ร่วมโครงการสร้างคลังความรู้ ( Knowledge Base ) และการแลกเปลื่ยนความรู้ มทร.7 แห่ง


การแลกเปลื่ยนความรู้ มทร.7 แห่ง

วันที่ 7 ไปราชการราชบุรีกับหัวหิน กลับมาค่ำมากแล้วจึงไม่ได้เข้าสำนักงาน พอเปิดอีเมล์ก็พบจดหมายแจ้งให้เข้าร่วมงานสัมมนาโครงการสร้างคลังความรู้ ( Knowledge Base ) และการแลกเปลื่ยนความรู้ มทร.7 แห่ง วันที่ 12-13 เลยกลายเป็นว่า เดือนนี้ไม่มีเวลาเข้าสำนักงานเลยถึง 2 สัปดาห์ เพราะว่า 14 ก็ต้องไปประชุมกรรมการ IRVE ที่สถาบันพัฒนาครูอาชีวศึกษา รามอินทรา ส่วน 15 ก็ไปราชการราชบุรีกับหัวหินอีกรอบ

เนื้อหาในเอกสารแจ้งก็เหมือนกับให้ไปร่วมสัมมนาธรรมดาๆ แต่พอไปถึงปรากฎว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ว่า กลับกลายเป็นเปิดเวทีให้แต่ละเรื่องขึ้นมาเล่าให้ฟัง มีทั้งสิ้น 8 เรื่อง พร้อมรายชื่อคนพูด ดังนี้

1.สมรรถนะ (Competencies)
    นางศิริพร กาฬกาญจน์
    นางสาวพัชราภรณ์ จันทร์ฉาย (มทร.สุวรรณภูมิ)
    นายสันติ สถิตวรรธนะ (มทร.ศรีวิชัย)

2.E-document
    นายสุวุฒิ ตุ้มทอง (มทร.สุวรรณภูมิ)
    นางสาวเพชราภรณ์ เพ็ชรแก้ว (มทร.พระนคร)

3.E-service
    นายสันติ สถิตวรรธนะ (มทร.ศรีวิชัย)
    นายสุทิน เกษตรรัตนชัย (มทร.สุวรรณภูมิ)

4.PMQA
    นายอนันต์ เตียวต๋อย (มทร.รัตนโกสินทร์)

5.ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยท้องถิ่น
    ดร.วทัญญู รอดประพัฒน์ (มทร.ตะวันออก)

6. QA ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ผศ.แก้วตา ขาวเหลือง (มทร.พระนคร)
    นายเสนอ สะอาด (มทร.ศรีวิชัย)

7.การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน
    อาจารย์สุวรรณ ประทีป ณ ถลาง (มทร.รัตนโกสินทร์)
    ผศ.ดร.ธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล (มทร.ศรีวิชัย)
    ผศ.จุฑา พีรพัชระ (มทร.พระนคร)
    นายธราดล ดวงสุภา (มทร.ล้านนา)

8.การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูล
    นายสมศักดิ์ นุ่มอุดม (มทร.รัตนโกสินทร์)
    นายเอกชัย แซ่จึง (มทร.อีสาน)

ดูทิศทางลม (รายชื่อคนพูด) แล้วจะเห็นว่าไม่สัมพันธ์กับการจัดงาน ก็ได้ทราบจาก ผอ.สุวุฒิ แม่งานใหญ่ของสุวรรณภูมิว่า การส่งชื่อมาไม่ได้ระบุว่ากลุ่มไหน เข้าใจว่าที่ระบุมาก็คงมีแต่ พระนคร (ตัวรับผิดชอบหลัก) กับ รัตนโกสินทร์ ครั้นไปสอบถามจาก ผอ.ประกัน (อนันต์) ของรัตนโกสินทร์ ก็บอกว่าที่ส่งชื่อมาตามกลุ่มก็คิดว่าเป็นการแยกกลุ่มเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม

เป็นอันสรุปได้ว่า พูดกันคนละเรื่องเดียวกัน เลยไม่เข้าใจกัน เอาล่ะ ไม่เป็นไร ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว มาถึงขั้นนี้แล้ว ผอ.สุวุฒิ ถามว่าช่วยพูดได้หรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าได้

เลยเป็นอันว่า หัวข้อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มีการแบ่งปันประสบการณ์กันมากที่สุด ถึง 4 มทร.ด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อสรุปได้ว่า งานถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นงานที่ มทร. ถนัดทำมากที่สุด (เลยมีความรู้มาแลกเปลี่ยนกันมากที่สุด)

ซึ่งหน่วยงานที่มาพูด ก็เป็นตัวแทนงานอันหลากหลายมาก เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนจากทุกระดับก็ว่าได้ นั่งฟังและนั่งพูดแล้ว ก็สรุปได้ว่า มทร. ของเราเป็นเครือข่ายที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับโลก อย่าง ของล้านนา ซึ่งรับผิดชอบโดยโครงการ คลังความรู้ชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับชาติ ลงทุนไปถึง 200 ล้านบาท ที่ส่งผลงานไปคว้ารางวัลในระัดับเหรียญทองในงานระดับนานาชาติมาแล้ว

ของพระนคร รับผิดชอบโดย คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา ก็เป็นงานระดับชาติที่หน่วยงานอย่างกระทรวงวิทย์ฯ นำไปเป็นโครงการตัวอย่าง นำเสนอออกรายการ science hits ทางทีวี ๑๑ ตลอดจนเชิญไปเป็นหน่วยงานประเมินให้กับโครงการของกระทรวง (ได้เรื่องรับงานภายนอกไปอีก) นับได้ว่าก้าวไปสู่ขั้นระดับชาติจริงๆ

ของศรีวิชัย ก็มาเล่าประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรในภาคใต้ จากฐานเดิมของเกษตรไสใหญ่ เรื่่อยมาจนถึงปัจจุบัน เห็นได้เลยว่า ศรีวิชัยนั้น ด้านเกษตร ซึ่งมีหลักทั้งสองฝั้งของด้ามขวาน คือนครและตรัง ได้ดูแลถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

ส่วนของเรา รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะเล็กกว่าเพื่อน เพราะเป็นระดับจังหวัด แต่ชุมชนที่เราดูแลมาใน 2 ปีนี้ ก็ประสบความสำเร็จนับได้ว่าก้าวกระโดดทีเดียว เพราะจากหัตถกรรมของชุมชน เมื่อผสานกับเครื่องหนังเข้าไป สามารถนำไปวางขายได้ถึง siam discovery หรือ paragon เลยทีเดียว การตอบรับก็เรียกได้ว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ยิ้มกว้างทีเดียว

ส่วนงานบริการด้านต่างๆ ของรัตนโกสินทร์ที่นำไปฉายภาพพร้อมกัน คือการบริการต่างๆ ที่นโยบายเริ่มออกมาว่าจะผลักดันให้แต่ละหน่วย ผันสินทรัพย์ของตัวเองออกมาทำรายได้ ในลักษณะให้บริการไปพร้อมๆ กัน เช่น ศุนย์การพิมพ์ ศูนย์อบรมสัมมนา ศูนย์บริการออกแบบ

นอกจากนั้น ยังได้นำแนวความคิดการบูรณาการงานวิจัยเข้ากับงานสอน เพื่อไปให้ถึงการบริการวิชาการต่อสังคมตามแนวคิด รวมกลุ่มอาจารย์ฺเป็น Research Group เพื่อก้าวสู่ Research Network และขยายเป็น Center of Excellence ด้านต่างๆ เช่น ด้านออกแบบ ที่ได้เริ่มก้าวย่างอย่างช้าๆ ตอนนี้เราผลักดันให้เกิด Research Group ทางอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ทางการออกแบบอุตสาหกรรม และทางการวัสดุในงานสถาปัตยกรรม หากทั้ง 3 กลุ่มนี้เติบโตและก้าวข้ามความร่วมมือระหว่างกันได้ ก็น่าจะเกิด Research Network และไปถึง CoE ได้ในไม่ช้า ซึ่งหากโมเดลนี้สำเร็จจริง ต่อไปคงขยายไปให้ทั่วทั้ง 6 คณะ

พูดเสร็จเขาก็ให้ของที่ระลึกมา เป็นปากกา Parker 1 ด้าม เปิดมาเป็นสีประจำ มทร.รัตนโกสินทร์เสียด้วย

หมายเลขบันทึก: 260999เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 03:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท