คุยกับสถิติ(2)


สถิติเพื่อการศึกษา สถิติเพื่อการวิจัย

          เวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์แล้ว.......หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องราวของผมที่คุยกับคุณสถิติแล้ว.....เป็นอย่างไรบ้างครับ......."ต้นกล้า....สถิติ" ของท่านเป็นอย่างไรบ้าง    คนเก่งสถิติคงบอกว่า "ธรรมดา...ๆๆ"   หรือบางท่านอาจมีการงอกแล้วใช่ใหมครับ.. และพอดีวันนี้ผมก็ได้พบคุณสถิติอีก.....สมองผมโล่ง....(ท่านล่ะเป็นอย่างไรบ้าง) ผมรีบชวนคุณสถิติไปนั่งคุยต่อที่ร้านกาแฟ  นั่งอยู่สักพัก
ผมก็ยิงคำถาม.....
ศน.โชคชัย : ช่วงเดือนที่ผ่านมาคงเหนื่อยหน่อยนะ(เดือนมีนาคม ครูส่งผลงาน คศ.3)คุณครูคงใช้งานคุณ
                  หนัก....ผมพูดล้อเล่นอย่าคิดมากนะครับผมขอเข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน.... จากความหมายของ
                  สถิตินั้น  เมื่อคุยกันเมื่อครั้งที่แล้วผมพอจะเข้าใจความหมายแล้ว....ผมพอจะเข้าใจแล้ว..ผม
                  อยากจะถามคุณต่อไปว่า "คุณมีหน้าที่"อะไรบ้าง
คุณสถิติ : ท่านศน.โชคชัย  ผมขอทบทวนคำถามอีกครั้งหนึ่งได้ไหม....หูผมยังอื้ออยู่..
ศน.โชคชัย : สถิติมีหน้าที่อะไรบ้าง
คุณสถิติ : ขอบคุณมากครับ ท่านศน.โชคชัย  ..คำถามตรงจริงๆ.... ก่อนที่ผมจะตอบคำถามผมอยากให้
              ศน.มีพื้นฐานทางสถิติเพิ่มเติมอีกสักนิด.....
              ...เป็นเรื่องของ "กฎของสถิติ" มี 2 ข้อ
              ข้อแรก:"กฎในความคงเส้นคงวา"....หมายถึง เหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป  จะมี
              เหตุการณ์ ขั้นตอนที่เหมือนๆกันแบบคงเส้นคงวา
              ข้อที่สอง:"กฏแห่งการเข้าหาความจริง" ...หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมหรือเหตุการณ์จาก
              ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ จะเข้าใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้น..
              จนศึกษาความจริงจากประชากร  สำหรับเรื่องนี้ผมขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยนะเพื่อให้เข้า
              ใจมากยิ่งขึ้น....การศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก(ข้อมูลไม่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ)เราจะใช้
              สถิติที่เรียกว่า"นอนพาราเมติก" ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่(ข้อมูลมีการแจกแจงเป็นโค้ง
              ปกติ) เราจะใช้"สถิติพาราเมติก"  กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเมื่อ
              เทียบกับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก..นะครับ.....ผมอธิบายเสียยืดยาวไม่ทราบว่า ศน.โชคชัยพอจะ
              เข้าใจหรือป่าว....อย่าพึ่งงงก่อนนะครับ
ศน.โชคชัย : ผมนึกอยู่ในใจ.....แค่นี้ผมก็งงเป็นไก่ตาแตกแล้วครับ....
              ...ผมพยักหน้า..ทำท่าเหมือนเข้าใจ (ท่านผู้อ่านเข้าใจไหมครับ)   
              ..คุณสถิติ ครับ คุณยังไม่ตอบผมเลยนะครับ...."สถิติมีหน้าที่อะไร" คุณตอบสั้นๆหรือตอบแบบ
               สรุปไม่เอาน้ำนะ..... .....เดี๋ยวจะงงกันไปใหญ่.....     
คุณสถิติ : "หน้าที่หลักของสถิติ" มีดังนี้
ศน.โชคชัย : ผมเหลือบมองหน้าดูคุณสถิติเหมือนมีอะไรค้างคาใจอยู่
คุณสถิติ : 1) เสนอข้อมูลตามความจริงในรูปแบบที่เหมาะสมในเรื่องที่ศึกษา เช่นการศึกษาสภาพปัจจุบัน
              ปัญหา ก็นำเสนอในรูป ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
              2) ทำข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายต่อการเข้าใจ เช่น ต่าเฉลี่ยเลขคณิต จะหมายถึงผลรวมของข้อมูล
              ต่อเนื่องทุกจำนวนแล้วหารด้วยจำนวนหน่วยทั้งหมดที่เก็บข้อมูล  ค่าสถิติวิกฤตที(t-test)จะ
              หมายถึง การเปรียบเทียบของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เปรียบเทียบกัน เป็นต้น
              3) ใช้ขยายขอบเขตความรู้และประสบการณ์ของเรื่องที่ศึกษา  ซึ่งเป็นการขยายโจทย์
              สมมติฐานที่ตั้งไว้  เช่น ครูผู้สอนจัดทำนวัตกรรมเป็นเอกสารประกอบการสอน 1 ชุด จำนวน 5
              เล่ม ครูผู้สอนต้องการทราบว่าก่อนใช้เอกสารประกอบการสอนและหลังใช้เอกสารประกอบการ 
              สอน นักเรียนมีผลสัมฤมธิ์ทางการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
              หรือไม่  ก็จะใช้สถิติทดสอบวิกฤตที(t-test)ทดสอบ  หรือครูยังสงสัยต่อไปว่า ..."เอกสาร
              ประกอบการสอนแต่ละเล่มมีความสัมพันธ์กันหรือไม่" หมายถึง เล่ม 1สัมพันธ์กับเล่ม 2 หรือ
              ไม่.. เล่ม 2 สัมพันธ์กับเล่ม 3 หรือไม่.. จนถึงเล่ม 5 สัมพันธ์กับเล่ม 1 หรือไม่ ครูผู้สอนก็จะใช้
              สถิติ"สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน" หาความสัมพันธ์ ครับ...... สำรับเรื่องนี้..ผู้อ่านจะต้องเข้าใจ
              เรื่องที่ศึกษา  ปัญหาหรือความต้องการ ก่อนครับ
              4) ใช้ศึกษาความสัมพันธ์  แนวโน้ม  ปัจจัยที่ปรากฏในงานที่ศึกษา.......  ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างจะ
              เข้าใจยากเป็นเรื่องการใช้สถิติขั้นนำ ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอย  การวเคราะห์องค์
              ประกอบและการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุ  ผมจะไม่ขออธิบายเพียงขอให้รู้ไว้ก็พอครับ....เดี๋ยว
              จะงงและ"พาลเบื่อสถิติเสียก่อน"
................................
.......................
 คุณสถิติ : ท่านศน.โชคชัย  จะเห็นว่าหน้าที่ของผมที่เล่าให้ฟัง.... ให้ฟังนั้น  ถ้าเป็นการนำเสนอข้อมูล
               เบื้องต้นคนทั่วไปอ่านแล้วจะเข้าใจ  ส่วนการนำเสนอข้อมูลเพื่ออนุมานหรืออ้างอิงจากกลุ่ม
               ตัวอย่างไปยังประชากรที่ศึกษาก็จะดูเหมือนยากสักนิดต้องอาศัยพื้นฐานผู้รู้ทางสถิติช่วย
               อธิบาย....แต่ ท่านศน.โชคชัย  อย่ากังวลใจเรื่องการใช้สถิติมากไปเลยนะครับ......
               งานวิจัยบางเรื่องที่ศึกษาในระดับด็อกเตอร์ก็ยังใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบน
               มาตรฐาน ก็ทำให้งานดูดีแล้วครับ.....
ศน.โชคชัย : ผมผงกหัว(แสดงการรับรู้.....แบบงงๆๆ)
คุณสถิติ : ศน.โชคชัย  ผมมีของแถมให้อีก
ศน.โชคชัย : นึกอยู่ในใจ...... แค่นี้ยังงงไม่พออีกหรือ..(ไอ้..)คุณสถิติ
คุณสถิติ : ผมอยากให้ทุกคนรู้เพิ่มเติมว่า "ประโยชน์ของสถิติ"แบบสั้นก็แล้วกัน
             .....สถิติมีประโยชน์หลายด้าน เช่น การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึกไม่ยึดข้อมูล(สถิติ) ความ
             เชื่อของคนที่ขาดเหตุผล  ความเชื่อทางลัทธิต่างๆ  การเดาสุ่มที่ขาดข้อมูลตัวเลขที่เพียงพอ 
             ความลำเอียงโดยมีความชื่นชอบฝ่ายหนึ่งและปิดกั้นไม่รับข้อมูลอีกฝ่ายหนึ่ง.......
             ..และสถิติจะช่วยเพิ่มพูนคุณภาพของการตัดสินใจของผู้ใช้สถิติจะช่วยเพิ่มพูนคุณภาพของการ
             ตัดสินใจของผู้ใช้สถิติโดยอาศัยการวิเคราะห์ความจริง.....
ศน.โชคชัย : ผมมึนครับ...ง...ง...ง....ครับ  .....คงยุติ....แค่นี้ก่อนนะครับ  ขอขอบคุณคุณสถิติ ... ถ้ามีเวลาคงจะได้คุยกันต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 255748เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2009 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท