แนวทางการป้องกันโรคไตวาย


ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวาย

         กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

    พอพูดถึงโรคไตวาย  หลายๆคนยังไม่กลัวเพราะยังไม่รู้ว่าพิษของโรคนี้เป็นอย่างไร  ผมเองเจอมากับตัวเองแล้วคิดว่าอยากเล่าให้ฟัง  เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายกับท่าน  หรือจะได้หาทางป้องกันตัวเองและญาติ หรือเพื่อนสนิท  หรือผู้ที่เรารักใคร่  ถ้าเรามาศึกษาถึงโรคไตวายนี้จะเห็นว่าผู้ป่วยเกือบทุกคน  ที่เป็นโรคไตวาย  มักจะไม่รู้ตัวมาก่อน  พอรู้ตัวว่าเป็นโรคไตวาย  ก็สายเกินกว่าที่จะทำให้ไตของเรากลับมามีสภาพที่ดีดังเดิม

      ดังนั้นจึงอยากจะให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่นๆ  หรือ  ผู้ป่วยที่กินยาเข้าไปรักษาโรคของตัวเองจะต้องระวังผลข้างเคียงของยานั้นๆ ว่ามีผลต่อการทำงานของไตเราหรือไม่  พอพูดถึงตรงนี้บางคนอาจจะนึกไม่ออกว่า  จะรู้ได้อย่างไร  เอาอย่างนี้ซิครับคนที่ป่วยเป็นโรคที่ต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง  จะเป็นยาที่คุณหมอจัดมาให้หรือยาที่ท่านหากินเองทั้งจากแพทย์ จากเภสัชกร  หรือยาแผนโบราณ  เช่น  โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น  นี่แหละครับที่เขาเรียกกันว่า  โรคกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวาย

    ยาที่เรารับประทานเข้าไปนั้นจะมีผลต่อการทำงานของไตทั้งสิ้น  ถ้าท่านกินยาเอง  มันก็เป็นเรื่องอันตรายมาก(ขอบอก)  ไม่ได้ขู่นะครับ  ดังนั้นถ้าท่านไม่อยากเป็นโรคไตวายจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีความรู้เรื่องของยาที่เรารับประทาน  และ  โรคอื่นๆ  ที่จะทำให้ไตของเราวายได้   ทางชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนโรคไตพิษณุโลกมีความเป็นห่วงท่านจึงขอบอกไว้ว่า  ก่อนกินยาอะไรก็ต้องระวังไว้ก่อน  หรือที่มีคนชอบพูดกันว่า  ปลอดภัยไว้ก่อน

        เรื่องของโรคที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวาย  จึงมีความสำคัญมาก   ทางสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช)  มีความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนมาก  จึงมีการอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่กินยาอย่างต่อเนื่อง  หรือโรคที่เราเรียกว่ากลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวาย  คือ  มีโอกาสเป็นโรคไตวายสูง

        สรุปแล้วการกินยาก็ดี  การรับประทานอาหารที่ย่อยยาก ก็มีผลทำให้ไตทำงานหนัก  และถ้าไตเราไม่แข็งแรง  หรืออยู่ใภสภาพที่เริ่มจะเสื่อม  จึงจำเป็นต้องระวังในเรื่องการรับประทาน  ไม่ว่าจะเป็นยา  หรืออาหารต่างๆ  จะต้องควบคุมให้ดี  อย่าเห็นแก่กินให้มาก  ไตวายจะได้ไม่เกิดกับท่าน  เพราะว่าโรคที่กินยาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ  จะเป็นวันละกี่เวลาก็ตามจะมีผลต่อการทำงานของไตทั้งสิ้น  ผู้ที่  สปสช.  อบรมเรื่องโรค   กลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นโรคไตวายได้สูงนั้น  คนที่เข้าอบรมเขาก็พอมีความรู้  แต่คนที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมนี่ซิ  น่าเป็นห่วงมาก

       ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนโรคไตพิษณุโลก  มีความเป็นห่วงท่านมากเหลือเกิน  กลัวจะเสียท่า เป็นโรคไตวาย  เพราะถ้าเป็นโรคไตวายแล้วยุ่งยากมาก  เพราะท่านต้องฟอกเลือด  ด้วยเครื่องไตเทียม สัปดาห์ละ  2-3  ครั้ง  หรือล้างทางช่องท้อง  ซึ่งก็ต้องผ่าตัดใส่อุปกรณ์ที่จะล้างไว้นาน  ประมาณ  2  สัปดาห์  แล้วนำน้ำยาใส่เข้าไปในช่องท้อง(น้ำยาหนักประมาณ  2  กิโลกรัม)  หรือต้องหาไตญาติ  ไตบริจาคมาตรวจหมู่เลือดที่เข้ากันได้ และเนื้อเยื่อเข้ากันได้  และตราจอื่นๆ ซึ่งจะยุ่งมาก  รวมถึงค่าใช้จ่ายด้วย  ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย  การผ่าตัด  ทั้งก่อนการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดมันยุ่งไปหมด  จึงอยากให้ท่านระวังไว้ให้มากๆ  อย่าลืมโรคนี้รักษาทันไม่ตายก็จริงแต่มันจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของเรานะครับ    เอาละครับเล่ามามากแล้วเดี๋ยวเบื่อ  ยุติแค่นี้ก่อนสวัสดี

สมพงษ์/พิมพ์/เผยแพร่ 

หมายเลขบันทึก: 255658เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีคนไตจะวาย กินผักสมุนไพรไทยๆ แล้วไตฟื้นตัวได้

เสียดาย คนโรคไต ไม่ได้ติดตาม ล่าความรู้ อ่านแต่ความรู้เก่าๆ จึงป้องกันไตไม่ได้เต็มที่

ผมแนะนำว่า กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ต้องเริ่มต้นจาก เรื่องโรคไตเสื่อม และ การป้องกัน ในประเทศไทย ใครกี่คน ที่เข้าท่า น่าติดตามความรู้จากเขา และ คอยติดตามไปเรื่อยๆ

แล้วนำความรู้นั้นๆ มาสังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ สังคมไทย

อีกประการหนึ่ง เวลาเพื่อนโรคไต ไปบังเอิญ ทานผักสมุนไพรอะไร แล้วช่วยให้ไตฟื้นฟูได้ ก็ควรรีบ นำข้อมูลนี้ ไปปรึกษาผู้รู้ว่า มีเหตุมีผล จริงมั้ย จาก ผักสมุนไพรนั้น

เป็นการค้นหาความสำเร็จ จากเรื่องจริง และ ต่อยอด

  • อ่านแล้วน่ากลัวมากนะคะ
  • อย่าให้ตัวเองและคนในครอบครัวเป็นโรคนี้เลยค่ะ(แค่หวังไว้)
  • เป็นกำลังใจให้กับชมรมนี้ค่ะ

Artichoke (ATISO, actiso) อาร์ติโช๊คบำรุงตับไตถุงน้ำดี

อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี” ในยุคโบราณอาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก

4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาต์

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม

www.artichokeliver.com หรือ

www.smethai.com/shop/gms

Tel: 02 - 888 - 9954, 081 – 627 1521 คุณวัลลภา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท