ทำไมต้องเป็น OD


ผมแปลกใจว่าทำไมเรื่องของการพัฒนาองค์กร จะต้องมีขณะไปนอกสถานที่ด้วย

 

เป็นความสงสัยส่วนตัวของผมมากกว่าครับ

เมื่อได้เข้ามาทำงาน จะได้ยินคำว่า OD บ่อยมาก

ที่ทราบมานั้น OD เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า

Organization Development แปลเป็นไทยได้ว่า

การพัฒนาองค์กร หรือ การพัฒนาองค์การ แล้วแต่จะแปลกัน

 

แต่ที่กำลังจะบอกว่าแปลกนั้น กลายเป็นว่า

เวลาหน่วยงานจะออกไปจัดกิจกรรมเข้าค่ายพักแรม

มักจะใช้คำว่า OD แทน การบอกว่า ไปสัมมนา หรือไปเข้าค่าย

 

ผมแปลกใจว่าทำไมเรื่องของการพัฒนาองค์กร

จะต้องมีขณะไปนอกสถานที่ด้วย

อยู่ภายในหน่วยงาน หรือบริษัทไม่สามารถทำ OD ได้เลยหรือ???

เพราะเท่าที่อ่านในงานเขียนอื่นๆ

หรือแม้แต่การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันนั้น

ก็จะใช้คำว่า OD เป็นหลักในการบอกว่า ไปสัมมนา ไปอบรมนอกสถานที่

 

สรุปใจความได้ว่า ความหมายของ OD ที่พูดถึงกันนั้น หมายถึง

การที่หน่วยงานมีการจัดการกรรมหรือการฝึกอบรมนอกสถานที่ โดยมีการค้างคืนเกิดขึ้น

 

แล้วแท้จริงแต่ละท่านนั้น เข้าใจความหมายของ OD ได้เพียงใดครับ

OD แท้จริงแล้วคืออะไร?

 

หลายๆ หน่วยงานก็ยังตอบได้ไม่ชัดเจน รู้แต่เพียงว่า

ให้พนักงานได้ละลายพฤติกรรมนอกสถานที่...มันไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องนัก

 

Organization Development นั้น

เป็นส่วนที่แตกออกมาจากแนวทางของ HR อีกแขนงหนึ่ง

ถ้าผมจะสรุปคร่าวๆ สามารถแยกออกได้ดังนี้ครับ

(อ้างอิงเนื้อหา จากตำราต่างประเทศ)

 

  1. HRM – Human Resources Management  

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

Organizational Restructuring  

Job Designing

Personnel Planning

Recruiting

Hiring

Evaluating

Promoting 

Compensating

Terminating

 

2.      HRD – Human Resources Development

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย

Training

Coaching

Mentoring System

E-Learning

Learning

Education

Scholarship

Language Training

Computer Training

Job Relations  

Special Assignment

Action Learning  

Project Based Learning

 

  1. OD – Organization Development

การพัฒนาองค์การ ประกอบด้วย

Team Building

GRID OD

Downsizing

Re-engineering

Quality Circle (QC), TQM

Performance Management

Career Planning & Development

Employee Asst. Program 

Privatization

Trans – organizational Development

Mergers & Acquisition

Learning Organization

Knowledge Management 

 

จะเห็นได้อย่างชัดเจนครับ ว่าทั้งสามด้านนั้น เน้นในเรื่องอะไรกันบ้าง

ท่านผู้รู้ได้แยกทั้งสามด้านออกมา เพื่อให้สามารถแยกแยะง่าย

และถูกประเภทมากขึ้น

 

การที่จะเกิดการพัฒนาองค์การได้นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปนอกสถานที่

ภายในสถานที่ก็ทำได้ เพียงแต่ศาสตร์ของมนุษย์ โดยเฉพาะด้าน HRD และ OD

ยังไม่ได้รับความสนใจจากประเทศไทย เท่าที่ควร

 

ตำราต่างๆ มากมายก็เขียนขึ้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น

ไม่ค่อยจะมีตำราด้าน HRD เท่าที่ควร

OD ยังคงพอมีบ้างประปราย ซึ่งตรงจุดนี้เอง

ทำให้เราต้องเรียนรู้ด้านนี้ให้มากขึ้น

เพื่อจะพัฒนาองค์การได้ตรงจุดตามที่เขียนหรือพูดกันไว้

หมายเลขบันทึก: 258855เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

***ได้เห็นมุมมองที่แตกต่างค่ะ

*** ขอบคุณค่ะ

ดีมากค่ะไดัรู้และเห็นความแตกต่างและเห็นด้วยกับความคิดของคุณ

ผู้ที่เกียวข้องกับการจัดอบน o.d. มักเป็นผุ้บริหาร หรือ ผุ้ที่มีอำนาจตัดสินใจ และอยากใช้งบประมาณเพื่อการไปต่างจังหวัดทัศนาจรไปด้วยงบประมาณ มักเป็นงบของทางราชการ ก็คล้ายคลึงกับการใช้งบประมาณในการไปเที่ยวดู(งาน) ณ ต่างประเทศ คนที่ลงมือดำเนินการเขียนโครงการ ตั้งำกา ก็ได้กินเงิบเปอร์เซ็นต์แบบหาเศาหาเลยไปด้วยครับ

เห็นด้วยกับคุณกริชครับ OD เป็นคำที่ใช้กันผิดเป็นส่วนมาก เพราะไม่เข้าใจ OD จริงๆ เห็นเข้าพูดก็พูดตามกัน แท้ที่จริง ในทางราชการคือ การใช้งบหลวง (ก็เงินภาษีของพวกเรานี่แหละ) ในการไปดูงานต่างประเทศ ไปกินอยู่ดีๆ ระดับ First Class และการต้อนรับที่สุดหรู โดยไม่ได้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างแท้จริง เชื่อเถอะครับว่า อีกไม่นาน กรรมจะตามสนอง โดยเฉพาะเรื่องของสังขารร่างกาย อาจจะไม่สมบูรณ์ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กันมากมาย เพราะใช้วิชา "ทำนาบนหลังคน" ครับ เมืองไทยเป็นอย่างนี้จริงๆ เราต้องยอมรับกับสิ่งนี้ด้วย

เห็นด้วยกับคุณพัฒนะ " อย่างแรง "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท