"การเปิดเผยตัวตน" จำเป็นหรือไม่ในgotoknow


คุณเป็นใคร ใครเป็นคุณ

ผมจำได้ว่าตอนที่ผมได้เข้าฟังการบรรยายเรื่องของ "gotoknow"
ได้ข้อเสนอแนะว่าควร บอกข้อมูลของตนเองด้วย เช่นประวัติ หรืองานที่ทำ
ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้อ่านเพื่อที่จะได้รู้ว่าเจ้าของบันทึก หรือผู้คนที่แวะเวียนมา ลปรร.
มีตัวตนจริงๆ และเป็นผู้ที่เชื่อถือได้
มันบ่งบอกถึงความกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้เขียนไปใน gotoknow

หลายๆคนหลายๆท่านในgotoknow ไม่ได้ให้ข้อมูลส่วนตัวไว้
และบางท่านก็ไม่ได้มีบล็อกเป็นของตนเอง
อันนี้ไม่ว่ากันครับ เป็นสิทธิส่วนตัว.....

ผมยังเป็นเด็กมาก ถ้าเปรียบกับผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆในgotoknow
แต่ผมก็กล้าที่จะบอกว่าผมมาจากไหน เป็นใคร มีตัวจริง(ตัวเป็นๆ)หรือเปล่า
พร้อมที่จะรับคุณ รับโทษ จากสิ่งที่ผมเขียน และสิ่งที่ผมได้ ลปรร.ไปในบันทึกของคนอื่นๆ
ผมไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก มีแค่ "ใจ" ด้วยความ "จริงใจ"
เพื่อที่จะคุยกันอย่าง "เปิดใจ" และ"ความไว้วางใจ" ซึ่งกันและกันในอันที่จะ ลปรร. 

ไม่เปิดเผยตัวตนก็ยังคุยกันได้นะครับ......

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26189เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

JJ ว่าถ้าไม่อึดอัดมากเกินไป น่าจะเปิดเผย "ตัวตน" ในส่วนที่เปิดได้ครับ

การ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ หากมีที่มาที่ไป น่าจะเป็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน และ

 ท่านเอื้อแห่ง ม.ขอนแก่น รองรังสรรค์ เสนอ มาว่า "เป็นการสร้างกัลยาณมิตร ต่อกันครับ"

เห็นด้วยว่าควรจะบอก ชื่อ นามสกุลจริง แต่อย่างอื่นจะ"เก็บ"ไว้ก็ได้ค่ะ เป็นการสร้างวัฒนธรรมความกล้าแสดงออก กล้ารับผิดและชอบกับการกระทำของตนเองให้กับสังคมการแสดงความคิดเห็นของคนไทย

แต่พอพบแบบ คุณ "ไร้นาม" ก็กลับไม่ได้รู้สึกขัดข้องอะไรได้เหมือนกัน คงเป็นเพราะ "ความจริงใจ"ที่คนอ่านอย่างเรารับรู้ได้ละมังคะ

สรุปแล้วก็คงเป็นว่า เป็น"ตัวเอง" ที่ดู "รับผิดชอบ" ก็คงจะใช้ได้ค่ะ

สำหรับประเด็นเรื่อง "หัวโขน"ทางสังคมนั้น คงจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อละมังคะ เช่น ถ้าคุณตุมปังเขียนอะไรที่เกี่ยวข้องกับ "คุณวุฒิ" ที่บอกไว้ คนก็จะได้ชั่งใจได้ง่ายขึ้น ถ้าเราไม่ต้องการให้คน"ติด" กับตรงนั้น ก็คงละไว้ได้ สำหรับตัวเองใส่ไว้ครบถ้วน เพราตอนแรกตั้งใจจะเขียนบันทึกถึงสิ่งที่สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของตัวเอง แต่พอไปใส่ไว้ในประวัติย่อเสียแล้วก็เลยสบาย ไม่ต้องท้าวความอะไรกันอีก

ตัวตนของเราคงจะแสดงออกมาเองจากสิ่งที่เราเขียนนั่นแหละค่ะ ไม่เกี่ยวกับส่วนประกอบอื่นๆสักเท่าไหร่ ดังนั้น มีแค่ "ใจ" ด้วยความ "จริงใจ" นี่แหละค่ะ ที่สำคัญกว่า

 

มันควรเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงได้ด้วย ไม่ใช่หรือครับ
     อิสระและไร้รูปแบบในฐานะ Blogger ในฐานะผู้เสพจะเลือกเองและอ้างอิงโดยอิสระและไร้รูปแบบ "สาระและความจริงใจให้กัน" เท่านั้นที่จะนำมาพิจารณา
   ทำไปเถอะครับตามความเหมาะสม  ตามเหตุผลและความจำเป็นที่แต่ละท่านมี  จะปิดบัง เปิดเผยบางส่วน หรือทั้งหมด หรือจะทดลองหาความรู้ในแง่มุมใดก็ย่อมได้  โลกแห่งการเรียนรู้ใบนี้เต็มไปด้วยอิสรภาพสำหรับพวกเรา  ขอเพียงแต่ทุกเรื่องราวที่นำเสนอ  ไม่ว่าประสบการณ์หรือข้อคิดเห็นที่สื่อออกมา จงเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของผู้อ่านเป็นที่ตั้ง ก็ OK. แล้วครับ.

 


ต่างคนก็ต่างความคิด
ต่างคนก็ต่างมุมมอง

การที่บอกว่า "การเปิดเผยชื่อ-สกุล ที่แท้จริง เป็นการแสดงความจริงใจ และเป็นการฝึกการความกล้าในการแสดงออก " นั้นก็ถูกต้อง  แต่ที่อาจจะไม่ถูกต้องกลับอยู่ที่  สิ่งนี้เป็นการใช้ความคิดและความรู้สึกของตนเองมาตัดสินการกระทำของผู้อื่นหรือไม่ ?

ผู้ใหญ่.. มักมีความกล้าในการแสดงออกมากกว่าผู้น้อย

ผู้ที่ได้รับการฝึกให้แสดงความกล้า แสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนหมู่มากอยู่เสมอ ย่อมมีความกล้ามากกว่าคนที่มักนั่งฟังผู้อื่นเงียบๆอยู่ในหอประชุม

บางครั้งคนเหล่านั้นก็อยากจะเสนอความคิดเห็น  มีคำถามในใจอยากจะไถ่ถาม

แต่การจะก้าวออกไปยืนที่ไมโครโฟนเพื่อออกปากถามหรือแสดงความคิดเห็น ในทันทีย่อมอยู่เหนือกำลังบังคับของจิตใจที่จะก้าวขาออกไปหน้าเวที

คนเหล่านี้คงกระทำเริ่มแรกได้โดยการ .. เขียนคำถามใส่กระดาษโน๊ตส่งไปข้างหน้า  พอกล้าขึ้นมาสักหน่อย ยกมือยืนถามตรงเก้าอี้ที่ตนเองนั่ง  พอได้ถามหรือแสดงความคิดเห็นบ่อยขึ้น.. คงมีสักวันที่จะลุกออกไปแสดงความคิดเห็นหน้าเวที

เรื่องของความกล้า เป็นเรื่องของจิตใจ.. ต้องค่อยๆฝึกค่อยๆเพาะสร้าง.. มิฉะนั้นในทางจิตเวช จะมีอาการ "ขี้อาย"  "กลัวคน"  อยู่หรือ

ฉันใดก็ฉันนั้น..

ผู้ที่ไม่แสดงตนเองอย่างเปิดเผย ใช่ว่าเขาจะไร้ความจริงใจ  บางครั้งเขาก็อยากจะฝึกความกล้าของตนเอง  บางครั้งเขาก็อยากจะมีอิสระในการแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น ในบางความคิดที่ยังกล้าๆกลัวๆว่าความเห็นนั้น จะสะท้อนผลเสียกลับมาให้ตนเองหรือไม่

ยังมีความคิดและความรู้สึกอีกมากมาย ที่หลายต่อหลายท่านอาจจะไม่เคยคิด อาจจะไม่เคยรู้สึก ท่านจึงไม่รู้ว่า ความคิดนั้นมีบางคนกำลังคิด มีบางคนกำลังรู้สึก

ดังนั้น.. ต่างคนก็ต่างความคิด ต่างคนก็ต่างมุมมอง

การขีดกรอบ.. ไม่ว่าจะขีดไว้กว้างสักแค่ไหน มันก็ยังต้องมีการจำกัดของพื้นที่อยู่ดี

อิสระไร้กรอบ... จึงจะได้มาซึ่งความรู้และความคิดที่กว้างไพศาลอย่างแท้จริง

ขอบคุณที่ให้มาแสดงความคิดเห็น

 

 

ดิฉันขอขอบคุณในการแสดงตัวตนของคุณตุมปัง และดิฉันขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ที่นี่คะ http://gotoknow.org/archive/2006/05/01/21/20/54/e26323

การเปิดเผยตนเองเป็นที่ไว้วางใจได้จ้ะ แต่การเปิดเผยมากไปเป็นความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยนั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท