สมบัติของผู้ดี


การอยู่ร่วมกันในสังคม ของมนุษย์

          ในการอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์เราจำต้องมีปฏิสัมพันธ์ในการทำ การพูด และการรู้สึกนึกคิดต่อผู้อื่น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปโดยราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งจึงจำต้องมีกฎกติกา มรรยาท ของการอยู่ร่วมกัน โดยพื้นฐานก็คือ สิ่งใดที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา ก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับเขา สิ่งใดที่เรายินดีชื่นชม หรือรักใคร่เอ็นดู เมื่อได้ยินได้เห็น ได้รับการปฏิบัติต่อ คนอื่นก็ปรารถนาจะได้รับเช่นเดียวกัน ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันโดยเหมาะสมกับเพศ วัย สถานะตำแหน่ง ในสถานที่และโอกาสอันควร จึงนับเป็นหลักการหรือวัตถุประสงค์หลักที่เราควรคำนึงถึง มากกว่าจะติดอยู่กับข้อบกพร่องปลีกย่อยด้านการใช้ภาษาหรือขนบธรรมเนียมเก่า ๆ พ้นสมัยที่อาจจะปรากฏอยู่บ้าง

          คำว่า"ผู้ดี" ในที่นี้ จึงมิใช่เรื่องของการแบ่งชนชั้นทางสังคม มิใช่เรื่องแบบแผนพิธีรีตองเจ้ายศเจ้าอย่าง หรือการสร้างภาพเพื่อหวังผลประโยชน์แอบแฝงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ใจเขา-ใจเรา ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นมาตรฐานทางสังคมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอในทุกยุค เป็นการขัดเกลาตนให้มีระเบียบวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อกัน เมตตากรุณาต่อกัน มีหิริโอตตัปปะที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบ แทนความโกรธ เกลียด หยาบคายต่อกัน เพราะผู้มีจิตใจดีย่อมสะท้อนออกมาในรูปของจริยามรรยาท ความละมุนละไม นุ่มนวล ตรงข้ามกับความกักขละ หยาบคาย ทำอะไรตามอำเภอใจ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ยินดีคบหาหรือแม้แต่พบเห็นเข้าใกล้ ของบุคคลทั่วไป

          สมบัตินี้ไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่ต้องแบกหามหรือซื้อหา หากแต่เป็นสมบัติประดับกายประดับใจให้เจ้าของเป็นผู้ดีมีคุณค่า มีความสง่างามในตัวเอง ถ้าหากความงามของเหล่าสงฆ์ที่มาจากหลากหลายวรรณะชั้นชนเกิดขึ้นด้วยบัญญัติแห่งพระธรรมวินัย ให้มีความสำรวมในการดื่มฉัน การเดิน ยืน นั่งนอน ฆราวาสชนทั่วไปก็อาจฝึกตนให้มีความงามได้ด้วยระเบียบวินัยอันเป็นสมบัติของผู้ดีเช่นเดียวกัน

 

ภาค ๑

ผู้ดีย่อมรักษา ความเรียบร้อย

 

กายจริยา  คือ

          (๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาข้ามกรายบุคคล.

          (๒) ย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง.

          (๓) ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน.

          (๔) ย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล.

          (๕) ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสียหาย.

          (๖) ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่นด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน.

          (๗) ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป.

          (๘) ย่อมไม่เอิกอึงเมื่อเวลาผู้อื่นทำกิจ.

          (๙) ย่อมไม่อื้ออึงในเวลาประชุมสดับตรับฟัง.

          (๑๐) ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก.

 

วจีจริยา คือ

          (๑) ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด.

          (๒) ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน.

          (๓) ย่อมไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดจากระโชกกระชาก.

          (๔) ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน.

          (๕) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย.

 

มโนจริยา คือ

          (๑) ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกำเริบหยิ่งโยโส.

          (๒) ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา. 

 

ภาค ๒

ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก

กายจริยา คือ

          (๑) ย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวอันสะอาด และแต่งโดยเรียบร้อยเสมอ.

          (๒) ย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง.

          (๓) ย่อมไม่จิ้มควักล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่ชุมชน.

          (๔) ย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง.

          (๕) ย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ชุมชน.

          (๖) ย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง.

          (๗) ย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดัง หรือให้เปรอะเปื้อน ให้เป็นที่รังเกียจ.

          (๘) ย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค.

          (๙) ย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน.

          (๑๐) ย่อมไม่ล่วงล้ำ ข้ามหยิบ ของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่น ซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งได้.

          (๑๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาใช้ในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำ และผ้าเช็ดมือ.

          (๑๒) ย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนส้อมไปล้วงตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง.

          (๑๓) ย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน.

 

วจีจริยา คือ

          (๑) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน.

          (๒) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน.

 

มโนจริยา คือ

          (๑) ย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด. ภาคสาม ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคาราวะ. 

 

ภาค ๓

ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ

กายจริยา คือ

          (๒) ย่อมนั่งด้วยกิริยาสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่

          (๓) ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่.

          (๔) ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่.

          (๕) ย่อมแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง.

          (๖) ย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น.

          (๗) ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น

          (๘) ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด.

          (๙) ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน.

          (๑๐) ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน.

          (๑๑) ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน.

          (๑๒) ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน.

          (๑๓) แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย.

 

วจีจริยา คือ

          (๑) ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่.

          (๒) ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง.

          (๓) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา.

          (๔) เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อน.

          (๕) เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใด แก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ.

          (๖) เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ.

 

มโนจริยา คือ

          (๑) ย่อมเคารพยำเกรงบิดามารดาและอาจารย์.

          (๒) ย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่.

          (๓) ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย. 

 

ภาค ๔

ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก

กายจริยา คือ

          (๑) ย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้นและไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนเดินกัน.

          (๒) ย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น.

          (๓) ย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์.

          (๔) ย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเ *** ่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง.

          (๕) เมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง.

          (๖) เมื่อเป็นเพื่อนเที่ยว ย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก.

          (๗) เมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย.

          (๘) ย่อมไม่ทำกิริยาบึกบึนต่อแขก.

          (๙) ย่อมไม่ให้แขกต้องคอยนานเมื่อเขามาหา.

          (๑๐) ย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่.

          (๑๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาอันบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใด ในเวลาเฉพาะเมื่อตนอยู่ต่อหน้าผู้หนึ่ง.

          (๑๒) ย่อมไม่ใช่กิริยาอันโกรธเคือง หรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก.

          (๑๓) ย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน.

          (๑๔) ย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมา ในระยะอันสมควร.

 

วจีจริยา คือ

          (๑) ย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขา ตั้ง แต่ง ไว้ในบ้านที่ตนไปสู่.

          (๒) ย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง.

          (๓) ย่อมไม่พ

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 259254เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท