ความวิกฤตของภาษาไทย (Thai Language Crisis)


ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติ

 

มาอีกแล้วครับ...กับเรื่องยุ่งๆ ให้ชวนคิด

หัวข้อรุนแรง...แต่จะไม่ใช้แบบนี้ก็ไม่ได้แล้วครับ

เพราะผมเห็นท่าว่า ขืนยังเป็นเช่นนี้

ภาษาไทยที่ถูกต้องสวยงาม ต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน

 

จะว่าไปแล้วภาษาไทยของเรานี่ก็แปลก

เขียนแตกต่างกัน แต่ให้ความหมายเหมือนกันได้

 

ในความเหมือนที่ผมว่านี้ เป็นภาษาธรรมดาที่เราๆ พูดคุยกัน

พอผมมานั่งนึกดีๆ แล้ว ชักจะเริ่มสับสนบ้าง

แต่พูดกันแล้ว พวกเราก็เข้าใจได้เหมือนกัน

 

ได้ยินพูดกันบ่อยๆ แต่ไม่ทราบความหมายที่แท้จริง

เพราะยังมีความกำกวมกันเหลือเกิน

จะขอนำคำที่ผมพอนึกได้นะครับ

 

  1. หงายหลัง กับ หงายท้อง

สับสนกับคำสองคำนี้ไหมครับ จะไม่ขออ้างอิงในพจนานุกรม

แต่จะตีความตามความเข้าใจของผม ในฐานะที่เป็ฯคนไทยคนหนึ่ง

เพราะผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่ ไม่มีใครมานั่งเปิดพจนานุกรม

เวลาจะพูดคำนี้หรอกครับ แต่จะพูดอย่างอัตโนมัติ

พวกเราคิดว่ามีความหมายเหมือนกันไหม?

ความหมายแรก

หงายหลัง น่าจะหมายถึง

กิริยาที่แผ่นหลังของมนุษย์น่าจะหงายขึ้นด้านบน

หรือใช้คำใหม่ว่า หน้าขมำ น่าจะเหมาะสมกว่า

ความหมายที่สอง

หงายท้อง น่าจะหมายถึง

กิริยาที่ท้องของมนุษย์น่าจะหงายขึ้นด้านบน

แต่เวลาที่เราใช้จริงล่ะครับ???

หงายหลังคือ

ลื่นไถลโดยบริเวณหลังถูกพื้นก่อน

หงายท้องคือ

ลื่นไถลโดยบริเวณท้องไม่สัมผัสพื้น!!!

 

สับสนไหมเนี่ยภาษาไทย!!!

แม่กระทั่งตอนนี้ ผมก็ยังไม่ทราบเลยว่า

ที่ถูกต้องควรจะใช้คำว่าอะไรดี???

อ๋อ!!! หน้าขมำ และหลังขมำก็เช่นเดียวกันครับ!!!

 

  1. สนับสนุน กับ รณรงค์

ผมก็ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับคำสองคำนี้

สมัยก่อน เราใช้คำว่าสนับสนุนในการให้ความช่วยเหลือ

แต่ปัจจุบันนี้ กลับใช้คำว่ารณรงค์แทน เช่น

โครงการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

โครงการรณรงค์เมาไม่ขับ เป็นต้น

แล้วทราบหรือไม่ครับว่า รณรงค์

มีความหมายว่าอย่างไร?

รณรงค์ กับ สนับสนุน มีความหมายตรงข้ามกัน

แต่ปัจจุบันเอามาเป็นความหมายเดียวกันแล้วครับ

รณรงค์ แปลว่า การต่อต้าน

สนับสนุน แปลว่า ส่งเสริม

จากสองตัวอย่างข้อความข้างต้น

ถ้าแปลความหมายแล้ว จะแปลได้อย่างไรบ้าง?

ถ้าผมจะขอตะแบงนะครับ

เอาแบบตรงๆ และชัดเจน ซึ่งผมเชื่อว่ามีหลายคนคิดเช่นผม

แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นนี้

 

โครงการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ หมายความว่า

โครงการต่อต้านการไม่สูบบุหรี่ นั่นคือ

สนับสนุนให้สูบบุหรี่นั่นเอง (ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ มีความหมาย

ในเชิงบอกเล่านั่นเอง)

 

โครงการรณรงค์เมาไม่ขับ หมายความว่า

โครงการต่อต้านเมาไม่ขับ นั่นคือ

การสนับสนุนให้เมาแล้วขับ

 

ผมก็เลยเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ใคร? เป็นผู้ใช้คำเหล่านี้

ซึ่งแน่นอนว่ามาจากสื่อที่ประกาศออกมา

 

การที่จะใช้คำให้เกิดความสละสลวย ควรพิจารณาถึงความหมาย

ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ฟังแล้วไพเราะเท่านั้น

เพราะภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติ หากเราผู้ใช้ภาษาไทย

ยังใช้ภาษาในการสื่อสารได้ไม่ตรงกับที่จะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ

แล้วคนอื่นๆ ไม่เข้าใจ ก็โทษไม่ได้ครับ

ว่าเขาโง่ เขาไม่ได้เรื่อง

ต้องโทษตัวเองว่า ทำไมเราใช้ภาษาไทยได้ยอดแย่เช่นนี้

ทำให้คนอื่นไม่เข้าใจ

 

ควรจะต้องตระหนักให้ชัดเจนครับ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำหน้าที่

ประกาศข่าว หรืออกหน้าจอโทรทัศน์เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น

ผู้ประกาศข่าว พิธีกรรายการต่างๆ โดยเฉพาะรายการเกี่ยวกับวัยรุ่น

เริ่มใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนแปลกๆ แล้ว

 

จะทันสมัยขนาดไหนก็ไม่ควรเขียนภาษาไทยผิด

เพราะเวลาที่นักเรียนเขียนผิด คุณครูจะทำโทษก็ไม่ได้

เพราะนักเรียนอ้างว่า เขียนตามอย่างจากโทรทัศน์

 

แล้วคุณครูจะปวดหัว

เช่น

ใช่หรือเปล่า? เขียนเป็น ใช่หรือป่าว? หรือ ใช่อ๊ะป่าว

เป็นอะไร? เขียนเป็น เป็นอะรัย?

ว่ายังไงนะ? เขียนเป็น ว่ายังงัย?

 

ทราบว่าเป็นภาษาวัยรุ่น แต่การเขียนในที่สาธารณะ

ไม่ควรจะให้ออกมาเช่นนี้

 

แล้วก็ยังมีอีกหลายคำครับ

ฝากสื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลเรื่องนี้ด้วยความเต็มใจด้วย

อย่าให้ภาษาไทยของเราเสื่อมเสียมากไปกว่านี้เลยครับ

หมายเลขบันทึก: 259486เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 01:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท