อาสาสมัครอิสรชน กับ ฅนสนามหลวง


หลายคนคงคุ้นชินกับคำที่ใช้เรียกขานคนจรจัด คนเร่ร่อน และคนไร้บ้าน วิวัฒนาการของคำที่ใช้เรียกผู้คนที่เพียงใช้ชีวิตแตกต่างไปจากคนทั่วไปที่มีที่พักอาศัยที่เรียกว่าบ้าน ... จากเดิมที่เรียกกันอย่างสนิทติดปากว่า คนจรจัด จนเริ่มมีการคิดวาทกรรมใหม่ เพื่อลดแรงเสียดทาน ปรับเปลี่ยนจาก คนจรจัด ที่ ใช้คำเดียวกันนี้เรียกหมาจัดจัดด้วย ?? มาเป็นคำว่า คนเร่ร่อน เพื่อให้ฟังดูเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาอีกนิดหน่อย จนเมื่อไม่นานมานี้ คำใหม่ วาทกรรมใหม่ ก็เกิดขึ้น คนไร้บ้าน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะสะท้อนบอกว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีเท่าเทียมกัน ต่างกันก็เพียง ที่อยู่ที่กิน อิสรชนเอง พยายามมองและเรียนรู้การใช้ชีวิตของเพื่อนพ้องกลุ่มนี้ อย่างลงลึกและพยายามเข้าถึงให้มากที่สุด จนเมื่อเวลาผ่านมากว่า 5 ปี คำหนึ่งที่เรา ตั้งใจจะเสนอเป็นวาทกรรมให้คนในสังคมเรียกขานเพื่อนพ้องที่ใช้ชีวิตนอกบ้านว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ (People living in Public Areas) แทนคำเรียกขานอื่น ๆ ที่เคยใช้มา อาจจะยาวไปหน่อย แต่ มันมีความชัดเจนแบบไม่ต้องอธิบาย อะไรเพิ่ม

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ทำงานกับ ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในพื้นที่สนามหลวงและคลองหลอด อย่างต่อเนื่องมากว่า 5 ปี โดยใช้วิธีการทำงานเปิดเวทีให้ผู้สนในทั่วไปมาเป็นอาสาสมัคร ทอลองมาศึกษาการใช้ชีวิต มาพูดคุยกับ ฅนสนามหลวง ว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร ..

การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมนั้น ไม่สามารถใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวแต่ต้องใช้สิ่งอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วยกัน ทั้งสังคม เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และอื่น ๆ

หลายครั้งอาสาสมัครที่เข้ามาเรียนรู้ชีวิตฅนสนามหลวง มักจะถึงบางอ้อและปรับทัศนคติเปลี่ยนมุมมองเดิมของตนเองเป็นมุมมองใหม่ ๆ ..

อยากรู้ว่า จะเป็นอย่างไร ต้องลองมา เป็น อาสาสมัครอิสรชน กับ ฅนสนามหลวง ดูเอง

หมายเลขบันทึก: 259691เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท