..3 พฤษภาคมของทุกปี วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day)..


3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็น วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงโดยเสรี และปลอดภัย เพราะในระยะหลัง นักข่าวที่ลงพื้นที่ภาคสนามได้มีจำนวนผู้เสียชีวิต ถูกจับเป็นตัวประกัน และถูกจับกุมเพิ่มมากขึ้น ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก"

 

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

          เมื่อปี 2534 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เสนอให้สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกต้นเดือนพฤษภาคมนี้เป็นวาระที่ประเทศต่างๆ รัฐบาล ประชาชน และสื่อมวลชนเองจะได้ร่วมกันปลุกจิตสำนึก พิจารณาและพัฒนาข้อคิดข้อเสนอต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อมวลชน ทั้งยังเป็นโอกาสให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองและประเมินสถานการณ์ของเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อมวลชน

          ถึงแม้การเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2536 แต่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองเมื่อปลายปี 2491 ก็บัญญัติเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในข้อที่ 19 ว่าทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับ และแจกจ่ายข่าวสาร และความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน

          วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกเป็นวันเดียวกันกับวันครบรอบการประกาศปฏิญญาวินด์ฮุค (Windhoek Declaration) ว่าด้วยการส่งเสริมสื่อมวลชนที่เป็นอิสระและหลากหลาย ปฏิญญานี้ ประกาศในวันสุดท้ายของการสัมมนาว่าด้วยการส่งเสริมสื่อมวลชนแอฟริกาที่เป็นอิสระและหลากหลาย ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองวินด์ฮุค ประเทศนามิเบีย ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2534 ปฏิญญาวินด์ฮุคเรียกร้องให้ก่อตั้ง ส่งเสริม และทำนุบำรุงสื่อที่เป็นอิสระและมีรูปแบบและเนื้อหาหลากหลาย ปฏิญญานี้ย้ำว่าสื่อที่เป็นอิสระสำคัญต่อการพัฒนา และคงไว้ซึ่งประชาธิปไตย และการพัฒนาเศรษฐกิจ

          เสรีภาพของสื่อมวลชนเถือเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชนและเป็นหลักประกันเสรีภาพอื่นๆ ด้วย เสรีภาพของสื่อมวลชนกระตุ้นให้เกิดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ซึ่งจะประกันว่าสังคมจะได้รับความยุติธรรมที่แท้จริง

          นอกจากนี้ ยังเป็นสะพานสู่ความเข้าใจและความรู้ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ อันเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่แท้จริงและความร่วมมือระหว่างประเทศที่ยืนนาน

          ในวันที่ 3 พฤษภาคมทุกปี องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกย้ำเตือนรัฐบาลทุกประเทศให้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่จะเคารพสิทธิในการแสดงออกของสื่อมวลชน

ขอบคุณ

http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/

 

หมายเลขบันทึก: 259022เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ
  • เมื่อกี้ดูข่าวอยู่พอดี
  • ฟังแล้วก็เออ เออ
  • พอมาอ่านที่นี่
  • อุ๊ย ฉลาดขึ้นเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

P

ขอบคุณที่แวะมาทักทายบ่อยๆนะคะพี่

ขอพี่  มีความสุข ปลอดภัยในทุกเส้นทาง นะคะ

ขอบคุณข้อมูลนะคะ..แวะมาส่งนอนจ้า

P

รักษาสุขภาพนะคะ  พี่Add

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท