พัดชา
สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชุกุล

โครงการการศึกษากระบวนการสมานฉันท์เพื่อสร้างสุขภาวะในสังคม


การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ควรเริ่มจากประชาธิปไตยในครัวเรือน

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์โครงการการศึกษากระบวนการสมานฉันท์เพื่อสร้างสุขภาวะในสังคม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันพระปกเกล้า  สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และกระทรวงยุติธรรม โดยได้รับความสนับสนุนจากสสส. ในวันนี้กิจกรรมหลักเป็นการสานเสวนา เรื่องการเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์  ผู้เข้าร่วมมีประมาณ 100 กว่าคน ประกอบด้วย ข้าราชการ นักการเมือง นักวิชาการและตัวแทนของชุมชนต่างๆในเขตเทศบาลตำบลสัตหีบ จ.ชลบุรี 

      

การสานเสวนาเป็นเสมือนเวทีให้ทุกคนที่เข้าร่วมได้มา "ตั้งใจฟัง" ความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน นอกจากนี้จุดเด่นของกิจกรรมคือ

1. การที่ผู้นำของจังหวัด คือ ท่านเสนีย์  จิตตเกษม ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นสรุปได้ดังนี้ "การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ควรเริ่มจากประชาธิปไตยในครัวเรือน ที่จะฟังกัน ทุกครอบครัวย่อมมีความขัดแย้ง ก็เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นหลักประชาธิปไตย คือ การเคารพปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ และให้เกียรติเสียงส่วนน้อย มิใช่กระทำย่ำยี แต่เสียงส่วนใหญ่ก็ต้องมีเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้องด้วย หากข้อมูลไม่ถูกต้อง การตัดสินใจก็จะผิดพลาดไปด้วย การแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพ แต่ต้องเคารพคนอื่นด้วย  ทุกปัญหา มีทางออก ทางแก้ไข แต่สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาต่างๆ คือ เราควรใช้ความรักต่อกัน บางทีไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล ด้วยบางครั้งเป็นเหตุผลของส่วนตนที่อาจทำให้เกิดความแตกแยกกัน"   2. การลงนามข้อตกลงร่วมกัน หลังจากที่ได้มีการสานเสวนาแล้ว ผู้เข้าร่วมก็ได้มีการเขียนข้อตกลงร่วมกันขึ้นมา โดยมีการร่วมเซ็นรับรองทั้งจาก ผู้ว่า นายอำเภอ ตัวแทนชุมชน เป็นต้น

                          

 จากการจัดงานสานเสวนาในครั้งนี้ เสียงสะท้อนจากตัวแทนของชาวบ้านเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดี ที่ได้มีโอกาสมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ได้ประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ก็ฝากความหวังส่วนหนึ่งให้ผู้ดำเนินงานไปช่วยแก้ไขกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอยากให้มีการจัดการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในทุกตำบลของอำเภอสัตหีบ

หมายเลขบันทึก: 262294เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แนวคิดน่าสนใจดี

แต่จะรณรงค์ให้แต่ละครอบครัวนำไปใช้ อาจจะเริ่มต้นยากหน่อย

การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เป้นเรื่องวัฒนธรรมที่ต้องทำกันต่อเนื่อง ทุกวันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท