เส้นทางนรก หรือ เส้นทางสวรรค์


หนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ปราชญ์ของแผ่นดิน ที่ท่านเข้าถึง "พุทธธรรม" ขั้นสูง และได้ศึกษาหาแนวทางที่จะช่วยให้คนอื่น ๆ ในสังคมเห็นและเข้าถึงพุทธธรรมให้ได้ ...... ถ้าดูผิวเผิน อาจจะเป็นข้อความแรง ๆ แต่ถ้าพิจารณาอย่างใจที่เป็นกลางมีสติ สมาธิและปัญญา แล้วจะพบว่า นั่นเป็นสุดยอดความจริงปรมัตถ์แห่งยุคสมัย...ที่ตกผลึกจากปัญญาปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบูรณาการเข้ากับบริบทแห่งยุคสมัยโดยยังคงรักษาแก่นพระธรรมคำสั่งสอนไว้เป็นอย่างดี...
  • หลังจากที่ได้ทดลองอ่านหนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" ที่เขียนโดยท่าน ศาสตราจารย์ น.พ.ประเวศ วะสี โดยในการอ่านครั้งแรกนั้นเป็นเล่มที่ยืมมาจากห้องสมุด
  • อ่านแล้วพบว่าเป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ ครับ จึงตัดสินใจสั่งซื้อจากร้านหนังสือออนไลน์ ชุดที่ได้มานี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 25 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เล่มเล็กกระทัดรัดมากขึ้น
  • เล่มที่สองนี้มีชื่อว่า "เส้นทางนรก หรือ เส้นทางสวรรค์" จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนที่ผมประทับใจมานำเสนอไว้ดังนี้ครับ

 

  • ...การพร่ำพรรณนาแต่เพียงว่า "จิตใจดีเสียอย่าง ทุกอย่างจะดีเอง" คงจะแก้ปัญหาไม่ได้
    เป็นการดี ที่มีคนตั้งใจทำดี
    เป็นการดี ที่มีคนเจริญสมาธิ
    เป็นการดี ที่มีคนเจริญปัญญา
    จะทำเท่าไร ก็เชิญเถิด เป็นของดี ถึงท่านเองอาจจะไม่สนใจที่จะพัฒนาสังคมในด้านอื่น ๆ ก็ไม่เป็นไร
    ขออย่าเที่ยวไปสอนคนอื่นว่า "อย่างอื่นไม่สำคัญ อย่างอื่นไม่ควรทำ ถ้าจิตใจดีเสียอย่างทุกอย่างจะดีเอง"
    เพราะไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องเพ้อฝัน เป็นไสยศาสตร์
    เป็นการที่ต่อต้านการสร้างปกติภาพในสังคม
    เป็นชนวนให้เกิดความวุ่นวายสับสน และบ่อเกิดอาชญากรรม ติดตามมานานัปการ
    จิตใจของคนส่วนใหญ่จะดีไม่ได้ ถ้าปราศจากอาชีพและรายได้ที่จะยังให้มีปัจจัย ๔ โดยทั่วถึง
    ถ้าไม่เชื่อจะอ้างพระไตรปิฎกมาให้ดูก็ได้ครับ
    (หน้า 149-150)

 

  • ...ทุกวันนี้เทคนิคในการส่งเสริมให้คนมีกิเลสตัณหานั้นได้พัฒนาไปมาก ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ (อินเทอร์เน็ต ด้วยครับ) เข้าไปถึงทุกบ้านทุกช่องให้สัมผัสได้ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (การสัมผัสเป็นเครื่องกำหนดจิต) แล้วระบบการสอนธรรมะ และระบบการศึกษา อย่างที่เคยทำจะมีน้ำยาอะไรไปสู้ได้ (หน้า 161)

 

  • ...ถ้าเราไม่สามารถสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขขึ้นได้ในสังคม ถ้าคนส่วนใหญ่ต้องอยู่ร้อนนอนทุกข์ แล้วล่ะก็ เมินเสียเถิดที่เราจะเห็นคนส่วนใหญ่มีโอกาสพัฒนาจิตใจขึ้นตามหลักไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเราก็จะบอกว่า ประยุกต์พุทธธรรมไม่ได้ผลโว้ย...(หน้า 174)

 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • เมื่อได้อ่านหนังสือชุดนี้ ทำให้เห็นจุดบอดของตนเอง และคิดว่าคงเป็นจุดบอดของนักเทคโนโลยีอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
  • กล่าวคือ นัก ICT จะคุ้นชินกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเป็นนิสัย หรือเป็นธรรมดา เช่น เห็นการตกรุ่นของคอมพิวเตอร์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
  • เห็นการเปลี่ยนแปลงสื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเริ่มตั้งแต่แผ่นดิสเก็ต ขนาด 8 นิ้ว มาเป็น 5 นิ้ว เป็น 3 นิ้ว และ Handy Drive ที่ขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นหลายเท่าตัวแบบก้าวกระโดด => พวกเราอยู่กับการเปลี่ยนแปลงนี้จนเคยชิน จนเป็นธรรมดา ธรรมชาติ จนสร้างนิสัยให้เราไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือสนใจกับประวัติศาสตร์และสิ่งที่ผ่านมาเท่าที่ควร
  • ส่วนใหญ่เราจะมองหาสิ่งใหม่ ๆ คิดไปข้างหน้าแต่ถ่ายเดียว ไม่ค่อยศึกษาหรือให้ความสนใจว่า ใครทำอะไรไว้บ้างอย่างไร 
  • ดู ๆ ไปก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่ แต่ทว่าได้สร้างจุดบอดให้กับเรามากขึ้นทุกวันอย่างไม่รู้ตัว
  •  ... ยกตัวอย่าง เราจะเห็นว่าเทคโนโลยี Handy Drive นั้นไม่ได้อาศัย หรือพัฒนาขึ้นโดยตรงจากเทคโนโลยีก่อนหน้าอย่างแผ่นดิสเก็ตเลย เป็นต้น
  • จุดบอด ที่ว่านี้ก็คือ ด้วยวิถีชีวิตนัก ICT ทำให้เราสนใจประวัติศาสตร์น้อยลง หรือแทบจะไม่สนใจเลยนั่นเอง
  • ผมเริ่มเห็นจุดบอดนี้ตอนที่ได้อ่านหนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" คือ ทำให้เข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นว่าบางสิ่งบางอย่างที่เราคิดจะสร้างหรือจะทำนั้น หลายสิ่งหลายอย่างได้มีผู้ที่คิดและทำมาก่อนแล้ว
  • หนังสือ "พุทธธรรมกับสังคม" นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ปราชญ์ของแผ่นดิน ที่ท่านเข้าถึง "พุทธธรรม" ขั้นสูง และได้ศึกษาหาแนวทางที่จะช่วยให้คนอื่น ๆ ในสังคมเห็นและเข้าถึงพุทธธรรมให้ได้ ...
  • ยกตัวอย่างเช่น ข้อความในหนังสือบางส่วนข้างต้นนั้น ผมคิดอยู่นานว่าจะนำเสนออย่างไรให้ท่านผู้อ่านเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอนั้น จึงตัดสินใจนำข้อความพร้อมต้นฉบับมากล่าวอ้างพร้อมระบุเลขหน้าเพื่อให้ท่านผู้อ่านที่สนใจไปค้นคว้าอ่านเพิ่มเติมได้
  • ... ถ้าดูผิวเผิน อาจจะเป็นข้อความแรง ๆ แต่ถ้าพิจารณาอย่างใจที่เป็นกลางมีสติ สมาธิและปัญญา แล้วจะพบว่า นั่นเป็นสุดยอดความจริงปรมัตถ์แห่งยุคสมัย...ที่ตกผลึกจากปัญญาปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบูรณาการเข้ากับบริบทแห่งยุคสมัยโดยยังคงรักษาแก่นพระธรรมคำสั่งสอนไว้เป็นอย่างดี...

  

 

 

หมายเลขบันทึก: 257230เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียน ท่านอาจารย์ "สวรรค์อยู่ในอก น..ร..ก.. อยู่ในใจ อะท่าน

เรียนท่านอาจารย์

P

1. JJ

 

  • จริงดั่งท่านอาจารย์ว่าไว้ครับ ..."สวรรค์อยู่ในอก น..ร..ก.. อยู่ในใจ ...
  • หนังสือ เส้นทางนรกเส้นทางสวรรค์  (พุทธธรรมกับสังคม เล่ม 2)  มีแนวคิดที่น่าสนใจมากหลายประการครับท่านอาจารย์

อ่านแล้ว ชอบเช่นกันค่ะ

สวัสดีครับ 

  • อ่านเมื่อไร ก็ชอบเมื่อนั้นครับ
  • นาน ๆ จะหาหนังสือที่ชอบเจอ ต้องอ่านหลาย ๆ รอบครับ
  • ขอบคุณครับ

 

 

สวัสดีค่ะ..อาจารย์

อยากอยู่อย่างไม่ต้องคิด...เพราะคิดเมื่อไรก็....

กิเลสมีมาก มาได้หลายทาง ถ้าทุกคนละกิเลสได้ก็ดี ไม่ต้องมีสีเสื้อต่าง ในบ้านเรา

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปตามกรรม(การกระทำ) จริงไหม ครับท่าน

เรียน อ.สุรเชต

ผมมีปัญหาในเรื่องการโต้ตอบกับอาจารย์ สงสัยแต่ถามไม่ถูก ไม่ทราบจะถามอาจารย์อย่างไรถึงจะถูกตามข้อสงสัยของผม

เรื่องสำคัญ คือ

1. ผมมี Blog แล้ว จะเริ่มต้นเขียนอย่างไร

2. นำ Blog นี้เข้า Planet ของท่าน หมายความว่าอย่างไร

สวัสดีครับ

5. ยอดมนุษย์ [IP: 203.158.201.3]

6. pranee [IP: 203.158.201.3]

  • ผู้รู้ท่านว่า ...ผู้คิดไม่รู้ ผู้รู้ไม่คิด ไม่รู้ต้องคิด ไม่คิดไม่รู้
  • ผมเข้าใจว่า การจะละกิเลส ต้องมีความเพียร หมั่นภาวนา ขัดเกลาจิตใจของเราไปเรื่อย ๆ นะครับ
  • ขอให้เจริญในธรรมนะครับ

สวัสดีครับ คุณ 7. ทองศรี

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท