แนะนำตัว "คลินิกเทคโนโลยี ที่พึ่งของชุมชน"


เรามีเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอดกว่า 5,000 รายการ ให้ท่านเลือกใช้ตามความเหมาะสม

สวัสดีครับ สมาชิกชุมชน บล๊อค gotoknow.org ผมได้แวะเวียนเข้าเว็บนี้มาหลายรอบแล้ว ใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานเหมือนกัน ว่าจะสมัครสมาชิกดีหรือเปล่า และแล้วผมก็ตัดสินใจเป็นสมาชิก  เพื่อแสงหาความรู้ในด้านอื่น ๆ ที่ผมยังไม่รู้

ทีนี้ก็มาทำความรู้จักกับ 

โครงการ คลินิกเทคโนโลยี ที่พึ่งของชุมชม
      

วัตถุประสงค์
(1) เพื่อเป็นตัวกลางการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Intermediate Technology Transfer) และเป็นแหล่งที่รวมข้อมูลเทคโนโลยี นวัตกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนสร้างวิทยากรประจำเครือข่ายในสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นทั้งผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อชุมชนและท้องถิ่นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (2) เพื่อนำเทคโนโลยีไปพัฒนาในกระบวนการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ทำให้ สินค้ามีมูลค่าเพิ่มและมีมาตรฐาน
(3) เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ที่มีศักยภาพและเทคโนโลยีที่เป็นภูมิ ปัญญาไทยหรือการวิจัยและพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ในชุมชนและท้องถิ่น
(4) เพื่อให้บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปผลักดันให้เกิดการพัฒนา เศรษฐกิจในชุมชนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคม

บทบาทคลินิกเทคโนโลยีจะทำหน้าที่
1. ให้บริการคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและบริการข้อมูล ผลงานวิจัยและพัฒนาทั้งของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและของมหาวิทยาลัย/สถบันการศึกษานวัตกรรมที่เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันของกระทรวงวิทยา- ศาสตร์และเทคโนโลยี และสถบันการศึกษา ตลอดจนภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น
2.เผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางสื่อท้องถิ่น เช่น รายการวิทยุของสถาบันการศึกษา โทรทัศน์ในท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ให้เกิดสังคมวิทยาศาตร์ การจัดนิทรรศการและจัดรถคลินิกเคลื่อนที่ (Mobile Unit)
3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยการฝึกอบรมในการสร้างวิทยากรเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เพิ่มทวีคูณ และการฝึกอบรมอบรมเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย
4.ทำการวิจัยและพัฒนาต่อยอดร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาในท้องถิ่น ปรับปรุงขบวนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์
5. การสนับสนุนบโยบายรัฐบาลเรื่องโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
6. การส่งเสริมนักเรียนที่มีอัจฉริยะทางด้านวิทยาศาสตรได้มีโอกาส ฝึกงานในห้องปฏิบัติการของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถาบันการศึกษา
7. ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพมีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางและพัฒนาไปสู่การจัดตั้ง อุทยานวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา
8. กิจกรรมอื่นๆ เช่นการให้บริการวิเคราห์และทดสอบห้องปฏิบัติการทางอุต-สาหกรรมในและนอกสถานที่รวมทั้งกิจกรรมที่จะตกลงร่วมกันในอนาคต

ขอบเขตการดำเนินงาน / วิธีทำงาน
5.1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงฯ จะเป็นผู้ประสานแผนงานตามโครงการคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นเครือข่าย จำนวน 118 แห่ง ทั่วประเทศ
5.2 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดฯ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดและสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่ายรวบรวมรายชื่อและ รายละเอียดเทคโนโลยี (Technology Shopping List) จำแนกเทคโนโลยีออกเป็น 3 กลุ่ม เช่น เทคโนโลยีชุมชน เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต และ เทคโนโลยีที่ควรพัฒนาต่อยอด ตามศักยภาพของเทคโนโลยีศักยภาพของผู้รับและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งลำดับความสำคัญ (Priority) และรายชื่อวิทยากร เพื่อการให้บริการคำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในคลินิกเทคโนโลยี 5.3 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอด เทคโนโลยีแต่ละเรื่องเองและ/หรือถ่ายทอดให้แก่วิทยากรในสถาบันการศึกษาที่ประจำคลินิกเทคโนโลยี ภายใต้แผนงานที่ได้มีการประสานและจัดทำร่วมกันระหว่างหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันการศึกษา 5.4 สถาบันการศึกษาจะจัดตั้งคลินิกเทคโนโลยีขึ้นในสำนักงานอธิการบดี หรือ สำนักงาน คณบดีหรือหน่วยงานที่ให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชน โดยมีรองอธิบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาหรือผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีระบบประสานงานระหว่างคณะต่างๆที่จะจัดวิทยากรที่เป็นทั้งผู้รับการถ่ายทอดและผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ใช้สถานที่ในสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งฝึกอบรม และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ธุรการที่มีในหน่วยงาน 1-2 คน เป็นผู้ประสานงาน 5.5 การวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอด หรือ เพื่อปรับปรุงกระบวนการหรือเพื่อแก้ปัญหา หรือเพิ่ม ประสิทธิภาพหน่วยงานเจ้าของเทคโนโลยีจะหาหรือร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อทำการวิจัยและพัมนาร่วมกัน โดยใช้แหล่งทุนที่มีอยู่ภายใน/ภายนอกหน่วยงาน 5.6 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะสนับสนุนด้านการเผยแพร่ให้ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต 


เป้าหมายโครงการ
        4.1 เกิดคลินิกเทคโนโลยีขึ้นในสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ เพื่อให้บริการคำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ชุมชนในส่วนภูมิภาค โดยในปี 2546 จะจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นโครงการนำร่อง 10 แห่ง ที่จะเป็นรูปแบบสำหรับการดำเนินการในปีต่อไป 4.2 เกิดกลุ่มนักวิชาการ วิทยากร นักศึกษาอาสาสมัครทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวกลางในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนท้องถิ่น
         4.3 กลุ่มเป้าหมายผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ชุมชนท้องถิ่น เช่น ชุมนุมสหกรณ์ กลุ่มแม่บ้าน ชมรมต่าง ๆ ฯลฯ ได้รับประโยชน์จากโครงการคลินิกเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ความคุ้มค่าด้านการลงทุน ผลงานวิจัยและพัฒนาที่ได้ลงทุนไปเป็นเงินจำนวนมากได้ถูกนำไปถ่ายทอดและ ใช้งาน นักวิจัย บุคลากร ได้รับการเรียนรู้จากการถ่ายทอดและรับข้อมูลย้อนกลับจาก ผู้ใช้งาน งบประมาณได้มีการบริหารจัดการตามนโยบายรัฐบาลอย่างคุ้มค่าและตรงตาม วัตถุประสงค์
6.2 ความสอดคล้องในการทำงาน การทำงานในลักษณะร่วมกันทำงาน ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถาบันการศึกษา โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าและให้การยอมรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนท้องถิ่นมีความต้องการรับเทคโนโลยี ระยะเวลาที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ ที่ต้องการให้บริการประชาชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์
6.3 ความสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ในท้องถิ่นทั่วประเทศ คือ
        7.1 ชุมชนและประชาชน เช่น แม่บ้าน/กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร ชุมชน/ชมรม นักเรียนนักศึกษา รายบุคคลหรือที่รวมกันเป็นกลุ่ม 
        7.2 วิสาหกิจชุมชน ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มนิติบุคลที่มีกฎหมายรองรับ เช่น กลุ่ม สหกรณ์ สมาคม อบต. กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ
7.3 อุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมในครอบครัว อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ฯลฯ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25971เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2006 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท