ประชุมเตรียมการ IQA และ EQA ม.นเรศวร : (2)


ถ้าพวกเราชาว NUQA ร่วมกันดำเนินการประเมินภายใน (IQA) เป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ก่อนที่จะรับการประเมินภายนอกจาก สมศ.(ในราวเดือนสิงหาคม 2551)ก็จะทำให้เรามีความพร้อมที่จะรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. ในระดับหนึ่ง

     ตามที่ดิฉันได้เล่าถึงการประชุมเตรียมการประเมินคุณภาพภายใน (IQA) รอบที่ 6 และ การประเมินคุณภาพภายนอกโดย สมศ. รอบสอง (EQA) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549  <Click> ซึ่งมีประเด็นการพูดคุย 5 ประเด็น  ดังนี้
     1.  ผลการเมินคุณภาพภายใน (IQA) 5 รอบ (ปี 2544 - 2548)
     2.  ผลการประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. (รอบแรก)
     3.  แนวคิด หลักการ วิธีการและเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน (IQA) รอบที่ 6
     4.  มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. (รอบสอง)
     5.  เป้าหมายต่อไปในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพหลังจากรับการประเมินจาก สมศ.(รอบสอง) "เกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ (TQA)"
     โดยดิฉันได้ติดค้างการพูดคุยในเรื่องที่ 4 และ 5 ไว้  จึงขออนุญาตเล่าต่อเลยนะคะ

     4.  มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. (รอบสอง) 
         
          วิธีการและเกณฑ์การประเมิน ซึ่งทาง สมศ. กำหนดให้มีการประเมินใน 3 มิติ คือ
          1.  การประเมินรายมาตรฐาน 
          2.  การประเมินรายกลุ่มสาขาวิชา 
          3.  การประเมินระดับสถาบัน 
          โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ


         การประเมินรายมาตรฐาน  

         1.  เป็นการประเมินตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน  คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยใช้เกณฑ์  ดังนี้

              1.1  การประเมินอิงเกณฑ์ คะแนนเต็ม 3 คะแนน

              1.2  การประเมินอิงพัฒนาการ คะแนนเต็ม 1 คะแนน
                    (พิจารณาจากผลการประเมินครั้งที่1 ถ้ามีพัฒนาการให้ 1คะแนน ถ้าไม่มีให้  0 คะแนน แต่ถ้าผลการประเมินในครั้งนี้อยู่ในระดับดีหรือดีมากก็สรุปได้ว่ามีพัฒนาการ  โดยไม่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับครั้งที่ 1)

              1.3 การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถานศึกษา  คะแนนเต็ม 1 คะแนน
                    (พิจารณาจากสัมฤทธิผลของแผนหรือรายงานการประเมินตนเองถ้าตัวบ่งชี้นั้นๆ บรรลุเป้าหมายตามแผนให้ 1 คะแนนถ้าไม่บรรลุให้ 0 คะแนน)

          2.  ผลประเมินในแต่ละมาตรฐานเป็นผลมาจากผลประเมินรายตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานข้อ 1 โดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักผลการประเมินรายตัวบ่งชี้เป็นเกณฑ์พิจารณา  แล้วแปลความหมายผลประเมินดังนี้

     ช่วงคะแนน    ผลการประเมิน     ความหมาย
     4.51 – 5.00       ดีมาก           ผลการจัดการศึกษาได้มาตรฐานนำไปสู่การรับรองมาตรฐาน
     3.51 – 4.50       ดี                 ผลการจัดการศึกษาได้มาตรฐานนำไปสู่การรับรองมาตรฐาน
     2.51 – 3.50       พอใช้           ผลการจัดการศึกษาได้มาตรฐานนำไปสู่การรับรองแบบมีเงื่อนไข
     1.51 – 2.50       ต้องปรับปรุง  ผลการจัดการศึกษาไม่ได้มาตรฐาน
     1.00 – 1.50       ปรับปรุง        ผลการจัดการศึกษาไม่ได้มาตรฐาน

           การประเมินรายกลุ่มสาขาวิชา 

           ผลการประเมินใช้การคำนวนหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (ตามสูตร)  ทั้ง 7 มาตรฐาน  เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบกับผลประเมินในแต่ละมาตรฐาน ดังนี้

          1.  ได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป มีอย่างน้อย 3 ใน 4 ของมาตรฐานที่มีผลประเมินไม่ต่ำกว่าดี และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของกลุ่มสาขาวิชาได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ซึ่งนำไปสู่การรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.

          2.  ได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตั้งแต่ 2.51 ถึง 3.50 และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง หรือได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป โดยมีบางมาตรฐานอยู่ในระดับปรับปรุง และมีจำนวนมาตรฐานที่มีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าดี ไม่ถึง 3 ใน 4 ของจำนวนมาตรฐานทั้งหมด แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของกลุ่มสาขาวิชาได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. แบบมีเงื่อนไข กลุ่มสาขาวิชาต้องส่งแผนพัฒนาคุณภาพเพื่อการพิจารณาติดตาม กำกับดูแลโดยสถาบันต้นสังกัดและสมศ. ซึ่งนำไปสู่การรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.

          3.  ได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำ ตั้งแต่ 2.50 ลงมา หรือได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักมาตรฐานมากกว่า 2.50 แต่มีบางมาตรฐานมีผลการประเมินอยู่อยู่ในระดับต้องปรับปรุงแสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของกลุ่มสาขาวิชาไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ซึ่งนำไปสู่การไม่รับรองมาตรฐานคุณภาพ  สมศ.

          การประเมินระดับสถาบัน

          สามารถสรุปได้ 2 แนวทางคือ
          1.  ในการประเมินภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ. ในระดับสถาบันโดยรวมทั้ง 7 มาตรฐาน เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบกับผลการประเมินแต่ละมาตรฐานดังนี้

               1.1  ได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป มีอย่างน้อย 3 ใน 4 ของมาตรฐานที่มีผลประเมินไม่ต่ำกว่าดี และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของสถาบันได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ซึ่งนำไปสู่การรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.

               1.2  ได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตั้งแต่ 2.51 ถึง 3.50 ขึ้นไป และไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง หรือได้คะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป โดยไม่มีมาตรฐานใดเลยอยู่ในระดับต้องปรับปรุง และมีจำนวนมาตรฐานที่มีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับดีไม่ถึง 3 ใน 4 ของจำนวนมาตรฐานทั้งหมด แสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของสถาบันได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. แบบมีเงื่อนไข สถาบันต้องส่งแผนพัฒนาคุณภาพเพื่อการพิจารณาติดตาม กำกับดูแลโดยต้นสังกัดและสมศ. ซึ่งนำไปสู่การรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.

               1.3   ได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ตั้งแต่ 2.50 ลงมา หรือได้คะแนนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักมาตรฐานมากกว่า 2.50 แต่มีบางมาตรฐานมีผลการประเมินอยู่ในระดับต้องปรับปรุงแสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของสถาบันไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ซึ่งนำไปสู่การไม่รับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.

          2.  ใช้ผลการประเมินภายนอกของกลุ่มสาขาวิชาของสถาบัน กล่าวคือ ถ้ามีอย่างน้อย 3 ใน 4 ของกลุ่มสาขาวิชาได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ. และไม่มีกลุ่มสาขาวิชาใดมีผลการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุง แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของสถาบันได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. ซึ่งนำไปสู่การรับรองมาตรฐาน ถ้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของสถาบันไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ สมศ. นำไปสู่การไม่รับรองมาตรฐานในระดับสถาบัน
 
          ซึ่งการประเมินภายใน (IQA) รอบที่ 6 ที่ได้กล่าวไปแล้วในบันทึกก่อนหน้านี้ก็ใช้วิธีการและเกณฑ์การประเมินเหมือนกันกับการประเมินภายนอก (EQA) ได้ที่เล่ามาข้างต้นค่ะ ซึ่งถ้าพวกเราชาว NUQA ร่วมกันดำเนินการประเมินภายใน (IQA) เป็นอย่างดีเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ก่อนที่จะรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. (ในราวเดือนสิงหาคม 2551) ก็จะทำให้เรามีความพร้อมที่จะรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. ในระดับหนึ่ง 

          เป็นการพักสายตาสำหรับท่านผู้อ่านดิฉันขอนำเรื่องที่  5.เป้าหมายต่อไปในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพหลังจากรับการประเมินจาก สมศ.(รอบสอง)  "เกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ (TQA)"  ไว้ที่บันทึกต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 25622เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท