การรับรู้


Perception

 

    1.  ความหมาย

          การรับรู้  ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  perception เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา  สังคม  และพฤติกรรมการรับรู้  มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

          บุญลือ  คชเสนีย์  (2544, หน้า 9) กล่าวว่า  การรับรู้ หมายถึง  การกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  ที่แสดงออกตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  หรือตามหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่  ซึ่งการแสดงออกของบทบาทนั้น  จะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง  และจะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับด้วย

          ผกา  สัตยธรรม  (2544, หน้า  192)  กล่าวว่า  การรับรู้ หมายถึง หน้าที่     ที่ต้องรับผิดชอบ

          อารี  พันธ์มณี  (2544, หน้า 16, 31) กล่าวว่า  การรับรู้ หมายถึง  การแปลความหมาย  หรือการตีความจากสิ่งเร้าที่สัมผัส

          สังคม  สุภรัตนกุล  (2546, หน้า  25) กล่าวว่า  การรับรู้ หมายถึง  กระบวนการ ที่เกิดในบุคคล  ภายหลังได้รับสิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสเข้ามาแล้ว  เกิดการเลือก   การจัดระบบ  การแปลความหมาย  ให้คุณค่าโดยอาศัยปัจจัยต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์เดิมแปลความหมายจนเกิดเข้าใจความหมายต่อสิ่งนั้นด้วยความรู้สึกนึกคิดของตนเอง           แล้วตอบสนองด้วยการปฏิบัติในสิ่งที่ตนรับรู้

          ณัฏฐพร  ชินบุตร  (2547, หน้า 40)  กล่าวว่า  การรับรู้ หมายถึง การตีความหรือการแปลความหมายจากสิ่งเร้าที่บุคคลพบเห็น  โดยอาศัยประสบการณ์เป็นเครื่องช่วย        ในการตีความประสบการณ์มีอิทธิพลต่อการรับรู้  ดังนั้นคนเราเมื่อมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน  จึงมีการรับรู้และแปลความหมายต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่พบเห็นแตกต่างกัน

                   พลางกูร  ยอดน้ำคำ  (2548, หน้า14-15)  กล่าวว่า  การรับรู้  หมายถึง  กระบวนการทางด้านความคิดในการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่บุคคลได้รับผ่านระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย  โดยอาศัยประสบการณ์หรือความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการแปลความหมาย

                               รัตนา  นุมัติ  (2549, หน้า  24)  กล่าวว่า  การรับรู้  หมายถึง  ขบวนการที่สมองตีความหมายหรือแปลความหมายที่ได้จากการสัมผัสของร่างกายกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้า  ทำให้บุคคลทราบว่าสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสนั้นเป็นอะไร  มีความหมาย  และมีลักษณะอย่างไร

                   สินธร  คำเหมือน  (2550, หน้า  7)  กล่าวว่า  การรับรู้ หมายถึง   ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและพฤติกรรมที่คาดหวัง  หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  และได้แสดงออกตามบทบาท

            แมทลิน (Matlin, 1988, p. 281) กล่าวว่า การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายของการสัมผัสออกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมาย  ซึ่งการแปลความหมายนั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์

                   ชีฟฟ์แมนและกะนุก  (Schiffman & Kanuk, 1991, p. 146) กล่าวว่า การรับรู้ (perception) หมายถึง กระบวนการที่บุคคลแต่ละคนมีการเลือก การประมวลและการตีความเกี่ยวกับตัวกระตุ้นออกมาให้ความหมายและได้ภาพของโลกที่มีเนื้อหา

          จากที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า  การรับรู้  หมายถึง ขบวนการที่สมองแปลความหมายที่ได้จากการสัมผัสของร่างกายกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้า ทำให้บุคคลทราบว่าสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสนั้นเป็นอะไร  มีความหมาย  และมีลักษณะอย่างไร  การรับรู้จึงเป็นการแสดงออกทางความรู้สึกที่บ่งบอกถึงความตระหนัก  ความเข้าใจ  และความคิดเห็นของบุคคล  ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบ

      2  ทฤษฎี

            พลางกูร  ยอดน้ำคำ  (2548,  หน้า  12-13)  กล่าวถึง  ทฤษฎีของการรับรู้ไว้ว่า  การรับรู้  เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมผ่านทางระบบประสาทสัมผัส  เริ่มต้นจากการใช้อวัยวะรับสัมผัสจากสิ่งเร้าและจัดระบบสิ่งเร้าใหม่โดยใช้ระบบความคิด  หลังจากนั้นจึงแปลความหมายว่า  สิ่งเร้าที่สัมผัสมานั้น คืออะไร  การรับรู้มี  3 ขั้นตอน ได้แก่ การเลือก (selection) การจัดระบบ (organization)  และการแปลความหมาย  (interpretation) ของสิ่งเร้า  ดังนี้

                 1. การเลือก (selection) เป็นการเลือกเพื่อที่จะเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง   จากสิ่งเร้าทั้งหลายที่ผ่านเข้ามา

                 2. การจัดระบบ (organization) แนวโน้มการรับรู้ของคนเรามักจัดระบบ  สิ่งเร้าออกเป็นลักษณะต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและพยายามตัดทิ้งสิ่งที่เป็นรายละเอียดซับซ้อนทิ้งไป  ส่วนที่เราสนใจเรียกว่า ภาพ  (figure)  และส่วนที่เราไม่สนใจเรียกว่า  พื้น  (ground)  และ

                 3. การแปลความหมาย (interpretation) เป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการรับรู้โดยคนเราจะอาศัยคุณสมบัติที่มีอยู่ภายในตนเอง เช่น  เจตคติ  ประสบการณ์  ค่านิยม  ความต้องการ ฯลฯ  ผสมผสานกับสิ่งเร้าภายนอกในการแปลความหมายว่า  สิ่งเร้าที่สัมผัส เข้ามานั้น คืออะไร

                     รัตนา  นุมัติ  (2549, หน้า 25) กล่าวถึง ทฤษฎีการรับรู้ไว้ว่า ตามทฤษฎีของคิง (King, 1981, p.112) ได้สรุปการรับรู้ไว้เป็น 4 ข้อ ดังนี้

                          1. การรับรู้เป็นเอกภาพ  (universal)  บุคคลทุกคนสามารถรับรู้ต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมมนุษย์ทุกคนจะมีการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย   โดยการจัดเรียงลำดับจากรูปธรรมและให้ความหมายต่อสิ่งนั้น  เช่น ต้นไม้  ประกอบด้วยกิ่ง ก้าน ราก  และลำต้น เป็นต้น  ส่วนประกอบที่เห็นเป็นรูปธรรม  และเรียกว่าลำต้น  จะเก็บไว้ในความทรงจำ  และเมื่ออนาคตมาถึงประสบการณ์ที่เข้ามาเป็นต้นไม้  บุคคลนั้นจะให้ความหมายสิ่งนั้นว่าต้นไม้  นั่นคือ การรับรู้ของบุคคล

                                 2. การรับรู้สิ่งที่บุคคลเลือกเฉพาะสำหรับตนเอง (selective & subjective) ถึงแม้จะเป็นการรับรู้ในเหตุการณ์เดียวกันแต่ไม่สามารถจะสรุปได้ว่าแต่ละบุคคลรับรู้          ในเหตุการณ์นั้นเหมือนกันเนื่องจากบุคคลมีภูมิหลัง  และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

                          3. การรับรู้เป็นการแสดงออกในภาวะปัจจุบัน (action oriented in the present) เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาทำให้บุคคลต้องมีการรับรู้ในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นและทำให้เกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วยเสมอ

                          4. การรับรู้เป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีเป้าหมายแน่นอน (transaction) บุคคล จะสามารถสังเกตถึงการรับรู้ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้  ก็ต่อเมื่อบุคคลมีการแสดงออกระหว่างหลายๆ คน  หรือภายในกลุ่มจึงจะทำให้มองเห็นได้ชัดเจนว่าบุคคลนั้นมีการรับรู้ในสถานการณ์นั้นอย่างไร

            จากที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า  ทฤษฎีของการรับรู้ ได้แก่ การรับรู้ เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมผ่านทางระบบประสาทสัมผัส  เริ่มต้นจากการใช้อวัยวะรับสัมผัสจากสิ่งเร้าและจัดระบบสิ่งเร้าใหม่โดยใช้ระบบความคิด  หลังจากนั้นจึงแปลความหมายว่า  สิ่งเร้าที่สัมผัสมานั้น คืออะไร มี  3 ขั้นตอน คือการเลือก  การจัดระบบ และการแปลความหมายของสิ่งเร้า สรุปเป็นทฤษฎีไว้คือ การรับรู้ เป็นเอกภาพ บุคคลทุกคนสามารถรับรู้ต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมมนุษย์ทุกคนจะมีการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย การรับรู้สิ่งที่บุคคลเลือกเฉพาะสำหรับตนเอง การรับรู้เป็นการแสดงออกในภาวะปัจจุบัน และการรับรู้เป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีเป้าหมายแน่นอน

        3. ความสำคัญ

                    ลักขณา  สริวัฒน์  (2539, หน้า 7-8) กล่าวว่า การรับรู้ เป็นรากฐานของ  การเรียนรู้  การรับรู้เกิดจากการได้มีการแปลอาการสัมผัสออกมาเป็นความหมาย และการแปลความหมายนี้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเดิม ประสบการณ์เดิม หรือสิ่งที่คาดคะเนไว้ ล่วงหน้าแล้ว  ซึ่งคนแต่ละคนอาจจะมีการรับรู้ต่างกันได้  แม้ว่าจะมีการสัมผัสเหมือนกัน    การรับรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นจะต้องถูกต้องกับความเป็นจริงเสมอไป เช่น ภาพลวงตา เนื่องจากสิ่งเร้าหลายอย่าง  ในสิ่งแวดล้อมมักจะเกี่ยวพันกันจนแยกไม่ออกกลายเป็นรูปหรือแบบอย่างอื่นต่างไปจากเดิม  มีลักษณะสำคัญ  5 ข้อ ดังนี้

                           1. ความชัดเจน หรือความแน่นอน (pragmary) เน้นความสำคัญของการหยั่งเห็น ได้แก่ การกำหนดองค์ประกอบของการรับรู้ให้เด่นชัดว่าส่วนไหนเป็นภาพ    ส่วนใดเป็นฉาก  เพื่อให้บุคคลเกิดการรับรู้ได้รวดเร็วขึ้น

                           2. ความใกล้ชิดกัน หรือการอยู่ภายในขอบเขตที่ใกล้เคียงกัน (proximity)

                           3. ความคล้ายคลึงหรือมีลักษณะสำคัญร่วมกัน (similarity)

                           4. ความต่อเนื่องกัน  (continuity)

                           5. ความสิ้นสุดหรือความต้องการที่จะให้เกิดสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดและ  มีความหมายปรากฏเห็นอย่างชัดเจน

                         ณัฏฐพร  ชินบุตร (2547, หน้า 39-40) กล่าวว่า การรับรู้มีความสำคัญ     ต่อพฤติกรรมในแง่ที่ว่า  ถ้าบุคคลรับรู้ถูกต้องแม่นยำ  การแสดงพฤติกรรมก็จะออกไปในรูปหนึ่ง  ถ้าบุคคลรับรู้อย่างไม่ถูกต้องแม่นยำ  จะทำให้การแสดงพฤติกรรมจะออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง  นั่นคือ  การรับรู้มีส่วนทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมแตกต่างกัน

                     ชีฟฟ์แมนและกะนุก  (Schiffman & Kanuk, 2000, p. 146)  กล่าวว่า การรับรู้  มีความสำคัญ เพราะเป็นแรงจูงใจภายในปัจจัยแรก  หมายถึง  กระบวนการที่บุคคลเลือก (selects)  จัดการ (organizes)  และตีความ (interprets)  ตัวกระตุ้น (stimuli)  ไปในทางที่มีความหมายและได้ภาพที่เป็นเรื่องราวชัดเจน  หรืออาจกล่าวอย่างง่ายว่า  เป็นวิธีในการมองสิ่งต่างๆ  ในโลกนี้ของแต่ละคน  ซึ่งก็จะมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป  โดยกระบวนการในการรับรู้นั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็น  ค่านิยม  และความคาดหวังของแต่ละคน

                     จากที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า การรับรู้มีความสำคัญ เพราะเป็นแรงจูงใจภายในปัจจัยแรก  คือเป็นกระบวนการที่บุคคลเลือก จัดการ และตีความ ตัวกระตุ้น      ไปในทางที่มีความหมายและได้ภาพที่เป็นเรื่องราวชัดเจน โดยกระบวนการในการรับรู้นั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็น ค่านิยม และความคาดหวังของแต่ละคน  จึงมีความสำคัญต่อพฤติกรรมของบุคคล เพราะถ้าบุคคลรับรู้ถูกต้องแม่นยำ การแสดงพฤติกรรมก็จะออกไปในรูปหนึ่ง        ถ้าบุคคลรับรู้อย่างไม่ถูกต้องแม่นยำ  จะทำให้การแสดงพฤติกรรมจะออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง  นั่นคือ  การรับรู้มีส่วนทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

                  4.  องค์ประกอบ

                        อารี  พันธ์มณี  (2544, หน้า 16, 31) กล่าวว่า  การรับรู้นี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ  2 องค์ประกอบ คือ

                          1.  ภาพ (figure

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 259731เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท