Life Space การละหมาด


สิ่งแวดล้อมของคนเรามีสองลักษณะ คือ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุซี่งเราสังเกตง่าย บางทีก็มองเห็นได้ชัด แต่สิ่งแวดล้อมอย่างที่สองค่อนข้างจะซับซ้อนหน่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางจิต

สิ่งแวดล้อมทั้งสองลักษณะนี้ต่างก็มีอิธิพลต่อพฤติกรรมของคนเรา ในการเรียนการสอนเขาจึงแนะนำให้จัดสิงแวดล้อมที่น่าอยู่และเอื้อต่อการเรียนรู้ และโดยปกติแล้วพวกเราจะมองที่สิ่งแวดล้อมภายนอก ส่วนสิงแวดล้อมภายใจ(ทางจิต)ไม่ค่อยมีใครพูดถึง

ในเรื่องการทำอิบาดัตก็เช่นกัน อย่างเช่นการละหมาดในที่ที่มีเสียงรบกวนก็นับว่ามักรูฮฺ เสียงเป็นสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสได้ทางการได้ยินและมันไปรบกวนทางจิต ทำให้การละหมาดของมุมินอาจไขว้เขวได้

เมื่อวานนักศึกษามานั่งคุยที่ห้องทำงาน นักศึกษาได้พูดถึงการกล่าวคำเนียตในละหมาด เช่น أصل فرض ظهر أربع ركعات لله تعالى เขาว่าบางคนว่าเป็นการเตรียมตัวละหมาด สร้างความพร้อมทางจิต เพื่อไม่ให้จิตยุ่งกับเรื่องอื่น ผมก็ถามว่า นี่เข้าข่าย Life Space ตามที่ได้เรียนมาใช่ไหม ???

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 259910เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2009 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สลามคะ อาจารย์

จริงๆ อย่างที่อาจารย์ว่าคะ...สิ่งแวดล้อมทางจิต ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ...แต่มันสำคัญมาก...เราจะมีวิธีจัดสิ่งแวดล้อมทางจิตเราอย่างไร นั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะศึกษา และสิ่งแวดล้อมทางจิตของคนแต่ละคน ก็จัดกันเอาเอง ....เพราะถ้าเราจัดสิ่งแวดล้อมทางจิตของเราให้ดีแล้ว...ไม่ว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นอย่างไร...เราก็สงบ และมีความสุขอย่างแท้จริงได้เลยคะ...ประสิทธิภาพการทำงานทุกอย่างก็ดีหมด...รวมถึงการทำงานเพื่ออัลเลาะห์ (ซบ) ขอบคุณมากคะ...สำหรับแนวคิดดีๆ ...

การงานบางอย่าง ที่เราเรียกว่ามักโรฮฺ เราไม่ค่อยเน้นหนักเท่าไร ยิ่งเราเป็นคนที่ศึกษาศาสนาแบบรับรู้อย่างเดียวยิ่งไม่รู้ลึกว่าทำไมเป็นแบบนี้

พอได้มาวิเคราะห์ตามแนวทางที่ได้ศึกษามา เลยทำให้สิ่งเหล่านี้มันมีความหมายทั้งนั้น บางอย่างคิดว่าแม้จะเป็นมักโรฮฺ เราก็น่าจะห่างไกลให้มากๆ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท