12.รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย


รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย

การเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายแบบ Ethernet นิยมใช้การเชื่อมต่อแบบ Star ซึ่งเป็นตามมาตรฐานของ 10Base T โดยมีฮับเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงสัญญาณต่างๆ ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน หมายความว่าสัญญาณหรือข้อมูลจากเครื่องต้นทางจะต้องผ่านอับก่อนทุกครั้ง แล้วจะส่งข้อมูลนั้นไปยังเครื่องปลายทาง ฮับเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว 10-100 MB./Sec (เมกกะบิตต่อวินาที) และยังสามารถจะนำฮับหลายตัวมาพ่วงต่อกันได้อีกด้วย

การทำงานพื้นฐานของ HUB
จากที่กล่าวไว้ว่า โพรโตคอล Ethernet ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โดยจะใช้วิธีของ Listen before Transmitting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องไดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิลอยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไปบนสายเคเบิล (เพื่อป้องกันการชนกัน Collision ของสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที)

รูปแบบการเชื่อมต่อ HUB
ในการนำฮับมาใช้งานนั้นจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานก่อน เช่น ความยามของสาย UTP จากเครื่องถึงฮับ ความยาวของสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ 2 ตัว จำนวนสูงสุดของฮับที่สามารถใช้ต่อพ่วงได้ การจัดวางฮับให้เหมาะสม และอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับสถานที่และการใช้งาน

การเชื่อมต่อพื้นฐาน
การเชื่อมต่อสายแลนด์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มายังฮับ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน)

จำนวนฮับที่ต่อแบบคาสเคด
ตามทฤษฎีแล้วอับแบบ 10 MB/sec (10 เมกกะบิตต่อวินาที) จะสามารถนำมาต่อพ่วงแบบคาสเคดได้ไม่เกิน 4 ตัว โดยที่ระยะทางระหว่างฮับแต่ละตัวจะไม่เกิน 100 เมตร และสายแลนแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับต้องไม่เกิน 100 เมตรเช่นกัน รวมระยะทางแล้วทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันถึง 500 เมตร แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ควรเกิน 400 เมตร (โดยไม่ให้ความยาวแต่ละช่วงเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันการรบกวน) ถ้าต้องการต่อพ่วงฮับเกิน 4 ตัว ควรจะใช้ Stackable HUB หรือเปลี่ยนไปใช้สวิตซ์ (Switch) แทน

การเชื่อมต่อในอาคาร

สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่อยู่ตามตึกอาคารหลายชั้น และมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หลายสิบหลายร้อยเครื่องกระจายอยู่ในแต่ละชั้น Admin จะต้องวางแผนในการเชื่อมต่อให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและสะดวกในการแก้ปัญหา โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

• เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแผนก ในแต่ละชั้นมีจำนวนเท่าไร?
• จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในบริษัท หรือหน่วยงาน
• จำนวนฮับทั้งหมดที่ต้องใช้งาน
• ระยะทางจากชั้นล่างขึ้นไปถึงชั้นบานสุดเป็นกี่เมตร
• การติดตั้งฮับแบบต่อพ่วงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารนี้ Admin ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องควบคุมส่วนตัว หรือเป็นห้องของศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีตู้ Rack Switches สำหรับเชื่อมต่อกับ Hub/Switch ในแต่ละชั้น โดยใช้สาย Fiber Optic ในการเชื่อมต่อ และในแต่ละชั้นก็อาจจะใช้ Hub หรือ Switch ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือระยะทางระหว่างฮับต้องไม่ควรเกิน 80 เมตร รวมทั้งระยะทางระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรเกิน 80 เมตรเช่นกัน ถ้าเป็นตึกขนาด 20 ชั้น และต้องใช้จำนวน 10 ตัว เพื่อความสะดวกอาจจะนำฮับมาวางไว้ในชั้นที่ 10 เพื่อง่ายในการดูแล แต่อย่าลืมว่าถ้าห้องศูนย์คอมฯ อยู่ชั้นที่ 2 แล้วคอมพิวเตอร์ในชั้นที่ 4 มีปัญหา เราต้องเดินหรือขึ้นลิฟต์มาที่ชั้น 10 เพื่อตรวจดูฮับ แต่ถ้าเรากระจายฮับไปไว้ในชั้นคู่ เช่น ชั้น 2, 4, 6, 8… จะช่วยให้เสื้อเชิ้ตของเราไม่ต้องชุ่มเหงื่อและง่ายในการทำงานอีกด้วย

เทคนิคการเชื่อมต่อ HUB
Admin บางคนอาจจะพบปัญหาที่ผู้ใช้โทรมาบอกบ่อยๆ เช่น บางทีก็รับไฟล์ข้อมูลไม่ได้ หรือได้มาก็ไม่สมบูรณ์ บางครั้งแมปไดร์ฟบนเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ทั้งทีเมื่อวานยังใช้งานอยู่ what happen? มันเกิดอะไรขึ้นครับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อของสายระหว่างฮับกับเครื่องไม่ดี หนูไปกัดแทะสายแลนด์เกือบขาด เดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟของตัวอาคาร หรือจัดวางฮับในการต่อพ่วงไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติแล้วเครื่องไคลเอนต์ 2 อาจจะได้รับข้อมูลช้าหรือได้ข้อมูลที่ไม่ครบ 100% เนื่องจากระยะทางจากฮับ A ไหลจากฮับ D พอสมควร วิธีแก้ไขเบื้องต้นมีดังนี้

• ห้ามเดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟฟ้าของตัวอาคาร เพราะจะเกิดการรบกวนอย่างแน่นอน
• การเดินสายแลนด์ไว้บนฝ้าเพดาน จะต้องมีท่อร้อยสายเพื่อป้องกันหนูมากัดแทะสาย
• ควรใช้สาย UTP CAT5 และหัวต่อ RJ-45 ที่มีคุณภาพ อย่าใช้ของถูกหรือของปลอม และตรวจการเข้าหัว RJ-45 กับสายแลนด์ให้ดี โดยใช้เครื่องมือ Testet เช่น Mux
• ไม่ควรเผื่อสายแลนด์ไว้ยาวเกินไป แต่ควรเข้าสายเผื่อเอาไว้ซัก 2-3 เมตร สำหรับการย้ายเครื่อง
• จัดวางฮับในการต่อพ่วงให้เหมาะสม และห้ามต่อพ่วงเกิน 4 ตัว มิเช่นนั้นให้เปลี่ยนไปใช้ Switch
หมายเลขบันทึก: 254285เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2009 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท