การทำ ECT


ECT

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

วันนี้ขึ้นฝึกงาน ได้ไปดูพี่ทำ ECT (electroconvulsive therapy)

เป็นการรักษาโดยค้นพบโดยชาวอิตาลี

ข้อบ่งชี้

- ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าแบบไม่ทราบสาเหตุ

- ผู้ป่วยจิตเวชแบบที่ไม่พูด แยกตัว

ผู้ป่วยที่มีอาการคุ้มคลั่ง

- ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยารักษาแล้วไม่ได้ผล

- ผู้ป่วยจิตเวชที่มีสาเหตุมาจากร่างกาย

- ผู้ป่วยที่มีอาการแสดง เช่น รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง มีความคิดฆ่าตัวตาย วุ่นวาย ก้าวร้าว

ข้อห้ามใช้

- เนื้องอกในสมอง

- ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือด

- ผู้ป่วยที่มีอาการของวัณโรคระยะรุนแรง

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูก ข้อต่อ

- ผู้ป่วยติดเชื้อที่มีไข้สูง อ่อนเพลีย

ชนิดของการทำ ECT

1. Modified ECT เป็นแบบที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว โดยอย่างเช่น การใช้ยาสลบก่อนการช็อตด้วยไฟฟ้า

2. Unmodified ECT เป็นแบบที่ทำโดยที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว ซึ่งจะเป็นอันตรายน้อยกว่าแบบแรก และราคายัง

ถูกกว่าด้วย

การทำ ECT จะใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 70-130 โวลต์ใช้ระยะเวลา 0.1-0.5 วินาที จำนวน 6-12 ครั้ง วัน

เว้นวันซึ่งจะไปมีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง

การทำ ECT มีเครื่องใช้ดันี้

1.เครื่องทำช็อตไฟฟ้ากระแสสลับ 110 โวลต์

2.เจลลี่ หรือ นำเกลือ

3.เตียง ผ้ายาง ผ้าคุมตัว

4.ไม้กดลิ้นพันด้วย Gauze

5.Emergency  Set

6.หมอนทราย

7.ผ้าขนหนูแช้เย็น

        ก่อนทำ ECT จะต้องปฏิบัติ คือ ผู้ป่วยหรือญาตต้องเซ็นยินยอม ต้องเตรียมจิตใจผู้ป่วย เตรียมร่าง

กายโดยไม่ให้ภายในตัวผู้ป่วยมีโลหะ ต้องงดยากันชัก ยาแก้เศร้า และงดน้ำและอาหารอย่างน้อง 8 ชั่วโมง

 แต่สำหรับยาลดความดันบางสถานรักษาบางที่อาจจะให้รับประทานได้ในมื้อเช้าก่อนทำแต่ให้จิบน้ำแค่พอ

กลืนยาได้เท่านั้น

        ขั้นตอนการทำทำ ECT

1.เตรียมสภาพร่างกายผู้ป่วยโดยการทุบเบาๆบริเวณแนวกระดูกสันหลังเพื่อดูความผิดปกติ ถ้ามีความผิด

ปกติผู้ป่วยจะร้อง เจ็บขึ้นมาเองโดยไม่ต้องถาม

2.นำผู้ป่วยนอนหงายราบโดยใช้ผ้าคลุม

3.ให้ออกซิเจน 5 lit/min ประมาณ 10 นาที

4.ใส่แผ่น Electrode ที่ขมับทั้ง 2 ข้าง

5.แพทย์กดปุ่มปล่อยกระแสไฟฟ้า

6.เฝ้าสังเกตุสัญญาณชีพผู้ป่วยไม่ให้ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 mmHg.

7.หยุดให้ออกซิเจน

ระหว่างทำควรสังเกตุสิ่งเหล่านี้

-Tonic Phase (เกรง)ประมาณ 10 วินาที

-Clonic Phase (กระตุก)ประมาณ 35 วินาที

-Coma ระวัง Apnea 1-2วินาที

รวมเวลาทั้ง 3 อาการไม่ควรเกิน 3 นาที

อาการแทรกซ้อนที่อาจพบ

1.ความจะระยะสั้นเสียไป

2.อาจเกิดอุบัติเหตุกระดูกหักได้

3.หยุดหายใจนาน

4.บ่นปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ

ตัวบ่งชี้ที่ทำให้รู้ว่าผู้ป่วยตอบสนอนต่อการรักษาด้วย ECT

- พบว่าอาการอื่นๆที่เกิดร่วมกับอาการซึมเศร้าดีขึ้น

- ผู้ป่วยจะแสดงอารมณ์โกรธได้ชัดเจน

วันนี้ฉันได้ช่วยทำ ECT ในผู้ป่วยชายและหญิง ทำให้เห็นความแตกต่างในผู้ป่วยชายและหญิงซึ่งจะเห็นได้

ว่าระยะเวลาในการซักไม่เท่ากัน แรงในการซักไม่เท่ากัน และผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงที่ฉันได้ช่วยพี่ทำนั้นมี

อาการกระวนกระวาน คลุ้มคลั่งหลังจอกทำแล้วประมาณ 5 นาที และก็เป็นตามทฤษฎีคือ หลังจากทำ ECT

 แล้วความจำของผู้ป่วยจะเสียไป ซึ่งผู้ป่วยจะบอกว่าจำไม่ได้ หลังจากการดูการทำ ECT แล้ว ในช่วงบ่ายก็

ดูพี่ส่ธิตการทำกลุ่มบำบัดด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่อง จิตเภท ซึ่งผู้ป่วยบางคนจะยอมรับว่าตยเอง

เป็นคนป่วยจิตเวช แต่ก็มีบางคนที่ไม่ยอมรับ เมื่อเริ่มทำกลุ่มพี่ก็จะแนะนำตัวก่อนแล้วถามผู้ป่วยว่าวันนี้วันที่

เท่าไหร่ จากนั้นก็บอกผู้ป่วยว่าเราจะทำกิจกรรมอะไรกัน แล้วให้ผู้ป่วยแต่ละคนบอกกฎของการทำกลุ่ม

บำบัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถตอบได้กันทุกๆคน หลังจากนั้นพี่ก็จะบอกระยะเวลาในการทำกลุ่ม แล้วจึงเริ่มพูด

เริ่มถามโดยแทบจะไม่ต้องสอนผู้ป่วยเลยซึ่งเป็นลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ป่วยเอง และทำให้

ผู้ป่วยทุกคนรู้สึกดี มีคุณค่ามากขึ้น

       จากนั้นเหลือเวลาอีกนิดหน่อยฉันได้เข้าไปคุยกับคนไข้ของฉัน คนไข้ของฉันในช่วงแรกจะมีอาการหู

แว่ว เห็นภาพหลอน ทำร้ายผู้อื่น แต่ปัจจุบันผู้ป่วยของฉันได้รับยาสมำเสมอทำให้มีอาการดีขึ้นและพูดคุย

ได้ ยอมรับสัมพันธภาพที่ฉันมีให้ พูดคุย ยิ้มแย้ม และผู้ป่วยของฉันจะชอบถากเปียน่ารักๆค่ะ ดูพวกเขาช่าง

ไม่มีพิษมีภัย และน่าเห็นใจเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขากลับไปอยู่ในสังคนแล้วทุกคนกับมองเขาว่าเขาผิดปกติ

และน่ากลัว ไม่อยากเข้าใกล้

       แล้ววันนี้ก็หมดไปอีกวันค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ect
หมายเลขบันทึก: 254523เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2009 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากเลย มีความเสมอต้นเสมอปลายดีค่ะ

เธียร โกสิยานุภาพ

ขอบคุณครับผมเป็นผู้ป่วยECTครับ

ข้อบ่งชี้

- ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าแบบไม่ทราบสาเหตุ

- ผู้ป่วยจิตเวชแบบที่ไม่พูด แยกตัว

ผู้ป่วยที่มีอาการคุ้มคลั่ง

- ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยารักษาแล้วไม่ได้ผล

- ผู้ป่วยจิตเวชที่มีสาเหตุมาจากร่างกาย

- ผู้ป่วยที่มีอาการแสดง เช่น รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง มีความคิดฆ่าตัวตาย วุ่นวาย ก้าวร้าว

ตัวบ่งชี้ที่ทำให้รู้ว่าผู้ป่วยตอบสนอนต่อการรักษาด้วย ECT

- พบว่าอาการอื่นๆที่เกิดร่วมกับอาการซึมเศร้าดีขึ้น

- ผู้ป่วยจะแสดงอารมณ์โกรธได้ชัดเจน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท