โดยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีมี 1 รายเท่านั้นที่ขาดการติดต่อและตามเเล้วยังไม่ตอบกลับส่วนอีกหนึ่งรายเป็นผู้ป่วย lymphoma ตอนนี้ Improve ขึ้นมากแล้วก็คาดว่าจะได้ถอดออกจากโปรแกรม

             นอกจากนี้ระหว่างที่พูดคุยกันก็มีการซักถามจากเเพทย์ที่มาจากประเทศลาวถึง criteria ของ case ที่จะเข้า pallitive program พี่เกศก็ได้ใหความกระจ่าง ทีมก็ช่วยกันเสริมและที่สำคัญยังได้แลกเปลี่ยนปัญหาที่พบเมื่อคนไข้ลาวมารับการรักษาที่นี่ คือค่าใช้จ่าย น้องอาร์มนักสังคมสงเคราะห์จึงฝากปัญหานี้ไปถึงรัฐบาลลาวด้วย

หมายเลขบันทึก: 262489เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

ดีใจและภูมิใจที่มีทีม work

น้องเข้มแข็งมากๆไม่กลัวตาย...สู้ๆนะ

P ขอบคุณค่ะพี่เเดง ขอบคุณที่มาทักทาย

P น้องปลายฟ้า เปิดเทอมแล้วใช่มั๊ยคะ คุณครูคนเก่ง อ่อ.. ตามไปดูแล้วนะคะพี่กุ้งเลือดกรุ๊ป B ค่ะ

  • สรุปยอดเยี่ยม
  • สมกับเสี้ยวหนึ่งคือผู้ประมวลความรู้ค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมยามเช้า

Dsc09046

  • อ่านแล้วรู้สึกเหมือนตอนอยู่ออสเตรเลียเลย
  • ผมว่า ทางขอนแก่นทำได้เยี่ยมมากครับ
  • อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้เห็นแล้วคิดว่าน่าจะเอามาปรับใช้ได้ คือ ช่วงเวลาสั้นๆสำหรับการดูแลจิตใจของพวกเรากันเอง ซึ่งอาจจะเป็น ผลัดกันอ่านบทความหรือหลักธรรมสั้นๆ หรือ ให้คนที่ดูแลคนไข้ที่เพิ่งเสียชีวิตได้เล่าความรู้สึกของตนเองสั้นๆ

ที่ออสเตรเลียเขาประชุมกันอย่างงี้ ใช่มั๊ยคะอาจารย์

กุ้งว่าการประชุมเเต่ละครั้งทำให้เราเห็นปัญหาของคนไข้เเต่ละคน ได้เรียนรู้ร่วมกันถึงการช่วยเหลือซึ่งจะเหมือน บ้างต่างบ้างในเเตละ case กุ้งเคยฟังอาจารย์หมอสกล สิงหะ

พูดถึงการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายว่า 1 รายให้อะไรกับเรา หนึ่งราย ได้ learning

review evaluate growing developing an also going on the road to ไม่เเน่ใจว่ากุ้งจำครบหรือเปล่า พอฟังเเล้วเรามาทำจึงเห็นว่าจริงอย่างอาจารย์พูดอีกเรื่องที่อาจารย์หมอเต็มเเนะนำมาและกุ้งเห็นด้วยมากๆ คือช่วงเวลาสั้นๆสำหรับการดูแลจิตใจของพวกเรากันเอง ต้องมีค่ะ เราถึงจะ going on the road to ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท