ปฏิบัติเพื่อไม่ปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติเพื่อไม่ต้องปฏิบัติ


อวิชชา

วันนี้ได้มีโอกาส ไปกราบพระอาจารย์เดี่ยว

พอสรุป จากการไม่สรุป (ขณะฟัง) ได้ดังนี้

กิเลสไม่เคยมี เพราะตัวตนไม่เคยมีมาก่อน 

อยู่กับโลก แต่ให้เหนือโลก

ท่านเน้นเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ไม่มีอะไรเที่ยง ทั้งทุกข์ ทั้งตัวรู้

ปล่อยวาง ทั้งเรื่องการปฏิบัติเพื่อ จะเอาอะไร หรือเพื่อไม่ให้มีอะไร

การปฏิบัติธรรมทำได้ทุกขณะ ไม่ว่าลืมตา หรือหลับตา

อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว

(ขอกราบขอขมาพระอาจาย์ไว้นะที่นี่ด้วยนะครับ ถ้าหากลูกประมาทพลาดพลั้ง ตีความคำสอนของพระอาจารย์ผิดพลาด)

หมายเลขบันทึก: 260367เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านดูแล้วนึกไปถึงประวัติของท่าน "เว่ยหลาง" เลยนะครับ

ตอนที่ท่านโต้ตอบ บทกวีกับพระผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง

พระผู้ใหญ่คนนั้น ได้เขียนโศลกแสดงสภาวะธรรม ความตอนหนึ่งว่า

ต้องคอยขัดดูกระจก (จิตใจ) ให้เงางามปลอดจากฝุ่น (กิเลส) อยู่เสมอๆ

ฝ่ายท่านเว่ยหลางก็เขียนโต้กลับไปประมาณว่า

ไม่มีกระจก และไม่มีทั้งฝุ่น แล้วฝุ่นจะไปเกาะที่ไหน จะขัดถูกระจกไปทำไม

โศลกอันแสดงสภาวะธรรมอันลึกซึ้งของท่านเว่ยหลาง ได้ทำให้ท่านสังฆปรินายก (น่าจะเหมือนสังฆราช) ได้มอบตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ถัดไปของนิกายเซนให้กับท่านเว่ยหลาง

.....

ผมคิดว่าน่าจะอารมณ์เดียวกันนะครับ 

สำหรับผมน่ะ เหตุและผลย่อมรู้ และคิดตามด้วยตรรกะได้  เห็นคล้อยตาม

แต่ตัวสภาวะของผมนั้นยังอีกห่างไกลนั้น

ตัวเองยังรู้สึกว่ามีทั้งกระจก มีทั้งฝุ่น

กระจกก็มัว  ฝุ่นก็เยอะมากๆ ด้วยครับ

....

ผมคิดว่าเคล็ดลับน่าจะอยู่ที่เรื่องของ "การปฏิบัติแบบไม่ปฏิบัติ" นี่แหละครับ

น่าจะหมายถึง การปฏิบัติที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการสนองอัตตา  ไม่ควรปฏิบัติด้วยความอยาก  ให้ทำเล่นๆ เพลินๆ เบาๆ รู้บ้าง หลงบ้าง  ดังที่พระอาจารย์หลายๆ ท่านได้กล่าวไว้ตรงกัน

....

ฟังดูง่ายๆ แต่ก็ยากมากนะครับ

ส่วนใหญ่ (ตัวผมรวมอยู่ด้วยนะ)  มักจะปฏิบัติเพื่อจะเอาอะไรบางอย่าง

แต่ผมว่าถ้าใครปฏิบัติเพื่อไม่ปฏิบัติได้ล่ะก็ จะไปได้เร็วจริงๆ นะครับ

...

เม้นนี้ไม่ได้ดูสภาวะนะครับ

เขียนแล้วเพลินใจจริงๆ

ได้อ่านและเม้นท์บันทึกกัลยาณมิตรบนดาวแล้วก็รู้สึก พอใจ ชอบครับ

ไม่มีกระจก ไม่มีฝุ่น

แล้วกระจกกับฝุ่นจะนิยามความหมายได้อย่างไร

ที่ท่านอ่านอยู่ก็ไม่มีความหมายหรอก

สมมุติจะอธิบายปรมัตถ์ได้อย่างไร

...........

ขอบคุณครับ

ไม่ทราบจะอธิบายอย่างไรเหมือนกันครับ

แต่ขณะนั้นมันมีฝุ่นอยู่บนกระจกจริงๆนี่นา

แล้วจะว่าไม่มีได้อย่างไร

ต่อเมื่อเอาฝุ่นออกจากกระจกจึงจะไม่มีฝุ่นที่กระจกสิครับ

พระอาจารย์เดี่ยวคือใครคะ

เข้ามาทักทายค่ะ

พระอาจารย์เดี่ยว เป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์ของผมครับ

จำพรรษา ณ วัดเสาเดี่ยว ปักธงชัย โคราชครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท