ขลู่พืชมหัศจรรย์


ขลู่
 
 
ขลู่
 
ข้อมูลทั่วไป
ขลู่
 Pluchea indica Less.
Fam. :ASTERACEAE
ชื่ออื่น 
ขลู หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาย (อีสาน)
ลักษณะทั่วไป


ต้น      เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก   ลำต้นมี ความสูงประมาณ  0.5 - 2  เมตร   แตกกิ่งก้าน มากและเกลี้ยง
ใบ       จะมีกลิ่นฉุน ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความ ยาวประมาณ  1 - 5.5  ซม.  กว้างประมาณ  2.5 - 9  ซม. ตรงปลายใบของมันจะมีลักษณะแหลม หรือแหลมที่ติ่งสั้น      ขอบใบจักเป็นซี่ฟันและ แหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษค่อนข้างเกลี้ยง แต่ไม่มีก้าน
ดอก     จะออกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล  หรือ สีม่วง จะออกตามง่ามใบ   ดอกวงนอกเป็นดอก เพศเมีย  ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล     แห้งจะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7  มม.  มีสัน  10  สัน  ระยางค์มีน้อย    สีขาว ยาวประมาณ  4  มม.  แผ่กว้าง
การขยายพันธุ์         เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามที่ลุ่มชื่นแฉะ     ริมห้วยหนอง      ตามหาด ทราย   ด้านหลังป่าชายเลน  นิยมปลูกเป็นพืช สมุนไพร  การปลูกให้ใช้วิธีการปักชำ  โดยตัด ต้นชำลงดิน  รดน้ำให้ชุ่ม  ปลูกขึ้นง่าย  ไม่ต้อง การการดูแลรักษาแต่อย่างใด 
ส่วนที่ใช้   ยอด ใบ
 
สรรพคุณ
          ทั้งต้น  ใช้ต้มกิน รักษาอาการ ขัดเบา ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ  รับประทาน วันละ  3  ครั้ง    ก่อนอาหารครั้งละ  75  มิลลิลิตร  หรือ  1  ถ้วยชา  นอกจากนี้ยังรักษาโรค วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง   โรคเบาหวาน   ริดสี ดวงทวาร ขุดเอาแต่ผิวต้น  ผสมกับยาสูบแล้ว นำมามวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก  

 



คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25928เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท