การ จัดการศึกษาเพื่อรับมือกับการเปิดเสรีด้านแรงงานภายใต้การรวมตัวกันเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศไทย : คำถามที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมไทย


เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

การรวมตัวกันเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ชาติในอนาคตอันใกล้นี้ จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม  การเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา หนึ่งในประเด็นใกล้ตัวที่สุดที่เรายังไม่ได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้ คือการจัดการศึกษาของประเทศไทย วันนี้บัณฑิตของเราพร้อมที่จะก้าวออกไปสู่ตลาดแรงงานสากลแค่ไหน ในขณะที่นักศึกษาต่างชาติไม่ว่าจะเป็นในเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ที่จะกลายเป็นกลุ่มแรงงาน ได้เริ่มยกระดับเข้าสู่มารตรฐานแรงงานสากล 

แล้วประเทศไทยของเราล่ะ อนาคตอยู่ที่ตรงไหน?

*************************************************************************************

ผมเขียนงานชิ้นนี้ขึ้นหลังจากกลับถึงประเทศไทยได้สามวัน แรงบันดาลใจในการเขียนงานชิ้นนี้มากจากการได้พูดคุยสัมภาษณ์กับอดีตนักเรียนไฮสคูลชาวออสเตรเลียคนหนึ่งซึ่งปัจจุบันกำลังทำงานเป็น apprentice ผู้ฝึกหัดเป็นเชฟอยู่  ผลการคุยทำให้ผมรู้สึกว่าการศึกษาบ้านเรายังล้าหลังอยู่อีกมาก สิ่งที่ล้าหลังไม่ใช่เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์การสอน แต่เป็น แนวคิดในการสอน เพราะเป็นเรื่องแปลกมากที่เด็กไทยสอนเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยจะสามารถคิดเองเป็น ต้องคอยป้อนข้อมูลให้ และนิสิตนักศึกษาของเราส่วนใหญ่ก็จะ ท่องจำกัน แต่ไม่สามารถเข้าใจและนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ได้อย่างแท้จริง (ผมไม่ได้โทษใครนะครับ เพราะถ้าจะมีใครผิด ผมในฐานะบุคคลากรทางการศึกษาของชาตินี้ก็เป็นคนหนึ่งแหละ ที่ต้องยื่นอกรับความผิดพลาดของเรา) รวมทั้งทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และศาสตร์อื่นๆที่อ่อนด้อยของเรา สิ่งเหล่านี้เองนำมาซึ่งความกังวลของผมเองที่ว่า หลังจากมีการเปิดตลาดแรงงานเสรีในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว นักศึกษาจากประเทศอื่นก็คงจะมีการไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยบ้างแหละ คำถามคือ บัณฑิตและนิสิตนักศึกษาของเราพร้อมรับกับการแข่งขันจากต่างประเทศที่จะมาถึงนี้แล้วหรือยัง หรือสถาบันการศึกษาของเราได้เตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนี้อย่างไร ในมุมหนึ่งการเปิดเสรีด้านรงงานในหมู่ประเทศประชาคมอาเซียน เพื่อนำไปสู่ระบบตลาดร่วมดังเช่นในสหภาพยุโรปก็เป็นความพยายามที่น่าชื่นชม แต่ขณะเดียวกัน การเปิดตลาดโดยไม่ดูความพร้อมและไม่มีการเตรียมรับมือที่เหมาะสมก็นำไปสู่ความวิบัติได้ไม่แพ้กัน คงไม่มีใครอยากเห็นภาพบัณฑิตไทยตกงาน ทั้งๆที่ เราสามารถไปทำงานที่ต่างประเทศในประชาคมอาเซียนได้โดยเสรีนะครับ

******************************************************************************

การเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศจีนบทเรียนที่ไทยไม่เคยจำ และไม่ยอมรับผิด

"คนไทยไม่เคยกลัวอะไร.... เรากลัวแค่ความจริง..."

                                                     ...เซ็นเซอร์...

การเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศจีนที่ประเทศไทยคาดหวังหนักหนาว่าจะเป็นหนทางนำพาประเทศไปสู่ความมั่งคั่งนั้น กลับกลายเป็นเพียงกระแสลมปากของนักการเมืองผู้ต้องนิราศจากประเทศไปด้วยผลของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พร้อมๆ กับความวิบัติของสินค้าเกษตรของไทย

-สินค้าโครงการหลวงจากยอดดอยเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นขายไม่ออก

-การเปิดการค้าเสรีเริ่มในช่วงต้นฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้จีนออกสู่ตลาด แทนที่จะเป็นช่วงฤดูร้อนที่ผลไม้ไทยออกสู่ตลาด

-กองเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงแทบจะทั้งหมดเป็นของบริษัทจีน

-เขื่อนเปิดปิดน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน

-คนที่อำเภอเชียงแสนเป็นได้เพียงกุลีขนของ ในบางกรณีที่คนจีนไม่เป้ฯที่ต้องการเท่านั้น

- เกิดแนวความคิดนิคมอุตสาหกรรมที่อำเภอเชียงแสน และเชียงของ อันนำไปสู่ความกังวลกับผลกระทบด้านวัฒนธรรมอย่างมหาศาลที่จะตามมา

-ประเทศไทยถูกกีดกันการค้าจากประเทศจีน โดยผลของกฎหมายภาษีท้องถิ่นของจีนในมลฑลต่างๆ ที่ไม่เท่ากัน ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้

- คนไทยบริโภคผลไม้เมืองหนาวในราคาถูกจากประเทศจีนทั้งๆ ที่ทราบถึงคุณภาพที่แย่และสารพิษปริมาณมหาศาลที่ตกค้างในผลไม่เหล่านี้

..............................................

เรายอมรับความเป็นจริงกันหรือยังว่าหมากเกมส์นี้เราแพ้...? (นี้เป็นเพียงการประเมินจากสายตาของผมเอง ไม่บังคับให้ใครเชื่อ และ ถ้าใครมีข้อมูลดีกว่าก็หักล้างได้ครับ)  แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้นำมาสู่คำถามที่ว่าเราทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยที่เราจะไม่เตรียมรับมือกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เลยหรือ? จะต้องรอให้วัวหายแล้วจึงล้อมคอกอีกกี่ครั้งเราถึงจะจำบทเรียนนี้ได้

ใครมีความรู้และเวลาลองศึกษาดูประเด็นเหล่านี้จะดีไหมครับ ถ้ามันเป็นหัวข้อวิจัยที่หาทุนได้ ผมยกให้เลย ว่าแต่ทำออกมาให้ได้ประโยชน์กับประเทศแล้วกันครับ ว่างๆ ผมก็อยากลองหาข้อมูลมาดูเหมือนกันว่า ในสาขานิติศาสตร์ที่ผมสอนนี้จะต้องปรับตัวอย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 260776เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เราต้อง change ให้สำเร็จค่ะ

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับที่แวะมาให้กำลังใจเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท