เป็นแบบนี้มานานแค่ไหน...ไม่ได้ตามดู


คำถามต่อไปคือเกิดอะไรขึ้น นักเรียนที่เก่ง ๆ กำลังคิดอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต

 

 

     จากแหล่งข่าว หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ ที่ระบุว่าปีนี้มีผู้สมัครแอดมิชชั่นประจำปี 2552 จำนวนทั้งหมด 119,446 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 82,576 คน โดยจะสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ในวันที่ 13-15 พ.ค.นี้ สำหรับปีนี้นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกได้คะแนนรวมสูงสุดของคณะ/สาขาวิชา จำนวน 10 คน ได้แก่ 

          1) นายรวินทร์ เหราบัตย์ จาก ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะแนนร้อยละ 89.24
          2) น.ส.กัญญารัตน์ อาจชน ร.ร.วัฒนาวิทยาลัย ได้คะแนนสูงสุดของ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คะแนนร้อยละ 88.41 
          3) นายธัชพล เพชรศิริพันธุ์ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 87.71 
          4) น.ส.บุญญาดา ปลั่งศิริ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 87.54
          5) น.ส.ศศิลดา ศิริรุ่งเรือง ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 87.07 
          6) น.ส.นันทิชา เรืองชัยนิคม ร.ร.เฉลิมขวัญสตรี สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 83.07 
          7) นายกรกวิน พิชญโยธิน ร.ร.บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร้อยละ 82.21 
          8) นายธีรวีร์ กุระเดชภพ ร.ร.พิษณุโลกพิทยาคม สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 82.12
          9) นายศศิพงศ์ ลียวัฒนานุพงศ์ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 81.97 และ
          10) น.ส.พูลทรัพย์ อารีกิจ ร.ร.เบญจมราชูทิศ ราชบุรี สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร้อยละ 81.55

     ส่วนหนึ่งที่อยากกล่าวถึงคือการชื่นชมยินดีกับความสำเร็จในเบื้องต้นของนักเรียนเหล่านี้ แต่จุดประสงค์ที่อยากกล่าวไว้ในการบันทึกคือนานแค่ไหนแล้วที่สถานการณ์เปลี่ยนไปได้ขนาดนี้ คือ 1 ใน 10 ไม่มีใครสนใจที่จะเลือกเรียนแพทย์ หากจำไม่ผิดในอดีตนั้นการเรียนแพทย์ เป็นคณะแรก ๆ ที่คนเก่งระดับนี้จะเลือกเรียนกัน ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องเลือกแพทย์ก่อน เป็นแบบนี้นั่นแหละดีแล้ว ที่บอกว่าดีก็มีเหตุผลหลายประการสำหรับการพัฒนาประเทศ

     หรือว่าการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนแพทย์ได้ใช้วิธีการอื่น ๆ ไปก่อนหน้าแล้ว (ตรงนี้เพราะไม่รู้เอง)

     คำถามต่อไปคือเกิดอะไรขึ้น นักเรียนที่เก่ง ๆ กำลังคิดอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต

 

บันทึกเพิ่มเติม: 10 พ.ค.52

     นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยถึงผลการสอบคัดเลือกระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ปีการศึกษา 2552 ที่ปรากฏว่าผลคะแนนของนักเรียนที่ตั้งใจจะเรียนในคณะแพทย์ในปีนี้ต่ำกว่าปีที่แล้วว่า ปัจจุบันนักเรียนที่เรียนเก่งไม่สนใจเรียนแพทย์ เพราะมีปัญหาการฟ้องร้องแพทย์กันมากขึ้น ต่างจากในอดีตคนที่เรียนเก่งอยากเรียนแพทย์ อยากช่วยเหลือผู้คน อีกทั้งที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีการฟ้องร้องแพทย์ ทำให้แพทย์ทำการรักษาอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกฟ้องร้อง

     “ผมคิดว่าหากผู้ป่วยทุกคน รวมทั้งแพทย์ได้ร่วมกันย้อนวัฒนธรรมการรักษาในอดีต ซึ่งแพทย์และผู้ป่วยต่างก็พึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกันโดยไม่คิดแต่เรื่องของธุรกิจเป็นตัวตั้งมากเกินไป ซึ่งหากแพทย์และผู้ป่วยเปลี่ยนมุมมองตัวเองได้เช่นนี้ ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์จะลดลง แต่หากยังไม่หันกลับมาสู่วัฒนาธรรมการรักษาที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย ต่อไปสังคมไทยก็จะไม่ได้คนเก่งมาเรียนแพทย์ และท้ายที่สุดเมืองไทยก็จะขาดแคลนแพทย์มากขึ้นๆ” นพ.เฉลิมชัย กล่าว

(มติชน ศุกร์ที่ 17 เมษายน 2552)

 

 

หมายเลขบันทึก: 260045เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านอาจารย์ชายขอบ ขอบพระคุณครับ ได้ดูจากทีวี เด็กอัจฉริยะ ท่านตั้งใจเรียน และ แบ่งเวลาได้ดีมากครับ

สวัสดีครับอาจารย์
  • เห็นด้วยครับ คนที่หนึ่งบอกว่าเรียบจบแล้ว อยากทำงานกับบริษัทกฏหมายต่างประเทศ เพราะกฎหมายบ้านเราเปลี่ยนแปลงบ่อยครับ 
  • อันนี้ฟังแล้วได้คิดอีกเรื่องครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท