๙ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (องค์ที่ ๙)


พระฝางทรงเครื่องจำลอง

http://tbn2.google.com/images?q=tbn:nrCuHsa19VwCRM:http://www.clker.com/cliparts/f/f/e/4/12065572121317625675no_hope_Wireless_access_point.svg.hi.pnghttp://lh6.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/SnMxtSjl_7I/AAAAAAAAEdw/AvQEaQR8Gg0/%E0%B8%AB%E0%B8%AB%E0%B8%AB%E0%B8%AB.jpg เปิดบริการอินเตอร์เน็ตไร้สายฟรีในวัดคุ้งตะเภา :

 

          หลวงพ่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ    

http://lh6.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/SfiFYUy4cLI/AAAAAAAADdE/sXAHvY6_ESI/DSCF2025.jpg

พระฝาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบเศษ (๓๑ นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระฝาง ในสมัยที่เป็นสังฆราชาเมืองฝาง และเคยเป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จนในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดให้อัญเชิญองค์พระฝางมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรกรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน

สำหรับหลวงพ่อพระฝางองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระฝางนี้ เป็นพระพุทธรูปองค์จำลองครับ จัดสร้างโดยได้รับพระบรมราชานุญาต อัญเชิญจากกรุงเทพมาประดิษฐานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีงานสมโภช ๙ วัน ๙ คืน ปัจจุบันทางวัดจะจัดงานสมโภชองค์พระฝางเป็นประเพณี ๓ วัน ๓ คืน ในช่วงเมษายนของทุกปีครับ โดยปกติทางวัดจะเปิดให้เข้าสักการะในวันสำคัญของทางวัดครับ ใครอยากนมัสการเรียนขออนุญาตจากทางเจ้าอาวาสได้ครับผม

 

ประวัติ

แรกสร้างในสมัยสุโขทัย

พระฝาง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. ๒๒๘๐ มี พุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือพระพากุลเถระ พระสังฆราชแห่งเมืองฝาง (เจ้าพระฝาง) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝางในขณะนั้น เดิมพระฝางเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนี นาถ

พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง ๗ วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่งในรัชสมัยของ สมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่๕) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรฯจนถึงปัจจุบัน

อัญเชิญพระฝางไปยังวัดเบญจมบพิตร

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดให้อัญเชิญองค์พระประธาน ที่เรียกกันว่า พระฝางลงมายังวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ โดยทิ้งฐานพระไว้ที่เดิม

พ.ศ. ๒๔๕๑ ปรากฏพระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า ให้จำลองรูปพระฝาง ได้สั่งให้ช่างรีบปั้นหุ่นถ่ายรูปไว้แล้ว ให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดพระฝางกลับคืนไปไว้ที่เมืองฝางตามเดิมให้ทันฤดูน้ำ นี้

แต่ในปัจจุบันนี้ เกินเวลาหนึ่งร้อยปีแล้ว องค์พระฝางก็ยังประดิษฐานอยู่วัดเบญจมบพิตร มิได้กลับคืนไปอุตรดิตถ์ ตามพระราชดำริแต่ประการใด

การจัดสร้างองค์พระฝางจำลอง

พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๔๑ และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ ๑๑, จังหวัดอุตรดิตถ์, กรมศิลปากร และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระฝางสวางคบุรี และจัดสร้างบานประตูวัดพระฝางจำลอง รวมทั้งจัดสร้างองค์พระฝางจำลองเพื่อนำกลับไปประดิษฐาน ณ วัดพระฝางสวางคบุรี

โดยคณะกรรมการ วปรอ. ๔๑-๑๑ ได้ทำการขอพระบรมราชานุญาตจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดสร้างองค์พระฝางจำลองในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่ ๑๑๒/๔๗ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗

พิธีหล่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) องค์ใหม่ จัดขึ้นที่ วัดเบญจมบพิตร โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระฝางทรงเครื่อง เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธรูปพระฝางจำลอง ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->

การจัดสร้างองค์พระฝางจำลองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดพระฝางสวางคบุรี เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยอัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานครโดยเครื่องบินมายังสนามบินพิษณุโลก ในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ที่จังหวัดพิษณุโลก ๗ วัน คืน ในวันที่ ๒๔ ถึง ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้อัญเชิญมายังวัดพระฝางสวางคบุรีในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีการจัดพิธีต้อนรับพระฝางทรงเครื่องจำลองและมีการจัดมหรสพสมโภช การแสดงแสงสีเสียง ประวัติของเมืองฝางและพระพุทธรูปพระฝาง อย่างยิ่งใหญ่ ๙ วัน ๙ คืน[]

ปัจจุบัน พระพุทธรูปพระฝางจำลองได้ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระฝางตามเดิม หลังจากพระพุทธรูปพระฝางองค์จริงได้จากเมืองอุตรดิตถ์ไปครบ ๑๐๐ ปี การอัญเชิญพระพุทธรูปพระฝางจำลองกลับคืนสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ นับว่าเป็นมงคลสมัยครบรอบ ๑๐๐ ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขารับสั่งให้นำพระฝางกลับคืนยังเมืองฝาง ยังความปลื้มปีติแก่ชาวอุตรดิตถ์เป็นล้นพ้น[

 

     วัดพระฝาง หรือชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ ๓ ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๐๐ (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)

     วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ เจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ เพื่อจะกู้เอกราช

     วัดพระฝาง มีโบราณสถานที่สำคัญคือโบสถ์มหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถานตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝาง ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักสมัยอยุธยาอันสวย งามอยู่ บริเวณกลางกลุ่มโบราณสถานมีพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์องค์เดิมปรักหักพังไปมากจึงมีการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเชียงแสน ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่วัดธรรมาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔)

     ปัจจุบันวัดพระฝางได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๕๒ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ ๓๒ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก - สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย,

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ป
หมายเลขบันทึก: 258296เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 01:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท