เมื่อธนาคารชุมชนกลายมาเป็นวาทกรรมที่ชุมชนกำลังชื่นชม


เมื่อชาวบ้านเห็น “ทุนเศรษฐกิจ” สำคัญยิ่งกว่า “ทุนสังคม” ในระดับหมู่บ้านเราก็คาดหวังได้เลยว่า เขาจะนำพาชุมชนของเขากระโจนเข้าสู่โลกที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
                เมื่อรัฐบาลทักษิณนำเอานโยบายมาโฆษณา นโยบายสาธารณะกลายเป็นสินค้า มีการเสนอคุณสมบัติที่ดีสามารถแก้ปัญหา พัฒนาประเทศรากหญ้าได้... ทำให้เรื่องที่กลุ่มการเงินแบบชาวบ้าน เป็นเรื่องฮิต ต่อมาหลังจาก 4 ปีของรัฐบาล เมื่อเลือกตั้งใหม่ พวกเขากลับมาพร้อมกับเสนอให้กลุ่มกองทุนล้านกลายเป็น ธนาคารชุมชน นับจากนั้น ธนาคารชุมชนจึงกลายเป็น คำโต ที่พูดกัน โดยเฉพาะพวกธนาคารของรัฐ และชาวบ้านแกนนำส่วนหนึ่ง.. เท่าที่ลองถามคนที่นำคำนี้มาพูดให้ผมฟัง ว่าหมายความว่าอย่างไร ดูจะตอบแบบอ้อมแอ้ม เช่น มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น  มีที่ทำการแน่นอน ยกเว้นท่านนายกฯ ที่ระบุว่า ต้องมีการระดมเงินฝากและมีการบริหารเงินฝากเหล่านั้น ไม่ใช่รอจากรัฐกู้เงินไปให้แค่ล้านบาทเท่านั้น
                เท่านี้ก็อ๋อ แล้วครับ .. ตกลงท่านนายกฯ คนนี้ก็พัฒนานโยบายการเงินรากหญ้าไปอีกขั้น โดยการตั้งสาขาธนาคารลงไปสู่ระดับตำบล ทั้งนี้ไม่ใช่เป็นการลงทุนโดยธนาคารพาณิชย์ครับ แต่ให้ชาวบ้านลงทุนเอง (รัฐให้ไปแล้วตั้งล้านหนึ่ง เป็นก้นถุงห้ามหาย) โดยที่ให้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐเดิมลงไปเป็นพี่เลี้ยง ไปสนับสนุนความรู้ วิธีการจัดการ (และหากต้องการเงินเพิ่มก็เติมเข้าไปได้เลย โดยให้กู้.. มีอย่างที่ไหนจะให้ฟรีครับ) ..จะว่าเป็นการตั้งสาขาโดยไม่ต้องลงทุนด้วยเงินตนเอง เพียงสนับสนุนนิดหน่อย (ทำตัวเป็นคนใจบุญ ชื่นชมยกย่องชาวบ้าน แล้วพอกลับไปตนเองก็มีชีวิตหรูหราเหมือนเดิม)
                ผมสัมผัสอาการของชาวบ้านว่า พวกเขาชื่นชมความเข้มแข็งของธนาคาร เกิดวิสัยทัศน์ที่จะมี ธนาคาร"เหมือนกับเขาบ้าง แต่คำว่า อยากมี กับคำว่า เป็นจริง มันห่างไกลครับ เพราะพอลองถามคำถามว่า แล้วธนาคารที่ว่านี้ คืออะไร เขาตอบว่า คือ ความแน่นอนกว่ากลุ่ม ถามต่อว่าอะไรคือความแน่นอน เขาตอบว่า กู้ไปแล้วแน่นอน ต้องส่งคืน ถ้าไม่ส่งคืนเขายึดทรัพย์ที่จำนองไว้ อย่างนี้เรียกว่าแน่นอน ... ผมถามต่อว่า มีอะไรอีกไหม หลายคนตอบว่า มีที่ทำการแน่นอน มีคนทำงานแน่นอน มีคอมพิวเตอร์ และสามารถทำงานทุกวัน เราอยากเบิกอยากฝากได้ทุกวัน ....
                เสียดายที่วันที่แลกเปลี่ยนกันนั้น ไม่ได้เจาะจงเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นคงมีประเด็นแลกเปลี่ยนกันได้เยอะ แต่ทำให้ผมตระหนักมากขึ้นในสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่ ... เวลานี้ชุมชนจำนวนมากแม้พวกเขาจะมีการรวมตัวกัน มีความสัมพันธ์กัน อยู่อาศัยบริเวณเดียวกัน อยู่ในเขตชนบท มีอาชีพเกษตรกรรม แต่พวกเขาก็หาได้อยู่ในภาวะที่มีความเป็นชุมชนแบบที่เราคิดถึงกันแล้วในหลายพื้นที่  ...  เพราะการเข้ามาของการเมืองนโยบาย และระบบเศรษฐกิจ ทำให้ การใช้ทุนทางสังคม บางระดับมีศักยภาพลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ หมู่บ้าน (ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะเห็นว่า ระดับครอบครัวยังพอมีศักยภาพอยู่)
                เมื่อชาวบ้านเห็น ทุนเศรษฐกิจ สำคัญยิ่งกว่า ทุนสังคม ในระดับหมู่บ้านเราก็คาดหวังได้เลยว่า เขาจะนำพาชุมชนของเขากระโจนเข้าสู่โลกที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ  พวกเขาจะยอมรับในกระแสและวนอยู่ในกระแสอย่างช่วยไม่ได้  เพราะผมนึกไม่ออกว่า การที่ระบบการเงินขนาดเล็กระดับตำบล จะสามารถปั่นกำไรเพื่อสร้างประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างกำไร ในปริมาณเงินหมุนเวียนแค่ไหนที่จะทำให้เกิดการ ธนาคาร ตามที่พวกเขาจินตนาการ รวมไปถึงบุคลากรที่จะมาบริหารจัดการ ทั้งหมดแล้ว ที่สุดก็ตกไปสู่พลังอำนาจของนายทุนธนาคารทั้งหลายที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์  นำวงจรการเงินระดับรากหญ้าเข้าสู่วงจรการเงินระดับประเทศ ส่งตัวเลขเงินรากหญ้าเข้าไปนับรวมเป็นทรัพย์สินธนาคาร ออนไลน์ไปสู่ตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นระบบโลกอย่างที่ตนเอง อยากมี  โดยที่ตนเองชาวบ้านก็ยังเป็นเพียงแรงงาน และที่สุดคือ แรงงานที่ไม่มีค่าแรง ต้องทำงานในที่ดินที่ตนเองเคยเป็นเจ้าของ แต่ตอนนี้เป็นลูกจ้างให้เขา....
                ผมคิดว่า... เมื่อวาทกรรมธนาคารเป็นจริงมากยิ่งขึ้น มีการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น เราคงจะเห็นปรากฏการณ์ที่เกิดการล่มสลายทางสังคมชนบทมากยิ่งขึ้น .. ในฐานะผู้สนใจการเปลี่ยนแปลงจึงระทึกใจที่คอยว่าเมื่อไหร่จะเกิดปรากฏการณ์นั้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26039เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจนะที่คุณให้ความสนใจในเรื่องราว และบทบาทการเงินของชุมชน อยากให้หลาย ๆ คนมาช่วยกันปลูก สร้าง และประคับประคองเพื่อการรอดพ้นอย่างยั่งยืนของชุมชน แต่ดูจากบทความที่คุณเขียนหลาย ๆ บทความ แนวคิดของคุณยังมีความขัดแย้งกันเอง

ทำให้มองว่าข้อมูลที่คุณเสื่อมันเป็นของจริงรึเปล่า? หรือแค่นั่งเทียนเสกสรรถ้อยคำ โดยปราศจากการทำงานในพื้นที่

ฝากประเด็นก่อนจะมาเป็นสถาบันการเงินชุมชน (ไม่ใช่ธนาคารชุมชนอย่างที่คุณอ้าง)

1.ชุมชนนั้นต้องผ่านการจัดชั้นเป็นระดับ AAA จาก สทบ.

2.มีกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ที่เป็นขั้นเป็นตอน และเป็นกระบวนการ ทั้งเนื้อหา และระยะเวลา

3.คณะกรรมการบริหารชุมชน ไม่ใช้แค่แกนนำชาวบ้านกลุ่มหนึ่งอย่างที่กล่าว แต่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการเลือกตั้งตัวแทน มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และมีข้อกำหนดไม่ให้ดำรงตำแหน่งซ้ำเกิน 2 วาระติดต่อกัน

4.แหล่งที่มาของทุนในกิจการ และปรัชญาการดำรงอยู่ของสถาบันการเงินชุมเป้าหมายเพื่ออะไร? (ศักยภาพชุมชนชนบทไทยไปถึงได้นะ)

5.อย่าคิดว่าทุกอย่างที่เริ่มลงมือทำ มันจะสมบูรณ์แบบโดยปราศจากข้อด้อย ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะช่วยเสริมสิ่งที่เขาขาดอย่างไร?

 

ผมเห็นด้วยว่า ยังมีช่องทางที่จะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย        ทั้งชุมชน สถาบันการเงินในระบบ และรัฐบาล เพราะถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล้มละลาย ที่เหลือก็ไปไม่รอดด้วย

พระธรรมปิฏกเสนอว่าสังคมไทยที่อ่อนแอมากเพราะมี2ลัทธิเป็นฐานคือ 1)วัตถุนิยม 2)รอผลดลบันดาล

ถ้านโยบายไปเข้าทางทั้ง2เรื่องนี้ก็จะยิ่งซ้ำเติมความอ่อนแอ

เราต้องช่วยกันเปลี่ยนให้เป็น1)เศรษฐกิจพอเพียงและ2)พึ่งตนเองและพึ่งพากัน

วิไลลักษณ์ อยู่สำราญ
คิดถึงพี่ต๋อมจังเลย  สบายดีหรือเปล่าคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท