ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองกิจกรรมแนะแนว เล่ม 1 (ต่อ)


 

 

 

2

แนวทางการจัดงานแนะแนว

 

บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียนด้านการศึกษา

         

 

 

 

 

เป็นอะไร

 

1.

         

 บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียนด้านการศึกษา เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้วยกลวิธีต่าง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนเพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเองรวมทั้งครูได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นเต็มตามศักยภาพ

 

3

 

 

จัดทำไม

 

2.    

  

1)         เพื่อให้ครูหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนได้รู้จักและเข้าใจนักเรียนมากขึ้น

2)         เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองในด้านการเรียนมากขึ้น

3)         เพื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนไปใช้ในแนวทางป้องกันปัญหา  แก้ไขปัญหา  และพัฒนาการเรียนของนักเรียน

  

 4

จัดอย่างไร

 

3. 

    

     วิธีศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียน  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

1)           ประเภทไม่ใช้แบบทดสอบ  ประกอบด้วยวิธีการดังต่อไปนี้คือ

1.1)        การสังเกต

1.2)        การสัมภาษณ์

1.3)        การเยี่ยมบ้าน

1.4)        สังคมมิติ

1.5)        การเก็บข้อมูลโดยศึกษาจากผลงานต่าง ของนักเรียน  เช่น

-       อัตชีวประวัติ

-       เรียงความ

-       บันทึกประจำวัน

 

 5

  

   1.6 )     การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบถามประกอบด้วย

-       แบบสอบถามความสนใจ

-       แบบเติมประโยคให้สมบูรณ์

-       แบบสอบถามความนึกคิดของบุคคลที่มีต่อตนเอง

-       แบบรวบรวมข้อมูลทั่ว ไป ของนักเรียน

1.7)         การรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียนสะสม

1.8)         การศึกษาเป็นรายกรณี

2)           ประเภทใช้แบบทดสอบ  ประกอบด้วยแบบทดสอบดังนี้

2.1)        แบบทดสอบสติปัญญา

2.2)        แบบทดสอบสัมฤทธิผลทางการเรียน

2.3)        แบบทดสอบความถนัด

2.4)        แบบสำรวจความสนใจ

2.5)        แบบสำรวจบุคลิกภาพ

 

6

   

ข้อคิดในการรวบรวมข้อมูล

 

 

  

1)         การรวบรวมข้อมูลให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง  ครบถ้วน  ควรใช้เครื่องมือและวิธีการหลาย   อย่างประกอบกัน

2)         การรวบรวมข้อมูลนักเรียนจะได้ผลดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคณะครูและนักเรียนในโรงเรียน

3)         ไม่ควรคาดหวังว่า  เมื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียนแล้ว  จะมีความเข้าใจนักเรียนทุกคนอย่างถูกต้องที่สุด

4)         การศึกษาและรวบรวมข้อมูล  ควรจัดขึ้นเพื่อแสวงหาความเข้าใจนักเรียน  และให้ความช่วยเหลือควบคู่กันไป

5)         ต้องเลือกใช้เครื่องมือหรือวิธีการให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็น  ไม่ใช้เครื่องมือหรือวิธีการอย่างเดียวกับเด็กทุกคน

6)         รวบรวมข้อมูล  ควรมุ่งให้นักเรียนแต่ละคนเข้าใจตนเองดีขึ้น  เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ

 

7

7)          การศึกษาและรวบรวมข้อมูล  จะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทางบ้านของ นักเรียนด้วยครูจะต้องศึกษาที่ตัวนักเรียนและสิ่งแวดล้อม  เพื่อให้มีความเข้าใจในตัวนักเรียนได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

 

       อนึ่งในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของนักเรียนนั้น  ควรจะได้ข้อมูลทั้งจากตัวนักเรียนเองและจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง  เช่น  พ่อแม่  ผู้ปกครอง   ครูประจำชั้น   หรือเพื่อน   เพราะการรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว  อาจจะได้ข้อมูลไม่ครอบคลุม  และคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  เพราะความอคติหรือความไม่รู้จริง

 

 

หมายเลขบันทึก: 258333เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีประโยชน์สำหรับคุณครูแนะแนวในการศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

ดีมากและเป็นประโยชน์ต่อครูแนะแนวมือใหม่ด้วย

กำลังศึกษารูปแบบการแนะแนวที่พอเหมาะกับกลุ่มนักเรียนเพศชายชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ ครูจะกรุณาชี้แนะด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท