การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา:บทเรียนที่คนไทยต้องศึกษา


ฆ่ากัน 100 วัน ตาย นับ 1,000,000 ศพ

๐"รวันดา"ประเทศเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา มีประชากรประมาณ 8 ล้านคนเศษ  เคยเป็นอาณานิคมของ เบลเยียมมาก่อน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษากินยาร์วันดา

เมืองหลวงชื่อ "คิกาลี " ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรแบบดั้งเดิม มีชนพื้นเมืองที่อยู่ร่วมกัน 2 เผ่า คือ ตุดซี่ และ ฮูตู มีการปกครองแบบ สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ 

 เผ่าฮูตู และตุดซี่ ต่างผลัดกันเปลี่ยนขึ้นบริหารประเทศ(เหมือนเหลือง-แดงบ้านเราจัง) แล้วแต่ใครชนะการเลือกตั้ง

เมษายน ปี 2537 ในช่วงที่ รัฐบาลที่มีชาวฮูตูบริหาร มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นที่รวันดา   นับเป็นเรื่องที่จารึกในประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ของชาติเดียวกันอย่างโหดเหี้ยมที่สุดตัวอย่างหนึ่ง จนฮอลลีวูดเอามาทำเป็นภาพยนต์ ชื่อเรื่องคือ HOTEL RAWANDA สร้างจากเรื่องจริง จากปากคำของผู้รอดชีวิตในครั้งนั้น


รวันดา เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา มีการคอรัปชั่น ประชาชนยากจน อัตราการศึกษาของคนในชาติต่ำ ประชาชนมีความขัดแย้งกันตลอด  

พอมีความขัดแย้งกันก็มักใช้ความรุนแรงตอบโต้กันไปมา

 รวันดามีคน 2 เผ่าอยู่ร่วมกัน บ้างก็มี เจ้านายเป็น ตุดซี่ ลูกน้องเป็น ฮูตู หรือ บ้างก็มี เจ้านายเป็นฮูตู และลูกน้องเป็นตุดซี่ หรือเป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมงานกัน แม้กระทั่งเป็นสามีภรรยากัน มีลูกกัน กลายเป็นญาติกัน เป็นคนรักกันแต่ตอนหลังต้องมาขัดแย้งกัน

ไม่ต่างกับบ้านเราตอนนี้นะครับ 


การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้น เกิดขึ้นในช่วง 6 เมษายน - กลางกรกฎาคม 2537(100วัน) เมื่อเผ่าฮูตูขึ้นเป็นรัฐบาล มีการปล่อยให้ ทหารบ้านชาวฮูตูสะสมอาวุธ และปล่อยให้วิทยุ ซึ่งเป็นสื่อสำคัญของรัฐที่เป็นชาวฮูตู โหมกระพือความขัดแย้ง

มีการรังแกชาวตุดซี่จากความได้เปรียบที่ฝ่ายตนเป็นรัฐบาล ชาวตุดซี่นำโดย นาย พอล คามากา  ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของ รวันดา  ได้ตั้งกลุ่มชาวตุดซี่ขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล "เรียกว่ากฎบตุดซี่" (ไม่ใช่กบฎตุ๊ดตู่นะครับ) 

มีการใช้สื่อเพื่อรวบรวมชาวตุดซี่ให้ลุกขึ้นต่อต้าน รัฐบาลชาวฮูตูเห็นว่าชักจะคุมชาวตุดซี่ มีการใช้มาตรการรุนแรง ให้ทหารรัฐ และ ทหารบ้านชาวฮูตู คัดแยกชาวฮูตู ออกจากชาวตุดซี่ 

มีการประกาศว่าชาวตุดซี่เป็นกบฎแบบเหมารวม และเริ่มเกิดการฆ่าชาวตุดซี่เกิดขึ้น โดยทหารบ้านชาวฮูตู

ชาวตุดซี่ก็เริ่มมีกองกำลัง มีการใช้กำลังลุกฮือขึ้นต่อสู้ จนถึงขั้นฆ่านายกรัฐมนตรีชาวฮูตูตาย


มีการฆ่ากันตายของคนทั้งสองฝ่ายทั่วรวันดา จากที่เคยรักใคร่เป็นเจ้านายลูกน้องกัน เป็นเพื่อนรักกัน จากที่เป็นเพื่อนบ้านกัน ที่เป็นญาติพี่น้องกัน ฆ่ากันตายมั่วไปหมด เกิดเหตุ จลาจล ปล้นสดมภ์ ข่มขืน ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่  6 เมษายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537  ชนพื้นเมืองชาวตุดซี (Tutsi) และชนพื้นเมืองชาวฮูตู (Hutu) ถูกสังหารไปปประมาณ 800,000-1,071,000 คน สังคมของรวันดาล่มสลายหมด  ค่าเงินฟรังค์ของรวันดาตกต่ำอย่างหนัก

เหตุผลใด ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่โหดเหี้ยมอย่างนั้นขึ้นได้  ไม่มีสิ่งใด นอกจาก "ความเกลียดชัง" และ "ความมัวเมาอำนาจ"

ในช่วงที่ชาวรวันดารอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ  แต่ความช่วยเหลือต่างๆชักช้า อืดอาด มีแต่ช่วยกันระดมคนของชาติตนออกจากรวันดา ปล่อยให้ชาวรวันดาฆ่ากันเอง เลือดนองแผ่นดิน   ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น คือนาย บิล คลินตัน กล่าวถึงการเพิกเฉยของสหรัฐฯ ว่า "เป็นสิ่งที่น่าสลดที่สุดภายใต้การบริหารของผม"


การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้จบลงในที่สุดเมื่อกลุ่มกบฎชาวเผ่าตุดซีชื่อว่าแนวร่วมผู้รักชาติชาวรวันดา (Rwandan Patriotic Front - RPF) ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้ง พอล คากาเม ได้ทำการล้มล้างรัฐบาลชาวฮูตูและเข้ายึดอำนาจ หลังจากนั้นในเวลาต่อมาก็มีผู้อพยพ และทหารบ้านฮูตูผู้พ่ายแพ้เป็นแสนๆ คนก็ได้หลบหนีเข้าไปในประเทศไซเรีย ซึ่งก็คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน 

หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความเกลียดชังและความรุนแรงระหว่างสองชนเผ่านี้ก็ลุกลามไปยังประเทศในภูมิภาค แถบนั้นด้วย เป็นเหตุให้เกิดสงครามคองโกถึงสองครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตั้งแต่ พ.ศ. 2539 มาจนถึง พ.ศ. 2546 

มนุษย์ มีบทเรียนทางประวัติศาสตร์ให้ทบทวนมากมาย แต่เหตุร้ายมักกลับมา  หมุนเวียนไปที่นั่นที่นี่ เสมอๆ

จากยุโรป สู่ตะวันออกกลาง สู่กัมพูชา ไปจนถึงรวันดา

ขอภาวนาอย่าให้ประวัติศาตร์บทเก่าๆ หมุนกลับมาที่ประเทศไทยของเราเลย

สงสารลูกหลานไทย..ครับผม

หมายเลขบันทึก: 256501เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 05:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะไปชิมลูกโหนดในบันทึกของครูอิง
  • ขอสมัครเป็นเครือข่ายด้วยคน เพราะดูบันทึกต้น ๆ ก่อนหน้านี้แล้วรู้สึกว่า ค่อนข้างจะเป็นพวกเดียวกัน อิ..อิ..อิ...
  • ครูอิงก็สนใจและชอบติดตามข่าวการเมือง
  • มีบันทึกเรื่องการเมืองบ้างประปราย ส่วนมากจะเป็นบทกลอนค่ะ เพราะไม่ค่อยอยากแสดงออกตรง ๆ
  • เช่น บันทึก "การเมืองไทยใช่แสร้งว่าสารพัดสัตว์"  หรือ "ขวัญเคว้งคว้าง ณ กลางฝัน" เป็นต้น
  • ครูอิงมีเวลาจะแวะกลับมาอ่านบันทึกก่อน ๆ ของคุณนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท