8 เมษายน 2552


วันรำลึก
ในแต่ละวัน  มีเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น มากมาย  แต่ก็มีบางสิ่งที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต  มีความสำคัญ ทั้งตัวบุคคล   สถานที่  
ได้ส่งผลเป็นรูปนาม และนามธรรม ในกาลเวลาปัจจุบัน  ให้รำลึกถึงอยู่ก็มิใช่น้อย 

08 เมษายน พ.ศ. 2327  : รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า

     8 เมษายน พ.ศ. 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้าง เสาชิงช้า บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม เสาชิงช้าทำด้วยไม้สักทาสีแดงชาดสูงประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.5 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 เสาชิงช้าใช้ใน พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวร หนึ่งในเทพเจ้าของของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจะเสด็จลงมาสู่โลกในวันขึ้น 7 ค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว พิธีโล้ชิงช้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมจัดในเดือนอ้าย (ธันวาคม) ครั้นเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ (มกราคม) ต่อมาได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 ทั้งนี้ เสาชิงช้าได้ชำรุดและมีการซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง ล่าสุดกรุงเทพมหานครได้ตรวจพบร่องรอยเสาชิงช้าที่ชำรุดเมื่อปี 2547 จึงทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนเสาชิงช้าใหม่ โดยทำพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2549 โดยนำไม้สักทองจำนวน 6 ต้นมาจากจังหวัดแพร่ จากนั้น กทม. จะนำเนื้อเยื่อจากไม้สักทองไปเพาะชำเป็นกล้าไม้ 1 ล้านต้นเพื่อปลูกทดแทนที่จังหวัดแพร่

 * ยังไม่เคยไปแถวนั้นเลย

08 เมษายน พ.ศ. 2430  : กรมยุทธนาธิการ ถูกจัดตั้งขึ้น

     8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ ขึ้น โดยรวมกิจการ ทหารบก และ ทหารเรือ ไว้ด้วยกันเพื่อจัดกำลังทหารให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยทหารต่าง ๆ ในกรมทหารมหาดเล็ก ไปขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ โดยมี สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ เป็นเสนาบดีและต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อ 1 เมษายน 2433 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงกลาโหม (Ministry of Defense) มีหน้าที่ป้องกันประเทศ เพิ่มขีดความสามารถด้านการทหาร รักษาผลประโยชน์ของชาติ และสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน
 
08 เมษายน พ.ศ. 2537  : สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เปิดใช้อย่างเป็นทางการ

     8 เมษายน พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิด สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมระหว่าง อ.เมืองหนองคายกับนครเวียงจันทน์ สะพานแห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ 4 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ลาว และไทย ตัวสะพานมีความยาว 1.20 กิโลเมตร กว้าง 15 เมตร มีช่องสำหรับเดินรถ 2 ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ เชิงสะพานมีด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานแห่งนี้ได้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ชาวอีสานและชาวลาวเรียกสะพานนี้ว่า "ขัวมิดตะพาบ"
สะพานนี้ได้ไปมาแล้ว เมื่อตุลาคม 2551  
ที่มา http://guru.sanook.com/histor
หมายเลขบันทึก: 254705เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2009 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท