โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

พี่เล่าเรื่อง น้องเรียนรู้


จากการสร้างค่านิยมในองค์กรผ่านเรื่องเล่าในเวทีสร้างองค์กรนวัตกรรม ทำให้เป็นเรื่องเดียวกันซะให้หมด

     ขอนำบทความที่ citrus เขียนลงวารสารพนักงานในคอลัมน์ iDEA Time มาแบ่งปันค่ะ

ที่นำ story telling มาใช้เพราะได้รับคำแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษา ให้นำมาช่วยปลูกฝังค่านิยมผ่านเรื่องเล่าที่เป็นประสบการณ์การทำงานของรุ่นพี่ citrus ก็เลยยึดอำนาจเพราะดูทั้งสองโครงการ จับมันมาไว้ด้วยกันซะเลย

     ผลที่ได้รับจากการไปสังเกตการณ์ เรื่องเล่าของพี่ๆ ที่เล่าออกมาจากใจ ช่างมีพลังดึงดูดน้องๆ ให้ฟัง และอยากรู้เพิ่มเติม พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็น แต่จะให้น้องฟังเพลินๆ ก็ไม่ได้ ต้องขอให้ capture knowledge & reflection จึงจะครบสูตร ยอมรับว่าบางหน่วยงานทำได้ดีมาก บางหน่วยงานต้องค่อยๆ ปรับกันไป

 

พี่เล่าเรื่อง-น้องเรียนรู้ (Story Telling)

 

          ปีนี้กิจกรรม iDEA Time ของ SCG Chemicals มีความแตกต่างหลากหลายตามสไตล์ชีวิตและการทำงานของผู้ปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่  สำหรับบางซื่อ ทุกสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน นอกจากการทำ monthly reflection แล้ว ยังขอเชิญพี่ๆ ระดับแผนกขึ้นไปมาช่วยแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว หรือความรู้ให้กับน้องๆ ในหน่วยงานด้วย ซึ่งพี่ๆ บางท่านมีเรื่องเก็บในคลังสมองเกินบรรยาย แต่ยังขัดเขินจะเริ่มต้นอย่างไรดี ทำอย่างไรให้น้องเรียนรู้เรื่องเล่าของพี่อย่างเต็มที่

 

 วิธีการเล่าเรื่อง จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงการจัดการความรู้   นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์สำหรับหัวหน้านำมาใช้สอนงานลูกน้อง (coaching) ซึ่งจะช่วยให้สิ่งที่สอนนั้นน่าสนใจ และยังทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

 

เรามาทำความรู้จักกับ เทคนิคการเล่าเรื่อง หรือ  story telling ว่าคืออะไรกันแน่ จะเหมือนกับพ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังหรือเปล่านะ ที่ตอนท้ายต้องมีบทสรุปว่า นิทานเรื่องนี้ให้บทเรียนอะไรบ้าง

 

          Story telling เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ตรงในการทำงาน โดยที่เรื่องเล่านั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เล่าเองจริงๆ เช่น เรื่องที่ภาคภูมิใจ หรืออาจเป็นประสบการณ์การแก้ปัญหา ฟันฝ่าวิกฤตในงาน ทั้งที่เคยทำสำเร็จ หรือเรื่องที่เป็นบทเรียนสอนใจ ทั้งนี้ก็เพื่อแบ่งปันความรู้ ถ่ายทอดค่านิยม วัฒนธรรม ก่อเกิดความร่วมแรงร่วมใจ กระตุ้นจูงใจให้ปฏิบัติตาม  เรื่องเล่าที่ดีควรให้ข้อคิดแก่ผู้ฟัง และสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานหรือการใช้ชีวิตส่วนตัว

         

เมื่อเล่าจบ ผู้เล่าหรือ Facilitator ก็สามารถที่จะถามความคิดเห็นของผู้ฟังได้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการสร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดีและยังเป็นการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย  การทำ Story telling ภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะจะทำให้หัวหน้ากับลูกน้องเข้าใจความคิด ความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วตรงประเด็น

          ในช่วงเริ่มต้น ควรเล่าเรื่องที่ภาคภูมิใจก่อน จนทีมงานเกิดความไว้วางใจกันแล้ว จึงค่อยนำเรื่องที่อาจเคยล้มเหลวมาแบ่งปันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นบทเรียนเชิงลึกต่อไป

เทคนิคการเล่าเรื่องมีอยู่มากมาย แต่ครั้งนี้ขอนำเสนอ STAR Model ซึ่งช่วยให้ผู้เล่าเรียบเรียงความคิด ปะติดปะต่อเรื่องราวให้กระชับ ได้ใจความสำคัญครบถ้วน เทคนิค STAR โดยทั่วไปจะนำมาใช้กับการสัมภาษณ์งานแบบ Behavior Based Interview ก็ได้เหมือนกัน มีรายละเอียดดังรูปด้านล่างนี้ค่ะ

ในการนำ Story Telling มาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในองค์กร และได้ประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง ในช่วง iDEA Time ขอให้แนวทางดังนี้ค่ะ

*      ผู้เล่าเปิดประเด็นเล่าเรื่องคล้ายเล่าหนังที่เราไปดูมาให้คนอื่นฟังจนจบ แต่หากผู้เล่ามือใหม่ Facilitator สามารถช่วยตั้งคำถามเป็นระยะได้เพื่อดึงรายละเอียดของประสบการณ์ที่สำคัญออกมา ท่ามกลางบรรยากาศเป็นกันเอง

*      ระหว่างการเล่า  ผู้ฟังต้องฟังอย่างตั้งใจ จับประเด็น และซักถามเมื่อฟังจบเรื่องแล้ว

*      จากนั้น Facilitator ตั้งคำถามให้ผู้ฟังถอดบทเรียนจากการฟังว่า จับประเด็นสำคัญ หรือเรียนรู้อะไรบ้าง (What have you found?) ผู้ฟังมีความรู้สึกอย่างไร (How do you feel?) และ เกิดแรงบันดาลใจอยากจะนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้าอย่างไรบ้าง (What will you do?) โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนในทีมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึง และทำสรุปใจความสำคัญของเรื่องเล่าเอาไว้ พร้อมทั้งสิ่งที่ได้จากการถอดบทเรียน (Reflection) จากคำถาม 3 ข้อนี้

สำหรับเรื่องเล่าที่น่าจะ in trend ในปีนี้ ถ้าสะท้อนถึง การยึดมั่นในอุดมการณ์ 4 และ เปิดใจ กล้าคิด พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ก็จะเป็นแนวทางในการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับน้องๆ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ต้องฟื้นฟูได้เป็นอย่างดีค่ะ/

 

หมายเลขบันทึก: 256632เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณมากสำหรับเทคนิคการเล่าที่เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณมาก

เยี่ยมมากเลยค่ะขอนำไปใช้บ้างคงไมว่านะคะขอบคุณที่มาเเบ่งปันค่ะ

  • ชื่นชมวิธีการเล่าเรื่อง ของส้ม มากครับ
  • แถมแปล "Story telling" เป็นไทยว่า "พี่เล่าเรื่อง-น้องเรียนรู้" สื่อความหมายได้ดีอีกด้วย....ชื่นชมครับ

สวัสดีค่ะ ทั้งสามท่าน  ที่เข้ามาชื่นชม

P                 P

 P
3. สุธีรา

สำคัญกว่านั้นก็คือ ถ้าเป็นประโยชน์ ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.แพนด้า

 P 4. Panda

จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจแปล แต่บังเอิญว่า เป็นการปลุกกระแสให้พี่ๆ ลงมาแบ่งปันให้น้อง เหมือนเป็นการสอนแบบเนียนๆ  แล้วเพิ่งมาสังเกตค่ะ ว่า คำว่าเล่าเรียนนั้น มักใช้กับนักเรียน ก็เลยนำมาเล่นคำ ตอนแรก จะใช้พี่เล่า น้องเรียน ฟังแล้วไม่ดี ดูแข็ง และเหมือนโรงเรียนไปหน่อย สุดท้าย เลยออกมาเป็นหัวข้ออย่างที่เห็นน่ะค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับคำชมค่ะ (ยิ้มหน้าบานเลย อิอิ...)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท