ตอนที่ 2 พลังชุมชนควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด


วันนี้จะมาเล่าสรุปผลการคัดกรอง 6 เดือนแรกต่อคะ

จากแบบคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง  จำนวน 23,171 ชุดเรานำข้อมูลชุดแรกมาวิเคราะห์ ได้ข้อมูลสถานการณ์เสี่ยงของแต่ละตำบล และนำมาเป็นข้อมูลโดยรวมของอำเภอเมืองได้ดังนี้

·     สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคที่แก้ไขปรับเปลี่ยนได้ ของคนในชุมชนอ.เมือง พิษณุโลก เป็นดังนี้ สูบบุหรี่เป็นประจำ 8.8%  ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  (ดื่มเหล้า > 45 cc ต่อวัน/ ดื่มเบียร์ > 240 cc ต่อวัน / ดื่มไวน์ > 120 cc ต่อวัน)   11%  ทานอาหารที่มีรสมัน 45.1%  ทานอาหารที่มีรสเค็ม  35.2% ออกกำลังกายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง  64.5%    

 

 

1.      ประชาชนส่วนใหญ่ มีบิดา มารดา พี่หรือน้อง คนใดคนหนึ่งเป็นโรคเบาหวาน 78%

2.      มีภาวะอ้วนโดยมีดัชนีมวลกาย>25หรือ   รอบเอวชาย>36นิ้ว 90 ซม /หญิง>32  นิ้ว 80 ซม  35.1%

3.      เป็นโรคความดันโลหิตสูง และรับประทานยาโรคความดันโลหิตสูง 65.3%

4.      มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกีเซอไรด์)มากกว่า 250 มก/ดล.รือ เอชดีแอลโคลเลสเตอรอล(HDL Cholesteral)น้อยกว่า 35 มก/ดล  66.8%

5.      มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือมีประวัติการคลอดบุตรน้ำหนักตัวแรกคลอด > 4 กิโลกรัม 0.9%

6.      มีประวัติหรือเคยมีประวัติน้ำตาลในเลือดสูงจากการตรวจเลือดโดยการงดอาหาร (Fasting Plasma  Glucose) เท่ากับ  100125  มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือตรวจวัดน้ำตาลหลังอาหารมากกว่าหรือเท่ากับ140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 9.4%

7.      ชายอายุ มากกว่า 55 ปี,หญิงอายุมากกว่า 65 ปี (เป็นมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด) 67.9%

8.      ประวัติการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาตใน พ่อ แม่ พี่น้อง ก่อนเวลาอันควร ชาย เกิดก่อนอายุ55 ปี, หญิงเกิดก่อนอายุ 65 ปี 7.9%

9.      เป็นโรคเบาหวาน 6.5%

 

จากเครื่องมือนี้จะสามารถคัดกรองแยกกลุ่มประชากรเสี่ยงเป้าหมายอายุ  35 ปีขึ้นไป   ถือเป็นกลุ่มประชากรเสี่ยง  และถ้าประชากรอายุ  35  ปีขึ้นไปและมีข้อบ่งชี้  1  ข้อ (ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงปานกลาง   ต้องส่งตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  ในการบริการคัดกรองขั้นต่อไป แต่ถ้าไม่พบข้อบ่งชี้ใด ๆ (ตามแบบฟอร์มการคัดกรองภาวะเบาหวาน) ให้ถือว่ารายนั้นผ่านการคัดกรองแล้ว สามารถลงรายงานได้ 

·       จากการคัดกรอง เราจัดขึ้นทะเบียน กลุ่มประชาชนเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มปกติ(กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง) พบร้อยละ  4 กลุ่มเสี่ยง (มีความเสี่ยงมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป) พบร้อยละ 87.6   กลุ่ม pre-diabetic (ตรวจพบระดับน้ำตาล100-125 mg%)  พบร้อยละ 4.6   และกลุ่มเป็นโรครายใหม่ พบร้อยละ 0.9 กลุ่มเป็นโรครายเก่า (ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษามาแล้ว)พบร้อยละ 2.9

 

 

 

 

 

ผลการคัดกรองความดันโลหิต  บ่งประชาชนออกเป็น  4   กลุ่ม  ได้แก่

กลุ่มที่  1    กลุ่มปกติ  ถือว่ายังไม่เป็นโรคและโอกาสเสี่ยงน้อย คือ กลุ่มที่มีระดับควานดันโลหิตซีสโตลิกน้อยกว่า  120  มิลลิเมตรปรอทและความดันโลหิตไดแอสโตลิค  น้อยกว่า  80  มิลลิเมตรปรอท  พบจำนวนร้อยละ 69.1% 

 กลุ่มนี้เราให้คำแนะนำ       ให้ระมัดระวังน้ำหนักเกิน และการขาดการเคลื่อนไหวที่เพียงพอเพื่อป้องกันโรค โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตเมือง ชุมชนแออัด และวิถีชีวิตนั่งๆนอนๆ

 

กลุ่มที่ 2    กลุ่ม Prehypertension  ความหมาย   เป็นระดับความดันโลหิตที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเริ่มมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และอัมพาต โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย สงสัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง คือ กลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตซีสโตลิค   120 - 139   มิลลิเมตรปรอทหรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค  80 - 89   มิลลิเมตรปรอท พบร้อยละ  23.4%

       กลุ่มนี้เราขึ้นทะเบียนและให้คำแนะนำ      การปฏิบัติตัวลดเค็ม เพิ่มกินผัก

ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักในกรณีที่น้ำหนักเกิน หยุดสูบบุหรี่ ควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ และประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมกิจกรรมค่าย Prehypertension คัดคนกลุ่มนี้มา 10% ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด  จำนวน 534 คน

 

กลุ่มที่ 3    กลุ่ม Stage 1  Hypertension  ความหมาย   สงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง    คือกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตซีสโตลิค140159 มิลลิเมตรปรอทหรือความดันโลหิตไดแอสโตลิค  90 - 99    มิลลิเมตรปรอท   กลุ่มนี้ ให้ส่งต่อไปรับการวินิจฉัยโดยแพทย์ พบร้อยละ 4%

 

กลุ่มที่ 4    กลุ่ม Stage 2 Hypertension  ความหมาย   ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่อันตราย คือกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตซีสโตลิคมากกว่าหรือเท่ากับ    160     มิลลิเมตรปรอท   หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิคมากกว่าหรือเท่ากับ  100  มิลลิเมตรปรอท  ให้ตรวจวัดซ้ำอีกครั้ง  ถ้าระดับความดันโลหิตสูงอยู่ให้ส่งต่อทันที เพื่อการวินิจฉัยและรักษา พบร้อยละ  3.9%  

 

หลังจากนั้นนำกลุ่มป่วยได้แก่ กลุ่ม Prehypertension, pre-diabetic และกลุ่มเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง...มาวิเคราะห์ข้อมูลแบ่ง

ระดับความเสี่ยง ได้ข้อมูลความเสี่ยง ดังนี้ 

 การแปลความหมายความผิดปกติ  เพื่อแบ่งระดับความเสี่ยงของกลุ่มป่วย

1.      มีญาติสายตรง(พ่อ แม่ พี่หรือน้อง) ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือ อัมพาต

2.      เป็นโรคเบาหวาน

3.      เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

4.      เป็นโรคความดันโลหิตสูง

5.      เป็นโรคหัวใจ

6.      สูบบุหรี่

7.      ไตรกลีเซอไรด์ > 250มก./ดล. HDL-Cholesterol < 35  มก./ดล

8.      ภาวะอ้วนมีโดยมีดรรชนีมวลกาย> 25หรือขนาดรอบเอว ชาย >36 นิ้ว หญิง> 32 นิ้ว

การแปลผล

ปกติ ร้อยละ 15%

เสี่ยงสูง   ความหมาย มีความผิดปกติ 2 ข้อ หรือ DM> 10 ปี หรือ มีประวัติญาติสายตรงเป็นอัมพาตหรือหัวใจขาดเลือดก่อนวัย หรือ DMที่คุมไม่ได้ติดต่อกัน  พบร้อยละ 42.5

เสี่ยงสูงปานกลาง  ความหมาย มีความผิดปกติ 3-5 ข้อ  หรือ BP > 170/100  2 ครั้งติดต่อกัน หรือ  cho  309 mg   พบร้อยละ 28

เสี่ยงสูงมาก  ความหมาย มีความผิดปกติ เกิน 5 ข้อ  หรือ เป็น DM ที่มีปัญหาไต  หรือ  ไขมันผิดปกติจากกรรมพันธุ์  พบร้อยละ 15.5 

จากการแบ่งกลุ่มคนไข้ในความดูแลของเรามีความสำคัญ  เพราะทำให้เราแบ่งระดับการดูแลผู้ป่วยได้ ดังเช่น กลุ่มป่วยที่ควบคุมโรคได้ดี ซึ่งมีอยู่มากถึง 42.5% น่าจะจัดระบบการดูแลที่PCU ได้ 

กลุ่มเสี่ยงสูงปานกลาง  อยู่ในระบบการดูแลของคลินิกเบาหวาน  เพื่อให้สามารถลดระดับการความเสี่ยงลงมาได้  พบร้อยละ 28

กลุ่มเสี่ยงมาก   ต้องให้การดูแลเข้มข้น เพื่อไม่ไห้พัฒนาเป็นโรคแทรกซ้อนที่ล้วนเป็ฯโรคค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น  กลุ่มนี้พบร้อยละ 15.5  

 

 ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 259743เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำงานอย่างมืออาชีพมีระดับ ต้องแบบนี้อ้อ มีข้อมูลเป็นตัวชี้ทิศทางไม่ให้หลง ไม่ใช่คิดเอาเองหรือรู้สึกว่าจะเป็นเช่นนั้น ขั้นต่อไปคือจัดการป้องกันดูแลรักษาให้เหมาะสม นั่นจึงเป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายที่พึงประสงค์

ทำได้ไงครับ....สุดยอดดดดดดด...จริง ๆ

อยากเรียนรู้ดัวยมั่ก....มาก

อยากทำแบบนี้....เป็นพี่เลี้ยงให้ได้มั้ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท