กวีดอกไม้บาน


กวีบานในหัวใจ

บทกวีดอกไม้บาน : เมื่อผู้ใหญ่จินตนาการเข้าไปในโลกของเด็ก

เมื่อผู้ใหญ่ลองสร้างจินตนาการเพื่อเด็กๆ สิ่งที่ได้ก็คือ “บทกวีดอกไม้บาน” เล่มต่างๆ ซึ่งเรียงรายกันออกมาให้เด็กๆ ได้อ่านจนบัดนี้ร่วม 10 เล่มแล้ว นิยามดอกไม้ในที่นี้ก็คือเด็กๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนชั้นมัธยมศึกษาตามความยากง่ายของบทกวี ชื่อประจำฉบับก็ผิดแผกแตกต่างกันไปด้วย เช่น บทกวีดอกไม้บานเล่มที่ 1 ระดับประถมศึกษา (ไม่เกี่ยวกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาฯ เพียงต้องการกำหนดความเหมาะสมแก่วัยเท่านั้น) ให้ชื่อว่า ‘บานชื่น’
        เล่ม 2 ระดับมัธยมศึกษาให้ชื่อว่า ‘ดาวเรือง’ บางเล่มไม่ได้บอกระดับช่วงชั้น หากสำหรับให้อ่านข้ามช่วงชั้นไปมาอย่างอิสระ เช่นเล่มที่ให้ชื่อ ‘แด่บ้านเกิด’ เล่ม 7 เป็นบทกวีที่สวยงามทั้งสารที่ต้องการสื่อและการประกอบสร้างงานกวีนิพนธ์ (composition)
ความเป็นมา
        “บทกวีดอกไม้บาน” เล่มต่างๆ ที่ทยอยผลิตออกมาล้วนเป็นงานทำมือง่ายๆ ใช้กระดาษ เอ 4 พับครึ่งแล้วเย็บกลางด้วยลวดสองเส้นบนและล่าง ตัวหนังสือ ‘ปรินต์’ (print/พิมพ์) ออกจากเครื่องพิมพ์ตั้งโต๊ะ แล้วนำไปถ่ายสำเนา ทำเป็นรูปเล่มอย่างเรียบง่ายที่สุด ขนาด 16 หน้ายก เล่มบางงามตา เล่มหนึ่งประกอบด้วยบทกวีสั้นๆ 4 บรรทัดจบในตัว ประมาณ 36 บท ซึ่งใครๆ ก็ทำได้เอง แต่ถ้าจะเขียนขึ้นเองก็คงต้องรอให้มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้นอีกสักหน่อย หรือผ่านการ ‘บ่ม’ ตัวอย่างน้อยก็สักระยะหนึ่ง โดยบรรณาธิการ และคณะผู้ริเริ่มจะคอยช่วยดูและตกแต่งให้
 
          แรกผลิ “บทกวีดอกไม้บาน” ได้ผู้ใหญ่ 3-4 คนทางฟากทะเลอันดามัน (มหาสมุทรอินเดีย) ช่วยกันเรียงร้อยประกอบเป็นของขวัญสำหรับเด็กๆ ‘เหยื่อสึนามิ’ และขยายต่อไปสำหรับเด็กๆ ชาวใต้และเด็กๆ ทุกคนในประเทศนี้ ความคิดริเริ่มและการสร้างสรรค์ในช่วงเริ่มต้นเกิดขึ้นที่กระบี่ บทกวีบางชิ้นก็เขียนขึ้นที่เกาะบูบู ซึ่งเป็นเกาะที่ผุดขึ้นท่ามกลางแนวปะการังเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่เหนือผืนน้ำสีครามใสนอกชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายู 

             หลายคนคงนึกถึงนักกวีกลอนเปล่า (blank verses) ดีที่สุดของเมืองไทย...วินัย อุกฤษณ์ เจ้าของ ‘นักฝันข้างถนน’ และ ‘ทะเลรุ่มร้อน’ อดีตบรรณาธิการและนักหนังสือพิมพ์จากสำนักวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผ่านการทำหนังสืออาชีพทั้งที่ ‘บางกอกแมกกาซีน’ และ ‘อิมแพคท์แมกกาซีน’ เครือ น.ส.พ.บางกอกเวิร์ลด์ สู่ น.ส.พ.ประชาธิปไตย จากนั้นเป็นบรรณาธิการนิตยสาร ‘มหาชน’ บรรณาธิการนิตยสารรวมสาระและวรรณกรรม ‘ปุถุชน’ และวารสารรายสัปดาห์ ‘ชีวิต’ 

อ.วินัย อุกฤษณ์ นามปากกา "วารี วายุ"

             เขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาตั้งแต่ ‘ยุคแสวงหา’ ในรั้วมหาวิทยาลัยพร้อมๆ กับเพื่อนพ้อง ‘กลุ่มพระจันทร์เสี้ยว’ (สมัยที่นุ่งสั้นอยู่เขาเตรียมตัวทำหนังสืออยู่ที่สวนกุหลาบกับวิทยากร เชียงกูล เจ้าของ ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ จนกระทั่งเข้าธรรมศาสตร์ด้วยกัน) นักแสวงหาล้วนรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบทเพลง ‘นกสีเหลือง’ อีกสัญลักษณ์หนึ่งของการรำลึกถึง ‘เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516’ ซึ่งถูกจารึก ณ ฐานอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัวไปเรียบร้อยแล้ว
            หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เขากลับไปเรียนดำน้ำถ่ายรูปหมู่ปะการังที่บ้านเกิด ในฐานะกะลาสีเขาอยู่โยงบนเรือสินค้าที่แวะเวียนเกาะปีนังด้วยพลังชีวิตที่ได้รับการเติมเต็มขึ้นมาใหม่ หลายคนยังไม่ลืม ‘การปฏิวัติของหอยหนาม’ อันฟุ้งฝันของเขา แต่เขาลืมมันเสียสนิทเมื่อเม็ดทรายประณีตเริ่มถูกแสงแดดยามเช้าเยี่ยมทักทาย

โลกเพียงครึ่งหนึ่ง
            ความใยดีต่อเด็กๆ ของวินัย อุกฤษณ์ เจ้าของนามปากกา ‘วารี วายุ’ มีมานานแล้ว ผู้ชื่นชอบกลอนเปล่าคงเคยผ่านตาบทกวีที่ชื่อ ‘โลกเพียงครึ่งหนึ่ง’ ซึ่งเขาถ่ายทอดพันธกิจในใจกับเด็กๆ...

“ไก่ขันคืนละกี่ครั้ง
เธอไม่เคยรู้
เธอเพียงแว่วยินเมื่อยามรุ่งสาง
ขณะตื่นรับอรุณอย่างงัวเงีย

ประวัติศาสตร์ยาวนานเท่าไหร่
ทับถมไว้ด้วยอะไร
เธอไม่เคยรู้
เธอเพียงอ่านมันจากหน้าหนังสือ
และมองเห็นวันคืนอันเบิกบานเบื้องหน้า

โอ้เจ้าเด็กน้อย เหล่าเยาวชน
ฉันไม่อาจขู่เข็ญเฆี่ยนตีให้เธอเข้าใจอดีต
ฉันไม่ควรป้อนเธอด้วยอาหารขมขื่น
หากในดวงตาร่าเริงแจ่มใสของเธอ
ฉันมองเห็นแต่โลกเพียงครึ่งหนึ่ง

ในกระท่อมริมสวน
ในความมืด และความเปล่าเปลี่ยว
ฉันขับร้องเพลงเศร้าอยู่คนเดียว
ในยามที่เธอหลับนอน
ฉันซ่อนเร้นโลกอีกครึ่งหนึ่งเอาไว้
เพื่อวันคืนอันแจ่มใสของเธอ
จะไม่ถูกทำลาย”
(พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2530 ‘รำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา’)

          เขาหวงแหนและหวังถนอมเด็กจากฝันร้ายที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่และใกล้ตัว ซึ่งล้วนพวกผู้ใหญ่ ‘ตัวดี’ ทั้งนั้นเป็นผู้ก่อขึ้น ด้วยเหตุนี้ ‘โลกเพียงครึ่งหนึ่ง’ จึงถูกสงวนไว้ในความทรงจำอันเร้นลับและเจ็บปวดของกวี เพื่อปกป้องความอ่อนโยนและพลังสร้างสรรค์ของเยาวชนใหม่ที่กำลังเติบโต เด็กๆ เหล่านั้นจะได้ไม่ถูกครอบงำด้วยความสุ่มเสี่ยงอันรุ่มร้อน และความระทดท้ออันอ่อนแรงและหนาวสั่นในสำนึกของกวี เขาไม่แสดงท่าทีร้อนรนแม้แต่น้อยที่จะรีบต้อนเด็กๆ ไปเข้าคอกของผู้ใหญ่ที่กำลังสำลักชีวิต อันหนักอึ้งด้วยวีรกรรมอัปยศที่เพียรสะสมอย่างไม่ละอายแก่ใจ

           ถึงคราวจำเป็น ‘วารี วายุ’ ครูอย่างอาจารย์ยรรยง แก้วใหญ่ อาจารย์กลิ่น คงเหมือนเพชร และกวีอย่างเสน่ห์ วงษ์คำแหง จึงต้องลงมือปลูกดอกไม้เพื่อประดับในสวนของเด็กๆ ริมฝั่งตะวันตกเป็นภูมิแรก ก่อนจะขยับยักย้ายไปยังฝั่งตะวันออก สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทุกๆ ภาคของประเทศไทย “บทกวีดอกไม้บาน” เล่มแรก (ประถมศึกษา) เบิกหน้าแรกด้วยบท ‘บานชื่น’ ว่า

“ดอกบานชื่น ยื่นให้ กวีน้อย
ฝึกเรียงร้อย ชื่นชม ประถมศึกษา
เพิ่งแรกตูม ชุ่มน้ำค้าง สำอางตา
บานช้าช้า เช้าชื่น รื่นรมย์ใจ”

พอเล่ม 2 (มัธยมศึกษา) เจ้าดอก ‘ดาวเรือง’ ถูกแนะนำว่า

“ดอกดาวเรือง แรกแย้ม แต้มแต่งฝัน
น้อมกำนัล มัธยม ไว้ชมเล่น
ดั่งดาวเรือง รุ่งฟ้า พาชื่นเย็น
กวีเป็น ผู้นิมิต ชีวิตงาม”

มาถึงเล่ม 7 “ดอกไม้บาน” ก็เกือบโตเต็มวัย

“ดอกจำปูน จำหมาย ว่าไม้หอม
หมายว่าโลก ยังพร้อม ยังหอมหวาน
สวยด้วยดิน น้ำฟ้า มานมนาน
จำปูนนี้ ยังบาน หน้าบ้านเรา”

ตัวอย่าง “บทกวีดอกไม้บาน” เล่ม 1 (ประถมศึกษา)

        งานสื่อสารกับเด็กๆ ข้างต้นช่างไพเราะและลึกซึ้งถึงเพียงนี้ เมื่อพลิกดูบทอื่นๆ ภายในเล่ม จะพบเนื้อหาที่แตกต่างกันหลายระดับ ในเล่ม 1 มีบทกวีที่มีมุมมองชัดเจนเช่น ในบทที่ชื่อว่า อุทยาน สนุก  ทื่อ ฯลฯ ซึ่งอ่านง่าย เด็กสามารถอ่านเข้าใจได้เอง นอกจาก “บทกวีดอกไม้บาน” ช่วยเด็กหัดอ่าน เด็กยังจะรู้จักหัดคิดและใช้จินตนาการด้วย บางบทก็แฝงไว้ด้วยจินตนาการอิสระที่สนุก ตัวอย่างเช่น

“เดินไปกับเพื่อน
ฉันยินดีที่ได้ผจญภัย
เดินไปกับครู
ฉันยินดีที่ได้เรียนรู้” (บทชื่อ ‘เดินไป’)

“ตื่นนอน บรรจงพับผ้าห่ม
กินข้าว     แล้วล้างจาน
อ่านหนังสือ  แล้วกวาดบ้าน
เรียกว่า     หน้าที่ของเจ้าหญิงน้อย” (บทชื่อ ‘เจ้าหญิง’)

“มาซิ มาซิ มาเล่นเป่ากบ
เป่ายางคนละวง ผลัดกันคนละที
เธอเป่าความฝัน ฉันเป่าความจริง
พอวงซ้อนกัน ก็ร้องไชโย” (บทชื่อ ‘เป่ากบ’)

“เมื่อฉันได้ทำ    สิ่งดีดี
ฝูงนกในหัวใจ    พากันร้องเพลง
เมื่อฉันหลงทำ    สิ่งร้ายร้าย
ฝูงนกตกใจ    พากันบินหนี” (บทชื่อ ‘หัวใจหยั่งรู้’)

“ขยับปีก ขยับปีก วาวา
กระพือปีก กระพือปีก เหินบิน
นกเอ๋ย เจ้าไปแห่งใด
ไปขอบฟ้าไกล ที่รังสายรุ้ง” (บทชื่อ ‘นกน้อย’)

          งานบางชิ้นมีลักษณะอย่างกลอนปันตุนของมลายู ซึ่งพบในเพลงชาน้อง เพลงกล่อมเด็ก และบทร้องเพลงรองเง็งทางฝั่งตะวันตก ตามคำอธิบายของวินัย อุกฤษณ์ ดังเช่น

“เรือกาบมะพร้าว ออกท่องทะเล
นกนางนวลมาเกาะก็ปริ่มจม
เป็นนักเรียน มีความรู้น้อย
พบข้อสอบยาก ก็พาตัวไม่รอด” (บทชื่อ ‘หนักเกิน’)

“ดอกไม้บานเพื่อทักทายฝูงผึ้ง
ผึ้งช่วยเนรมิตผลไม้หวานฉ่ำ
ถ้อยคำไพเราะเพื่อสร้างมิตรภาพ
คำพูดไม่ดี ไม่พูดดีกว่า” (บทชื่อ ‘ภาษาดอกไม้’)

            น่าสังเกตที่กลอนแบบ ‘เซ็น’ ปรากฏเป็นบทสุดท้ายของเล่ม 1 อย่างน่าคิด

“โตแล้ว
ไม่ต้องป้อนข้าว
อ่านกวีนิพนธ์แล้ว
ไม่ต้องอธิบาย” (บทชื่อ ‘ซึ้ง’)

ตัวอย่าง “บทกวีดอกไม้บาน” เล่ม 2 (มัธยมศึกษา)

      เนื้อหาเริ่มเข้มข้นขึ้น สองบทแรกเขียนถึง ‘กวี’ โดยเฉพาะ

“ปลาสร้างเท้าเพื่อเดินขึ้นฝั่ง
นกสร้างปีกเพื่อบินสู่ท้องฟ้า
โอ้ มนุษย์ผู้ช่างฝัน
เพียงสร้างภาษาเพื่อเขียนบทกวี” (บทชื่อ ‘นักฝัน’)
 
“สายฝน ดูแลต้นไม้
แสงแดด ดูแลดอกไม้
จินตนาการ สร้างความหมาย
ถ้อยคำ สร้างบทกวี” (บทชื่อ ‘บทกวี’)

         ถัดไปบทกวีเร่งเร้าให้นักเรียนกระตือรือร้นที่จะศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยไม่ควรถูกลงแส้ด้วยเหตุปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจากครู พ่อ แม่...

“นกอิสระไม่ร้องแข่งขัน
เหินบินสู่ดงลูกไม้สุกสะพรั่ง
นักเรียนผู้มีหัวใจอิสระ
แสวงหาความรู้อย่างเบิกบาน” (บทชื่อ ‘อิสรภาพ’)

“อัจฉริยะกำเนิดดั่งทารก
เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ
ฝึกฝนเรียนรู้อยู่เนิ่นนาน
ครั้นแล้ว ภูมิปัญญาก็เปล่งประกาย” (บทชื่อ ‘สั่งสม’)

        สารในเล่มนี้ส่วนใหญ่มุ่งชี้แนะ ‘ทัศนคติต่อชีวิต’ หลากหลายระดับ ซึ่งนับว่าสำคัญยิ่ง ‘ทางสายกลาง’ ถูกแนะนำเป็นพิเศษ เช่น

“น้ำขังนิ่ง มักเป็นน้ำเน่า
น้ำไหลเชี่ยว มักกัดเซาะทำลาย
คนสร้างสรรค์
ต้องไหลนิ่ง” (บทชื่อ ‘สายกลาง’)

“เข้าใกล้ไฟ ถูกไฟไหม้
อยู่ห่างไกล กลับหนาวเย็น
ปรารถนาไออุ่นจากมิตรภาพ
ต้องห่างอีกนิด ชิดอีกหน่อย” (บทชื่อ ‘ผิงไฟ’)

“มองไกล เห็นภูเขางดงาม
เข้าใกล้ พบผาสูงยากป่ายปีน
วัยเรียน มิตรภาพงดงาม
รอเรียนจบ ค่อยคิดหมั้นหมาย” (บทชื่อ ‘รอ’)

“ยามดึกเสียง กรอด กรอด กรอด
หนูกัดแทะข้าวของ
ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก เสียงนาฬิกา
เวลากัดแทะคนเหลวไหล” (บทชื่อ ‘กัดแทะ’)

“ทะเลห่วงใยแม่น้ำ
แม่น้ำห่วงใยสายธาร
สายธารห่วงใยป่าเขา
ขั้วโลกละลาย หลั่งน้ำตาให้มนุษย์” (บทชื่อ ‘โลกร้อน’)

ตัวอย่าง “บทกวีดอกไม้บาน” เล่ม 7 ‘แด่บ้านเกิด’

       สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกวีฉันทลักษณ์ซึ่งมีน้ำเสียงงดงาม ให้ทั้งแง่คิด คติธรรม สะท้อนชีวิตชนบท ฉายธรรมชาติให้เห็นความงามแท้ผ่านบทร่ายลำนำบริสุทธิ์ เสน่ห์ วงษ์คำแหง ‘คนปลูกดอกไม้’ ในเล่มนี้ ทำได้อย่างน่าชื่นชมทีเดียว

“กำชำ แตกช่อ รอเด็กด้น
ป่ายปีนต้น หักกิ่ง ชิงหน้าเพื่อน
เจ้าน้องน้อย ตัวเล็ก ร้องเรียกเตือน
อย่าแชเชือน รีบแบ่ง อย่าแกล้งน้อง” (บทชื่อ ‘กำชำ’)

“พายุมา ไม้อ่อน ผ่อนเอนลู่
ไม้ใหญ่สู้ ต้านลม ล้มโค่นหัก
หัดรู้ยอม เสียบ้าง เว้นวางวรรค
รู้ผ่อนหนัก ปล่อยละ ชนะชัย” (บทชื่อ ‘รู้ยอม’)

“รุ่งอรุณ ไขแสง แต่งขอบฟ้า
แมงมุมตื่น ขึ้นมา ทำหน้าที่
พร้อมชีวิต อื่นอื่น ชื่นชีวี
เพราะโลกนี้ ชั่วขณะ ภาระงาน” (บทชื่อ ‘ตื่น’)

“ว่าบุหงา ตันหยง ดงปาหนัน
เตยเลนั้น เพราะพร้อง นามท้องถิ่น
เหลืองดอกนวล ดมดอม หอมรวยริน
งามมิสิ้น เมียงหมาย อยู่ชายเล” (บทชื่อ ‘เตยเล’)

เด็กๆ ชายแดนใต้จะได้อ่านหรือเปล่า

กัณหา แสงรายา


           สามจังหวัดชายแดนใต้มีโลกทางวัฒนธรรมที่งดงามของตนเอง ผู้ที่อยู่ในระบบโรงเรียนส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายู ซึ่งพูดภาษามลายูในชีวิตประจำวัน วินัย อุกฤษณ์ บอก กัณหา แสงรายา ในฐานะคนฝั่งทะเลตะวันออก อดีตผู้สื่อข่าว ‘ปุถุชน’, สต๊าฟ ‘โลกหนังสือ’ และอดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘ต้นหมาก’ และบรรณาธิการเฉพาะกิจสำนักพิมพ์ดวงกมลในอดีต ให้ร่วมเป็นคนปลูกดอกไม้อีกคนหนึ่ง เพื่อประดับสวนพฤกษาพรรณของเด็กๆ ที่พูดมลายูเหล่านั้นได้มีสื่อสำหรับอ่านบ้าง บัดนี้เธอลงมือเขียนได้ 7 บทแล้ว ลักษณะคล้ายบทกวีปันตุน (Pantun) ซึ่งใช้การสัมผัสแบบ ab-ab ตามลักษณะกวีนิพนธ์มลายูยอดนิยม แต่เนื่องจากเขียนเป็นภาษาไทยจึงเป็นเรื่องยากไม่ใช่น้อยที่จะสมรูปกันได้สนิท คงเก็บได้เฉพาะ ‘คอนเซ็ปต์’ (concept/มโนภาพ) ของกวีนิพนธ์ในรูปแบบนั้นเท่านั้น ลองดูตัวอย่าง

1. บท ‘พอเพียง’
บุหลันลอยเลื่อน ยามสองดึกสงัด
ไก่ป่ายังไม่ตื่น มิทันส่งสำเนียง
นั่นพี่นี่น้อง กำลังเฮี้ยวจัด
ชกต่อยฟัด ตะลุมบอนแต่พอเพียง
(บุหลัน=ดวงเดือน)

2. บท ‘ไปโรงเรียน’
บุหรงน้อย บินวนว่ายฟ้า
ดอกชบา ทัดอยู่ที่หูเงาะ
ไปโรงเรียน ได้ขี่บาทา
ไปตาดีกา ดีกว่าไปยาเงาะ
(บุหรง=นก, เงาะ=ชนเผ่าดั้งเดิม, ตาดีกา=โรงเรียนพื้นฐาน, ยาเงาะ=แต่งตัวสวย หล่อ เริ่ด)

3. บท ‘หัวกะทิ’
กะลาป๋า เปลือกแข็ง แรงขยัน
ผ่าแตกพลัน ได้น้ำหอม หัวกะทิ
เด็กน้อย อ่านเขียน เพียรมุ่งมั่น
ครูชมนั่นละเด็กหัวกะทิ
(กะลาป๋า=มะพร้าว)

4. บท ‘น้องกับพี่’
บุหรงกะตีเตร์ ชอบร่ำร้องเพลง
บุหรงกะตูโตร์ ชอบพร่ำคำโต
น้องคนเล็ก ชอบเต้นรองเงง
พี่คนโต ไยชอบคุยโว

5. บท ‘ถึงจะไม่ดี’
ตากใบเรือ ที่ท่าหาดทรายขาว
มะขามป้อม ว่าเปรี้ยวยังอมหวาน
เด็กดียายว่า ไม่หลังยาว
ถึงไม่ดี ก็อย่าร้ายเที่ยวระราน

6. บท ‘คำแม่-คำลูก’
นกคุ่มจิกเหยื่อ ในดงหญ้าคา
บุหงาจำปี ปลูกที่ตีนกะได
คำแม่ ลูกก็รู้ว่ามีค่า
คำลูกยา แม่ก็รู้ว่ายิ่งใหญ่

7. บท ‘อย่าหลับตา’
เส้นด้าย เอาไว้ ปะชุนผ้า
เส้นยา เพื่อนเอามา จากเมืองคอน
เข้าเมือง เจ้าอย่าหลับ นะแก้วตา
กลับบ้านป่า เจ้าค่อย ปิดตานอน
(เมืองคอน=นครศรีธรรมราช)

บทส่งท้าย
ที่จริงกวีขับขานความเงียบตลอดเวลา แต่ความเงียบได้ยินไปทั่วโลกตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ กวีไม่ต้องการกระดาษ ต่างจากจิตรกรซึ่งต้องการพื้นที่เพื่อนิรมิตกรรมของตน กวีรวมถ้อยคำของเขากู่ก้องผ่านอากาศธาตุ ผสานกับวลีทั้งมวลที่หูทิพย์ได้ยิน แต่หลายครั้งกวีก็จำต้องนิ่งงัน...

“เมื่ออีกาส่งเสียงร้อง
นกเขาเสียงทองก็หยุดขัน
เมื่อสื่อสร้างกระแสคลั่งไคล้
ปราชญ์และกวีก็นิ่งเงียบ” (บท ‘เสียงเงียบ’)

คนปลูกดอกไม้พยายามปิดปากตัวเอง แต่บทกวีก็ยังคงหลั่งไหลออกมาไม่เคยขาดสาย

ที่มา...http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=3362&Itemid=88

 

เรื่องบทกลอน บทกวี นี้เป็นเรื่องสำคัญมากเชียวครับ เพราะ เขาถือว่าเป็น “ยอดมงกุฎของงานวรรณกรรม” เลยทีเดียว ก่อนหน้ากิจกรรมเข้าค่ายที่นี่ มีกิจกรรมด้านวรรณกรรมและห้องสมุดของ ทีเค พาร์ค ที่มี กวี “วารี วายุ” หรือวินัย อุกฤษณ์ พร้อมด้วย อ.ยรรยง แก้วใหญ่ ครูภาษาไทยคนเก่งของปักษ์ใต้ มาเป็นวิทยากร ณ โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ อ.ชุมแสง บ้านผม เราได้คุยกันถึงทิศทางการเรียนการสอนบทกวีในโรงเรียน ระดับประถม มัธยมโดยคุณวินัย อุกฤษณ์ ได้ให้ข้อคิดไว้น่านำไปคิดต่อและปฏิบัติว่า บทกวี มีไว้สำหรับให้เรียนรู้โลก และชีวิต เริ่มจากรู้จักตนเอง รู้จักคนอื่น รู้จักธรรมชาติ สังคม ในมิติลึก  คำประพันธ์เป็นสื่อ หรือสะพานไปสู่การเข้าถึงความจริง ความงาม ความดี โดยครูผู้สอนจะต้องเดินเคียงข้างไปกับผู้เรียน นำพาไปสู่ความลึกซึ้ง ในสุนทรียภาพแห่งบทกวี

ที่มา..คมชัดลึก

ทายหน่อยค่ะ.อวินัย หรือ วารี วายุ คนไหนเอ่ย...ยังมีเคล้าอยู่นะ..อ.ยรรยงคนขวาสุดและอ.บุญช่วยคนซ้ายสุด

กวีดอกไม้บานรุ่นที่2 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

 

 

หมายเลขบันทึก: 261724เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2009 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (64)

ยกตัวอย่างการแต่งกลอนตั้งชื่อตัวเองที่แต่งมานานแล้ว..และมาอบรมกับอาจารย์..จึงรู้ว่าไม่ผิดแต่อย่างใด..เพราะกวีมาจากหัวใจ..และชื่อของเราคือพรของพ่อแม่ที่มอบให้กับเราด้วยความรักตั้งแต่แรกลืมตามาดูโลกใบนี้....

 

 

..น้องอ้อยเล็กขา..

พี่อ้วนก็เคยร่วมสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนเขียนกวีกับท่านอาจารย์วารี วายุ และ อาจารย์ยรรยง แก้วใหญ่ด้วยค่ะ..

กวีดอกไม้บาน..ที่แม่ออน

 

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ ชื่นชมกวีทุกท่านค่ะ

เมื่อกวีเด็กแต่งกลอน..ณ ปัจจุบันนี้จบม.6แล้ว

ด.ญ.วิลาสินี หัสกิจ

 

 

 

ครูแต่งมั่งตอนนั้นสนุกมากค่ะ...

เอาดอกไม้บานมาฝากจ้ะน้องอ้อย  :  ดอกพุดสามสี

นี่ก็ดอกไม้บานจ้ะ  :  ดอกยี่เข่ง

ดอกไม้ไทย ๆ หาดูยากจ้ะ  :  ดอกยี่หุบ

 

ดอกไม้บานสีเหลืองจ้ะ  :  ดอกคีรีบูนเหลือง

 

ยังไม่ได้แต่งกลอนเพิ่มเอาดอกไม้มาฝากไว้ก่อนนะค่ะท่านสมาชิกที่รักทั้งหลาย....

          ฝนมาฟ้าหม่น

ฝนมาฟ้าหม่นหมองศรี

ดุจฤดีพี่เศร้าฉ่ำหนาว

ฟ้าร้องคล้ายพี่ครวญคร่ำ

ฟ้ากำสรวลพี่สั่นสุดหนาว

ฟ้าแปลบแปลบพี่แสบทรวง

ฟ้ามาลวงฝนมาซ้ำพี่ช้ำใจ.....

               อ้อยเล็ก

สวัสดีค่ะขอบคุณที่ไปทักทายนะคะ

ทำให้ได้มาอ่านกลอนดีๆ

ชอบมากๆค่ะ...หลายๆบท...

ว่างๆจะมาอ่านอีกรอบนะคะ

 

ไปออกหน่วยเด็กทุพโภชนาการที่บ้านน้ำพุร้อน (บนดอย) เห็นภาพนี้แล้วอยากให้ท่านกวี ประพันธ์บทกวีให้ด้วยค่ะ

แต่งกลอนมาให้ค่ะคุณน้อยหน่าไม่ทราบว่าจะถูกใจไหม...

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึงค่ะ

สบายดีนะคะ

(^__^)

เอามาฝากผู้มาเยือนทุกท่านค่ะ..เป็นกำลังในวันดีค่ะ...

สวัสดีค่ะ

เอาดอกไม้มาฝากเจ้าของ blog.

  • ตามกวีจรมาค่ะ อิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 ตามมาแล้วหาทางกลับถูกไหม....

สวยๆ ชื่นตาชื่นใจมากนะจ๊ะ

.....รักน้องอ้อยจ้ะ...

ขอบคุณค่ะพี่สาว..ดีใจค่ะที่อ่านชื่นตาชื่นใจค่ะ..

 

จุดดำบนท้องฟ้าสวยงามคืออะไรจ๊ะน้องอ้อย

ถนนนี้ไปสวนผลไม้น้องอ้อยป่ะจ๊ะ..งะงะงะ..

......รักน้องอ้อยจ้ะ...

เลนซ์กล้องมันเปรอะค่ะอิๆๆๆขอบคุณค่ะพี่สาวช่างสังเกตอีกต่างหากงิๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ ...ยังคิดถึงและห่วงใย...

มีความสุขมากๆนะคะครูอ้อยเล็ก...

คริ คริ อิอิอิ ฮิฮิฮิ ฮะฮะฮะ งะงะงะ ชมกันอีกแว้วว

ดีใจจ้ะที่ชม ชื่นตาชื่นใจมากนะน้องอ้อย เพื่อนพ้องน้องพี่น่ารักทั้งนั้นเลย แล้วเราจะแยกทางเดินกันได้อย่างไร

....คริ คริ อิอิอิ ฮิฮิฮิ ฮะฮะฮะ งะงะงะ .....

..แล้วคุยกันใหม่จ้ะ..รักนะ..จุ๊บๆๆๆๆๆ...

ขอบคุณค่ะพีแดงเป็นกำลังใจให้กันและกันนะคะ...

ขอบคุณพี่สาวคนสวย..เรารักกันนะ..

อยู่ที่ไหนดวงใจเฝ้าใฝ่หา

อยู่ลับตาแต่ใจเราเฝ้าชิดใกล้

ถึงเวลามาหากันคราใด

ปากกับใจตรงกัน "ฉันรักเธอ"

.....จากใจจริงจ้ะ...

รักพี่สาวเสมอจ้า...น้องอ้อยเล็ก

ขอบคุณมากนะคะ ที่เข้าไปเยี่ยมบล็อคไต้เห็ดคะ  พี่เลยมาหาอะไรอ่าน เจอกวีบานในหัวใจ  บานจริงๆคะ  อยากแต่งตอบเพราะ วันนี้อารมณ์สร้างไม่ได้เลยคะ

ขอบคุณที่ชวนไปร่วมงานนะคะ น้องอ้อยเล็กไปร่วมด้วยใช่ไหมคะ

คิดถึงและห่วงใยเสมอคะ รักษาสุขภาพด้วยะค

เมื่อเสร็จงานมาขานไขให้ชื่นจิต

ทุกคนคิดคำนึงคิดถึงหนา

วันเดือนปีที่ผ่านกาลเวลา

ขอแก้วตาได้ดีเด่นเป็นครูดี

......ขอให้สมหวังนะจ๊ะน้องรัก..

ขอบคุณค่ะพี่สาว..ขอให้มีความสุขเช่นกันจ้า...รักนะจุ๊บๆๆๆๆ

สุดรักสุดคิดถึง

อยากจะบอกน้องสาวพี่ว่า

มีกำลังใจให้เสมอ

...รักจังอ่ะ..จุ๊ฟฟฟฟฟ

สวัสดีจ้ะ

ไม่ค่อยได้ทักทายกันเลย แต่คิดถึงอยู่เสมอ ๆ นะคะ

ชอบบทนี้จัง.....
“อัจฉริยะกำเนิดดั่งทารก
เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ
ฝึกฝนเรียนรู้อยู่เนิ่นนาน
ครั้นแล้ว ภูมิปัญญาก็เปล่งประกาย” (บทชื่อ ‘สั่งสม’)

ขอบคุณค่ะ

(^____^)

ฝนพร่างพราวไร้ดาวเกลื่อนกลาดฟ้า

คิดถึงคราเราร่วมสุขสนุสนาน

มาวันนี้ยิ่งสนุกสุขชื่นบาน

ได้มาอ่านเขียนตอบแสนชอบใจ

กลอนเพราะมากค่ะขอบคุณนะคะพี่สาวน้องอ้อย..รักนะคะจุ๊ฟๆๆ

ดอกไม้บานบ้านนี้สีสดสวย

ต่างมาช่วยแต่งแต้มแซมสีสัน

หอบความสุขปลุกปลอบมอบรักกัน

ทุกคืนวันหมายมั่นให้ฝันดี.....นะจ๊ะ..จุ๊บบบ

ดอกไม้บานมอบรักให้พี่สาว

สัมพันธ์สานบอกรักไม่หวั่นไหว

สิ่งใดๆพลาดไปช่วยขัดเกลา

ยังอ่อนเยาว์รู้เท่าไม่ถึงการณ์...

 

....สุนทรีย์มีในใจวาจา

อีกเพียบพร้อมกิริยาภาษาสื่อ

ต่างช่วยกันสรรค์สร้างไม่วางมือ

ภาษาสื่อมาจากใจใส่บทกลอน

....กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด

กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร

วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร

อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ

....ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส

สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน

เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ

เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันนี้เอย

.....ศึกษาตรงนี้นะจีน้องรัก..จุ๊บ..บาย..

ขอบคุณค่ะพี่สาวน้องอ้อย..พี่สาวฝันดีนะคะ..

พี่สาวน้องน้อยจ้ะ

รักน้องอ้อยคนดี

ชอบดอกกาสลอง

รูปหัวใจในบล๊อกอ้ายก้ามกุ้งจังอ่ะจ้ะ

รักทุกวันจ้ะ..จุ๊บๆๆๆ..บาย..

ไม่มีรูปอรุณสวัสดิ์พี่สาวน้องอ้อยที่รักยามเช้า...เอาดอกไม้มาฝากค่ะ..

ขอทุกท่านมีความสุขกับการทำงานนะคะ..

คิดถึงค่ะ..มีความสุขกับงานนะคะ

Pคิดถึงเช่นกันค่ะพี่ศน....

เสียงเพรียกหาหวีดร้องต้องรู้สึก

มันกรีดลึกอารมณ์พรมพาหา

เจ้าของเสียงร้องเรียกที่เพรียกมา

พลันน้ำตาไหลพรากเมื่อจักเจอ

เด็กน้อยน้อยร้องหาแม่จ๋าอยู่

กายคุดคู้คลานหาคลาคนเผลอ

สะอื้นกายสั่นระรัวกลัวละเมอ

แค่เพียงไม่ได้เจอ แม่อยู่ใกล้และไร้เงา.......

  • คิดถึงน้องอ้อยมากมาย ทำอะไรบ้าง
  • พี่ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก เนตล่มตลอด
  • วันนี้มีเครื่องโน้ตบุ๊ค จากลูกชายก็เลยมาทักทาย
  • น้องจ๋าสบายดีนะจ๊ะ บายจ้ะ

30..ไพพรร..กลอนซึ้งดีค่ะ..ขอบคุณนะคะที่ร่วมแจม...

30..ตอนนี้เล่นได้สบายแล้วเน๊าะพี่ตุ๊เนาะ...เขียนบล็อกได้อีกต่างหาก..เก่งจังเลย....

            ตามรอยรายทายทางอย่างมุ่งหวัง

      มาพบผึ้งรวงรังลิ้มรสหวาน

      มีภาพเสริมเติมถ้อยในรอยกานท์

      จึงซาบซ่านเมื่ออ่านผ่านบันทึก

30ไม่เป็นอะไรค่ะ..คุณล่ะคะสบายดีหรือปล่า...หรือว่าไม่สบายถึงได้ล่องหนไปมาอิๆๆๆ

สุนทรอ้อย

หลานสุนทรภู่

อิอิๆๆๆๆๆๆ

อย่าเปรียบเทียบขนาดนั้น..ท่านเป็นบรมครู...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท