เล่าสู่กันฟังประสบการณ์ด้านอีเลิร์นนิงของผม


ประสบการณ์

ประสบการณ์เกี่ยวกับอีเลิร์นนิงของผม จะเป็นในส่วนของผู้เรียน ผู้สอนและผู้ดูแลระบบ ในขณะที่เรียนในระดับป.โท ก็เลยได้มีโอกาสในการทดลองใช้อีเลิร์นนิงในการทดลอง ในการสร้างเนื้อหา และบริหารจัดการรายวิชา ความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างก็จะมีพื้นฐานอยู่ประมาณหนึ่งครับ ยังอยู่ระดับของผู้ศึกษาและวิเคราะห์ไปทั่วครับ

โดยในขณะที่เรียนได้มีโอกาสศึกษา โปรแกรมที่ใช้ในการบริหารจัดการการเรียน อยู่ 2 ตัว คือ
1.โปรแกรม ALSC ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมได้พัฒนาขึ้นอยู่ที่ Url : http://alscnet.chandra.ac.th/  มีคู่มือการใช้งานดังนี้

ในส่วนของอาจารย์
-วิธีสมัครสอน
-การสร้างเนื้อหารายวิชา/โครงงาน
-การสร้างแผนการสอนรายวิชา
-การแก้ไขแผนการสอนและเนื้อหารายวิชา

ในส่วนของผู้เรียน
-วิธีสมัครเรียน
-วิธีสมัครลงทะเบียนเรียนรายวิชา
-การใช้งานระบบสืบค้นข้อมูล

2. โปรแกรม Moodle ซึ่งเป็นโปรแกรมเดียวกับที่ทาง TCU ใช้ในการจัดการเรียนหลักสูตร e-Pro นี้ ก็ได้ความรู้มาระดับหนึ่ง

 

ข้อเปรียบเทียบ(จากประสบการณ์กับการเรียนในหลักสูตร e-Pro อยู่ที่ Url : http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/)

ในช่วงที่ทดลองและได้ใช้การเรียนอีเลิร์นนิง ทั้ง 2 โปรแกรม จะเป็นในลักษณะ Linear ในเชิงการวิจัย คือ ผู้เรียนจะต้องเรียนไปตามลำดับ และในแต่ละเนื้อหาของบทเรียน ก็จะมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และต้องทำแบบทดสอบหลังเรียนให้ได้ก่อนจึงจะไปเรียนในบทเรียนบทต่อไปได้ ซึ่งก็เหมือนกันในลักษณะการเรียน แตกต่างในในเรื่องของลักษณะของกิจกรรมและการประเมินผล

 

บริบท (สภาพแวดล้อมของหน่วยงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ควรจะเป็นเช่นไร

ขอวิเคราะห์ถึงหน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ ซึ่งก็ใกล้ตัวผมและมีความเข้าใจในบริบทอยู่พอสมควร คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในส่วนของการพัฒนาเนื้อหารายวิชา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงโดยใช้โปรแกรมซึ่งพัฒนาโดย TCU นำมาใช้ในการบริหารจัดการเรียน อยู่ที่ Url : http://www.mcu.ac.th/site/elearning.php
แต่สิ่งที่เป็นปัญหา ในการจัดการเรียนของมจร.
1. เนื้อหาบทเรียนรายวิชา ของมหาวิทยาลัย ยังขาดความเป็นเอกภาพของเนื้อหา เนื่องจากมหาวิทยาลัยของมจร. มีวิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์อยู่ทั่วประเทศ มีลักษณะการให้บริการคล้าย มสธ. ในเบื้องต้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้เริ่มพัฒนาเนื้อหารายวิชา
2. บุคลากร คือ ในส่วนของผู้ดูแลระบบ และผู้คอย Support และคอยให้คำแนะนำและแก้ปัญหาให้แก่ผู้สอน และผู้เรียน โดยตรงยังไม่มี ยังอาศัยบุคลากรจากส่วนงานอื่นๆ
3. ผู้สอน ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง ยังไม่เชื่อมั่นในการเรียนการสอนในรูปแบบอีเลิร์นนิง ยังขาดความรู้ในการใช้งานโปรแกรมบริหารการเรียนอีเลิร์นนิง และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และยังขาดเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารการเรียนการสอนเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซึ่งในแต่ละปัญหาทางมหาวิทยาลัย ก็ได้มีการแก้ไขปัญหาต่างๆไปโดยลำดับ เช่น การอบรมพัฒนาบุคลากรในส่วนนี้อย่างต่อเนื่องฯลฯ  ปัญหาในด้านนี้ก็กำลังจะค่อยหมดไปแต่ก็ต้องใช้เวลาและความจริงจังของนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งปัญหาในส่วนนี้ในแต่ละมหาวิทยาลัยก็คงจะมีไม่แตกต่างกัน
4. ผู้เรียน ผู้เรียนของมหาวิทยาลัย กว่า 80% จะเป็นภิกษุสามเณร และอีก 20% จะเป็น ฆราวาส ส่วนอายุของผู้เรียนของมหาวิทยาลัยจะมีความแตกต่างกันค่อยข้างมาก ความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีไม่เท่ากัน จึงทำให้ทางมหาวิทยาลัยมีความลำบากในการจัดการเรียนในรูปแบบอีเลิร์นนิง และผู้เรียนยังขาดเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนรูปแบบอีเลิร์นนิง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็อำนวยความสะดวกให้ได้ระดับหนึ่ง เช่นมี การอบรมให้และให้ความรู้แก่นิสิตเพิ่มเติม ฯลฯ แต่ก็คงต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมาช่วยในการแก้ปัญหาดำเนินการเรียนในรูปแบบออน์ไลน์ต่อไป

 


สรุปโดยส่วนตัวก็ถือว่า มหาวิทยาลัยได้เริ่มต้นในการเรียนในรูปแบบออน์ไลน์ในทิศทางที่ดีแล้ว สำหรับการเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยซึ่งใหม่กับเรื่องนี้มากๆ

หมายเลขบันทึก: 257309เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท