แนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง


เพลี้ยแป้ง

เช้านี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้มีประสบการณ์เรื่องเพลี้ยแป้งโดยตรง จึงขอนำข้อมุลที่ได้รับมาเผยแพร่แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ เพื่อให้การช่วยเหลือ แนะนำเกษตรกร หากพวกเราช่วยกันการระบาดของแมลงชนิดนี้ก็จะลดลงและควบคุมได้             

 เพลี้ยแป้งที่พบในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งลาย และเพลี้ยแป้งสีชมพู เข้าทำลายมันสำปะหลังในฤดูแล้ง มีรายงานการระบาดที่จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาพบที่ภาคตะวันออกทุกจังหวัด และต่อมาพบที่นครราชสีมา และบุรีรัมย์ การกระจายของเพลี้ยแป้งเชื่อว่าติดไปกับท่อนพันธุ์ โดยมีทั้งไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เราสามารถป้องการแพร่ระบาดได้ดังนี้

  • การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม  คือการไถพรวน เก็บซากพืชออกจากแปลง เผาทำลายเศษซากพืช การปลูกใหม่ในเขตที่มีการเข้าทำลายของเแมลงไม่มากให้จุ่มด้วยน้ำร้อนหรือสารเคมีก่อนปลูก สำหรับแปลงปลูกใหม่ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดจากแมลง โดยดำเนินการดังนี้
  • ในพื้นที่ที่ปลูกแล้ว 1-4 เดือน มีการเข้าทำลายอย่างรุนแรง ควรไถทิ้ง แล้วทิ้งพื้นที่ไว้นานกว่า 1 เดือน เพื่อไม่ให้มีพืชอาศัยในพื้นที่ หรือปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่เป็นพืชอาศัย เช่น ข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน
  • วิธีป้องกันกำจัดด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่นการใช้ตัวห้ำ ตัวเบียนที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาการแพร่ระบาดโดยมด อยู่ระหว่างการเร่งรัดการศึกษา
  • การปลูกมันสำปะหลังในช่วงฤดูฝน จะช่วยลดการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้
  • เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด และมีการควบคุมเป็นรัศมีโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง
  • การใช้สารเคมีตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ดังนี้

-ไทอะมีโทแซม (25%WG) อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

-ไดโนทีฟูเรน (10%WP) อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

-โปรไทโอฟอส (50%EC) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

- พิริมิผอสเมทิล (50%EC) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

- ไทอะมีโทแซม/แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (24.7%ZC) อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

หรือใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งดังกล่าวข้างต้นลดอัตราลงครึ่งหนึ่งผสมกับสารไวท์ออยล์ (67%EC) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร (การผสมสารไวท์ออยล์ควรใช้ไวท์ออยล์ตามอัตราที่กำหนดผสมกับน้ำเพียงเล็กน้อยเติมสารฆ่าแมลงแล้วกวนให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำให้ได้ปริมาตรที่กำหนด) และควรพ่นติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง

เนื่องจากการพ่นสารครั้งเดียวอาจกำจัดได้เฉพาะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แต่ไม่สามารถกำจัดไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งซึ่งอยู่ในถุงที่มีใยสีขาว ควรหยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน

กรณีท่อนพันธุ์ที่ได้จากแปลงที่เพลี้ยแป้งระบาด ก่อนปลูกควรจุ่มท่อนพันธุ์ด้วยสารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซม (25%WG) อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที

หลังปลูก 1 เดือน ตรวจแปลงหากพบแพลี้ยแป้งให้ฉีดพ่นสารเคมีตามคำแนะนำ

คำสำคัญ (Tags): #เพลี้ยแป้ง
หมายเลขบันทึก: 259721เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มันดี ไม่ใช่มันถูก

มันถูก ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ดี จากข้อมูลผลการทดลองการเลี้ยงสุกร และสัตว์อื่นๆ ด้วยมันสำปะหลัง พบว่าส่งผลดีต่อสุขภาพสัตว์ ทำให้ประหยัดต้นทุนโดยเฉพาะส่วนที่เป็นค่ายา ค่ารักษาโรค สารช่วยย่อย สารยับยั้งเชื้อรา สารจับพิษเชื้อราเป็นต้น

ทำไมมันถึงถูก

มันถูก เพราะ คนไทยนิยมปลูกมัน เพราะปลูกแล้วได้ผลผลิตสูง สภาพต่างๆ เอื้ออำนวย ต้นทุนก็ไม่สูงมาก อีกทั้งยังมีโครงการประกันราคา โครงการอื่นๆ อีกจิปาถะ คนที่มีไร่ มีสวนมาก จึงปบลูกมันสำปะหลังกัน

มันถูก ทำไมถึงดี

สัตว์ที่กินอาหารสูตรมันเป็นแหล่งพลังงาน พบว่ามีปริมาณ เชื้อ อีโคไล ต่ำกว่ากลุ่มที่กินข้าวโพด (น่าจะเป็น เพราะมันมีความเป็นกรดสูง เมื่อเข้าสู่ลำไส้ จะไปปรับสมดุล ทำให้ลดอีโคไล ได้ )

มัน ย่อยง่าย เพราะมีแป้งเป็นส่วนประกอบมากกว่า 73% มากกว่าข้าวโพด เมื่อเทียบ%แป้งและน้ำตาลที่ย่อยง่ายของมันกับข้าวโพด มีค่าเท่ากับ 75.6 และ 27.6% ตามลำดับ ( จากการศึกษา ของ Basilisa (1996) พบว่ามันมีการย่อยได้ในกระเพาะอาหารสุกร เท่ากับ 30.2% ขณะที่ข้าวโพดมี 1% เท่านั้น )

จากการศึกษา ของ Okc ( 1978 ) แนะนำให้ใช้ ปริมาณ เยื่อใย และเถ้า กำหนดระดับการใช้มันเป็นอาหารสุกร หากมันมีเถ้าและเยื่อใย ต่ำกว่า 2.2 และ 2.8% ตามลำดับ สามารถใช้ในสูตรอาหารสุกรเล็ก รุนและขุนได้ 60 และ 75% ตามลำดับ แต่หากเถ้าและเยื่อใยเกิน 5% ไม่ควรใช้ในสุกรเล็ก แต่หมูรุ่นและขุน สามารถใช้ได้ในระดับ 20 และ 40% ตามลำดับ

ใช้มัน สุกรถ่ายมูลน้อยและกลิ่นไม่เหม็น จากการศึกษา พบว่า การใช้มันกับข้าวโพด สุกรที่กินสูตรมันถ่านมูลออกมาน้อยกว่าสูตรกินข้าวโพด ( อาจเป็นเพราะแป้งมัน ย่อยง่ายกว่า) และมูลสุกรที่กินมันมีจุลินทรีย์และแลคโตบาซิลลัสและยีสต์ รวมอยู่ ทำให้มูลมีสภาพเป็นกรดอ่อน ไม่เหมาะแก่การพัฒนาเป็นตัวอ่อนของไข่แมลงวัน ดังนั้นสูตรมันจึงไม่ค่อยมีแมลงวันมารบกวน และที่มูลไม่เหม็นเพราะมีอีโคไล ปนมากับมูลน้อยกว่าสูตรข้าวโพดนั่นเอง ( Yokoyama และ Carlson , 1982 )

ข้อมูลเบื้องต้นกว่าเท่านี้ ก็พอจะชี้ได้ว่า มันถูก แต่ไม่ๆได้หมายความว่ามันไม่ดี

www. Ptg2552.com

ในช่วงนี้มีเพลี้ยแป้งกำลังระบาดหนักและสร้างความเสียหายให้กับไร่มันเป็นจำนวนมาก หากท่านใดประสบปัญหา ดิฉันขอแนะนำให้เข้าไปอ่านวิธีแก้ไขปัญหาเพลี้ยแป้งนี้ที่ http://www.organictotto.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538932800&Ntype=2

นะคะ ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท